TNN online 2022 ปีแห่งอาหารเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน

TNN ONLINE

Health

2022 ปีแห่งอาหารเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน

2022 ปีแห่งอาหารเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน

ปี 2022 มีเทรนด์การรับอาหารที่หลากหลาย หนึ่งนั้นคือการกินเพื่อสุขภาพโดยคำนึงถึงความยั่งยืน ซึ่งคนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างมาก

ในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการทานอาหาร อย่างที่จะเห็นว่ามีตัวเลือกของการทานแบบต่างๆ ผุดมามากมาย แต่ที่โดดเด่นและถูกผู้ถึงกันอย่างมาก ก็คือ การทานอาหารเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Eating ซึ่งหมายถึง นอกจากจะใส่ใจต่อประโยชน์และคุณค่าทางอาหารที่มนุษย์จะได้รับแล้ว ยังต้องเป็นอาหารที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ลดการก่อขยะ และสร้างร่องรอยจากการกินที่จะหลงเหลือบนโลก (footprint) ให้ได้น้อยที่สุด

 

เทรนด์การกินเพื่อความยั่งยืน ยังสอดคล้องกับ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ขององค์การสหประชาชาติ หรือ UN ที่เผยแพร่เมื่อช่วงต้นปี 2022 เป็นกรอบที่ประชาคมโลกจะใช้ร่วมกันในพัฒนาเพื่อความยั่งยืน คาดหวังว่าจะบรรลุความมุ่งหมายในปี 2030 โดยหนึ่งใน 17 เป้าหมายของความยั่งยืนนี้ มีเรื่องของแผนการบริโภคและผลิตเพื่อความยั่งยืนรวมอยู่ด้วย

 

เทรนด์การทานอาหารสุขภาพเพื่อความยั่งยืน ที่น่าสนใจในปี 2022 ได้แก่

1.อาหารจากพืช (Plant-based food)

2.เนื้อเพาะเลี้ยงจากห้องแล็บ Cultured meat หรือ Lab-grown meat

3.นมทางเลือก (Alternative milk)

4.การบริโภคเพื่อลดการก่อคาร์บอน (Climatarian)

5.บริโภคอาหารโดยปราศจากขยะเหลือทิ้ง (Zero food waste)



อาหารจากพืช (Plant-based food)


2022 ปีแห่งอาหารเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน

 

เทรนด์การกินอาหารจากพืชถูกพูดถึงอย่างมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปี 2022 ที่ผู้คนหันมาใส่ใจผลกระทบต่อสิ่งแลดล้อมจากการทานอาหารยิ่งตอบโจทย์ การทานอาหารจากพืชถือเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภค หรือคนที่ต้องการงด เลี่ยง ลดการทานเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ทำให้ 90 เปอร์เซนต์ของอาหารที่เลือกทานทำมาจากพืชเป็นส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ เห็ด เมล็ดพืชธัญพืช และถั่ว โดยผลิตภัณฑ์บางอย่างอาจมีการแต่งสี กลิ่น รสสัมผัส และรสชาติให้เหมือนกับเนื้อสัตว์

สาเหตุที่การบริโภคผลิตภัณฑ์จากพืชเป็นมิตรต่อการทานแบบยั่งยืน เนื่องจากช่วยลดการก่อก๊าซเรือนกระจกจากการทำปศุสัตว์ลงได้ โดยจากสถิติของ UN ระบุว่า การทำฟาร์มปศุสัตว์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลกถึง 65 เปอร์เซนต์ของจำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด การทานพืชมากขึ้นจึงสามารถช่วยลดโลกร้อนได้

 
มีงานวิจัยที่พบว่าการทาน Plant-based บรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนเรื้อรังได้ หลังจากที่ผู้ป่วยไมเกรนรายหนึ่งปรับการกิน มาทานอาหารที่ส่วนประกอบหลักเป็นผักใบเขียว และเน้นโปรตีนจากพืช เมื่อผ่านไปหนึ่งเดือนอาการปวดของเขาก็หายไป ตั้งแต่นั้นก็ทานอาหารจากพืชเรื่อยมา และไม่มีอาการปวดไมเกรนอีกเลย เป็นเวลานานมากกว่า 7 ปี


เนื้อเพาะเลี้ยงจากห้องแล็บ Cultured meat หรือ Lab-grown meat


2022 ปีแห่งอาหารเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน


เนื้อเพาะเลี้ยงจากห้องทดลองเป็นอีกหนึ่งอาหารทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เชื่อว่าจะเป็นอาหารแห่งโลกอนาคตที่ทำให้เราได้ทานเนื้อที่มีคุณภาพจากขั้นตอนการควบคุมการเติบโตในห้องทดลอง

Cultivated meat หรือที่บางคนเรียกว่า Lab-grown meat คือเนื้อสัตว์ที่ได้จากการนำเอาเซลล์เนื้อเยื่อของสัตว์ไปเพาะเลี้ยงในห้องทดลองภายใต้การควบคุมจนได้เนื้อชิ้นใหญ่ เพื่อให้มนุษย์สามารถนำไปรับประทานได้

เช่นเดียวกับการกินอาหารจากพืช การผลิตเนื้อเพาะเลี้ยงไม่ต้องอาศัยการทำปศุสัตว์เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์มาบริโภค จึงช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน แถมยังได้เนื้อที่มีคุณภาพ ปลอดภัยไร้ยาปฏิชีวนะที่อาจปนเปื้อนมาจากการเลี้ยงสัตว์อีกด้วย

สิงคโปร์เป็นประเทศแรกของโลกที่อนุมัติจำหน่ายเนื้อไก่เพาะเลี้ยงในรูปแบบของนักเก็ต ขณะที่สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือ FDA เพิ่งรับรองความปลอดภัยของการบริโภคเนื้อเพาะเลี้ยงเมื่อไม่นานมานี้


นมทางเลือก (Alternative milk)


2022 ปีแห่งอาหารเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน


นมทางเลือก (alternative milk )หรือ นมจากพืช (plant milk )เป็นผลิตภัณฑ์นมทางเลือกสำหรับคนที่แพ้นมวัว รวมทั้งผู้ที่ไม่ทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์ นมจากพืชให้โปรตีนที่ดีต่อร่างกายไม่แพ้นมวัว ทั้งยังเป็นแหล่งรวมของ แคลเซียม วิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ พร้อมทั้งมีแคลอรีต่ำ คนที่กำลังลดน้ำหนัก หรือ ควบคุมการอาหารสามารถทานได้

 
เพราะทำมาจากพืช นมทางเลือกจึงไม่พึ่งการทำปศุสัตว์ จึงช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เพราะช่วยลดคาร์บอนฟุตพรินต์ (carbon footprint)

 
นมทางเลือกที่มีขายในท้องตลาด เช่น นมโอ๊ต นมพิสตาชิโอ นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ นมเฮเซลนัท นมมันฝรั่ง นมข้าวบาร์เลย์ และน้ำนมข้าว


การบริโภคเพื่อลดการก่อคาร์บอน (Climatarian)

2022 ปีแห่งอาหารเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน


Climatarian มาจากการผสานคำศัพท์ Climate ที่แปลว่า สภาพอากาศ และรากศัพท์ “-tarian” หรือ กลุ่มคนที่ทานอาหารประเภทใดประเภทหนึ่ง เมื่อรวมกันแล้วจึงหมายถึง กลุ่มผู้ที่บริโภคโดยคำนึกถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

 
ผู้ที่เป็น Climatarian จะคำนึกถึงปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ในอาหารแต่ละจานที่พวกเขาทาน ทั้งจากกระบวนการผลิตและการขนส่ง โดยอาจมีการคิดคำนวณ เพื่อลดการทานอาหารที่มีผลกระทบต่อสภาพอากาศมากที่สุด ซึ่งรวมถึงการกินอาหาท้องถิ่น (local food) เพราะใช้การขนส่งที่น้อยกว่า ลดการบริโภคเนื้อสัตว์หรือเลือกทานเนื้อสัตว์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่ำ รวมทั้งลดขยะและเศษอาหารให้มากที่สุด

 
ผลที่ได้จากการทานอาหารเพื่อรักษาสภาพภูมิอากาศ ทำให้ผู้ทานมีสุขภาพดีตามไปด้วย เนื่องจากทานเนื้อแดงน้อยลง หรือ ไม่ทานเลย เน้นการทานผักและผลไม้ที่หาได้ตามท้องถิ่นและฤดูกาล ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นอาหารที่ปราศจากการแปรรูปอย่างสิ้นเชิงด้วย



บริโภคอาหารโดยปราศจากขยะเหลือทิ้ง (Zero food waste)

2022 ปีแห่งอาหารเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน


Zero food eating หรือ การบริโภคให้ขยะเหลือศูนย์ มาจากแนวคิดที่ต้องการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยตรง จากการลดปริมาณขยะจากการทานอาหาร โดยให้เหลือน้อยที่สุด หรือไม่เหลือเลยนั่นเอง

แม้ขยะจากอาหารสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แต่กระบวนการกำจัดขยะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล และหากจัดการกับขยะเหล่านี้อย่างไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สาเหตุของภาวะโลกร้อน

 
การลดขยะจากอาหารอาจรวมไปถึงกระบวนการทำอาหารบางอย่าง ที่ช่วยให้เราสามารถเก็บอาหารไว้รับประทานได้นานขึ้น เช่นกระบวนการหมักและดอง การทำอาหารที่สามารถทานได้หลายมื้อ อย่างเมนูต้มจับฉ่าย นอกจากนี้ ยังมีอาหารจำพวกน้ำพริก ที่นำส่วนผสมหลายอย่างมาตำรวมกัน ทำให้สามารถกินได้นานขึ้น หรือ การทำแกงไตปลา ของชาวใต้ ก็ช่วยลดปริมาณขยะได้เช่นเดียวกัน เนื่องจาก ไตปลา แท้จริงแล้วทำมาจาก พุงปลา ซึ่งมักเป็นส่วนที่ถูกทิ้งนั่นเอง


ติดตาม TNN Health ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่ 
Line @TNNHEALTH : https://lin.ee/MNckVHq
หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://bit.ly/TNNHealthFacebook

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง