TNN online ย้อนดูความสำเร็จการปลูกถ่ายอวัยวะในรอบปี2022

TNN ONLINE

Health

ย้อนดูความสำเร็จการปลูกถ่ายอวัยวะในรอบปี2022

ย้อนดูความสำเร็จการปลูกถ่ายอวัยวะในรอบปี2022

ปี 2022 นักวิทยาศาสตร์ยังคงไม่ลดละความพยายามในการค้นหาวิธีการปลูกถ่ายอวัยวะที่มีประสิทธิภาพ เพื่อหาแหล่งอวัยวะสำรอง แก้ปัญหาอวัยวะขาดแคลน

ปี 2022 อาจเรียกได้ว่าปีแห่งความหวังของการกู้วิกฤตขาดแคลนอวัยวะโลกเลยก็ว่าได้ หลังจากที่แพทย์และเหล่านักวิจัยจากหลายประเทศออกมาประกาศความสำเร็จในการปลูกถ่ายอวัยวะ ทั้งจากสัตว์สู่คนและคนสู่คน ซึ่งในการผ่าตัดทั้งหมด มีทั้งที่สามารถช่วยชีวิตคนไข้ได้และคนไข้เสียชีวิต แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้เรียกว่าเป็นความล้มเหลว แต่คือการค้นพบและเข้าใจในกระบวนการมากขึ้น ทำให้ความพยายามในการหาแหล่งอวัยวะสำรองให้กับมนุษย์ยังเดินหน้าต่อไป นักวิทยาศาสตร์หวังว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถช่วยชีวิตคนได้อีกนับล้านต่อปี ได้สักวัน



ย้อนดูความสำเร็จการปลูกถ่ายอวัยวะในรอบปี2022


เดือนมกราคม: แพทย์สหรัฐฯผ่าตัดหัวใจหมูสู่คนสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก


ย้อนดูความสำเร็จการปลูกถ่ายอวัยวะในรอบปี2022  

ต้นปี 2022 วงการแพทย์ทั่วโลกร่วมยินดีในความสำเร็จของทีมแพทย์จากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา ที่ได้ทำการปลูกถ่ายหัวใจหมูให้กับนายเดวิด เบนเน็ต คนไข้ชายวัย 57 ปี ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ แต่ไม่สามารถรับการบริจาคอวัยวะจากมนุษย์ได้ เนื่องจากร่างกายอ่อนแอเกินไป

การปลูกถ่ายอวัยวะสัตว์ให้กับมนุษย์ครั้งนี้ถือก้าวแรก ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญอย่างมาก ของการปลูกถ่ายอวัยวะสัตว์ให้มนุษย์ หลังจากที่มีการพูดกันมาหลายสิบปีว่า ในวันหนึ่งข้างหน้าเราอาจสามารถใช้อวัยวะของสัตว์มาช่วยต่อชีวิตของมนุษย์ได้

การปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์ไปสู่มนุษย์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่าเป็นการปลูกถ่ายข้ามสายพันธุ์นั้น (xenotransplantation) ได้ถูกทดลองมาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ

แต่วันนั้นก็ได้เกิดขึ้นจริง โดยทีมแพทย์ ติดตามผลหลังจากผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจหมูผ่านไป 3 วัน พบว่า เบนเน็ตยังคงแข็งแรงดี หัวใจหมูไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านในตัวเขา

แม้ต่อมาแพทย์จะประกาศว่า ผู้ป่วยรายนี้เสียชีวิตลงในเดือนมีนาคม แต่อวัยวะสัตว์ที่ถูกปลูกถ่ายให้กับร่างกายของเขา สามารถต่อชีวิต ให้เขาอยู่บนโลกได้นานถึง 2 เดือน 



เดือนมีนาคมสหรัฐฯปลูกถ่ายหัวใจหมูให้กับผู้ป่วยสมองตาย

ย้อนดูความสำเร็จการปลูกถ่ายอวัยวะในรอบปี2022


กระทั่งเดือนมีนาคม วงการแพทย์ได้ฮือฮากันอีกรอบ เมื่อนักวิจัยในนครนิวยอร์ก ของสหรัฐฯ ได้ปลูกถ่ายหัวใจหมูให้กับคนไข้ภาวะสมองหยุดทำงาน 2 คน

การปลูกถ่ายอวัยวะในครั้งนี้ นับเป็นพัฒนาการที่มีมาอย่างต่อเนื่องในความพยายามที่จะช่วยชีวิตมนุษย์ด้วยอวัยวะของสัตว์ให้ได้สักวันหนึ่ง หลังการปลูกถ่ายหัวใจหมูให้กับชายที่แมรีแลนด์เมื่อต้นปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ได้เรียนรู้ว่าการฝึกฝนการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะกับคนที่ตายแล้วเป็นสิ่งที่สำคัญ

ในครั้งนี้พวกเขาใช้หัวใจหมูที่ได้จากการปรับแต่งพันธุกรรม พร้อมกับใช้วิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสในสัตว์ที่อาจเป็นอันตราย ก่อนที่จะเย็บหัวใจเข้าไปในหน้าอกของผู้รับการปลูกถ่ายแต่ละคนที่เสียชีวิตไปแล้ว

แม้ร่างกายของผู้เสียชีวิตทั้งสองจะไม่สามารถทนทานกับความเข้มข้นของขั้นตอนการผ่านตัด ทำให้แพทย์ต้องตัดสินใจถอดเครื่องช่วยหายใจออก แต่ก็นับว่า การถ่าบอวัยวะจากสัตว์สู่ร่างกายคน ได้ขยับเข้าใกล้ความสำเร็จอีกก้าว


เดือนตุลาคม: จีนทดลองปลูกถ่ายอวัยวะหมูสู่ลิง ศึกษาการปลูกถ่ายอวัยวะข้ามสายพันธุ์

ย้อนดูความสำเร็จการปลูกถ่ายอวัยวะในรอบปี2022


ต่อมาในเดือนตุลาคมมี 2 การผ่าตัดอวัยวะครั้งใหญ่ที่น่าจับตา

หนแรกเป็นฝีมือของคณะนักวิจัยจีน ที่ออกมาเปิดเผยความสำเร็จในการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อจากหมูที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม สู่ลิงจำนวน 4 ตัว ซึ่งเป็นขั้นตอนในการศึกษาการปลูกถ่ายอวัยวะข้ามสายพันธุ์

ลิงทั้ง 4 ตัวมีชีวิตอยู่ต่อ หลังได้รับปลูกถ่ายตับ หัวใจ ไต กระจกตา ผิวหนัง และเนื้อเยื่อกระดูกของหมู โดยนักวิจัยระบุว่า อวัยวะและเนื้อเยื่อทั้งหมดที่ได้รับการปลูกถ่ายล้วนอยู่ในสภาพดี

ขั้นตอนยากที่สุดของการผ่าตัดคือการปลูกถ่ายตับและไตน้ำหนัก 10 กิโลกรัม โดยหัวหน้าทีมวิจัยยืนยันว่าการปลูกถ่ายประสบความสำเร็จพอสมควร

การทดลองครั้งนี้บ่งชี้ว่าการปลูกถ่ายต่างสายพันธุ์นั้นสามารถแก้ปัญหาอวัยวะขาดแคลนได้ และกลายเป็นอีกความของหวังว่าการใช้อวัยวะสัตว์ที่เหมาะสมต่อการปลูกถ่าย 


เดือนตุลาคมสเปนปลูกถ่ายลำไส้จากผู้เสียชีวิตให้กับทารก

ย้อนดูความสำเร็จการปลูกถ่ายอวัยวะในรอบปี2022


ในเดือนเดียวกัน ทีมแพทย์โรงพยาบาลลาปาซ ในกรุงมาดริดของสเปน ออกมาประกาศว่าเอ็มมา ทารกเพศหญิงวัย 13 เดือน กลายเป็นบุคคลแรกในโลกที่ได้รับการปลูกถ่ายลำไส้จากการบริจาคอวัยวะขณะภาวะหัวใจหยุดเต้น ซึ่งหมายความว่าผู้บริจาคได้เสียชีวิตลงแล้ว

การปลูกถ่ายด้วยเทคนิคดังกล่าวจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยกระตุ้นเลือดให้ไหลเวียนผ่านอวัยวะต่างๆ สำหรับการปลูกถ่ายหลังจากผู้บริจาคเสียชีวิต และเก็บรักษาอวัยวะนั้นๆ ให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้

เอ็มมาประสบภาวะลำไส้ล้มเหลวอย่างรุนแรงในช่วงเดือนแรกหลังลืมตาดูโลก โดยปัจจุบันเอ็มมายังคงมีสุขภาพร่างกายอันสมบูรณ์แข็งแรง


เดือนพฤศจิกายน: ปลูกถ่ายตับจากผู้บริจาคที่มีอายุ 100 ปี

ย้อนดูความสำเร็จการปลูกถ่ายอวัยวะในรอบปี2022

เดือนพฤศจิกายนทั่วโลกได้ข่าวที่น่ายินดีอีกรอบ เมื่อกระทรวงสาธารณสุขของอิตาลี เปิดเผยว่าแพทย์ของพวกเขา ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายตับจากหญิงวัย 100 ปี สู่ผู้ป่วยอีกรายหนึ่ง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ดำเนินการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีอายุมากขนาดนี้

การปลูกถ่ายดังกล่าวเกิดขึ้นที่โรงพยาบาลซาน จิโอวานนี ดิ ดิโอ ในเมืองฟลอเรนซ์

โดยผู้บริจาคตับรายนี้ ซึ่งจะมีอายุครบ 101 ปี ในอีก เดือน เสียชีวิตก่อนการทำหัตถการได้ไม่นาน โดยตับของเธอถูกมอบให้กับบุคคลที่อยู่ในรายการรอเรียกของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยปิซา

ขั้นตอนการปลูกถ่ายทั้งหมดใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง เริ่มต้นจากการเสียชีวิตของผู้บริจาค และจบลงด้วยการผ่าตัดผู้ป่วยเสร็จสิ้น นับเป็นการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะที่น่ายินดีส่งท้ายปี 2022 



ติดตาม TNN Health ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
Line @TNNHEALTH : https://lin.ee/MNckVHq
หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://bit.ly/TNNHealthFacebook

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง