TNN online "เดินเร็ว กับ วิ่ง" เผาผลาญพลังงานพอกันไหม หมออดุลย์ มีคำตอบ?

TNN ONLINE

Health

"เดินเร็ว กับ วิ่ง" เผาผลาญพลังงานพอกันไหม หมออดุลย์ มีคำตอบ?

เดินเร็ว กับ วิ่ง เผาผลาญพลังงานพอกันไหม หมออดุลย์ มีคำตอบ?

"หมออดุลย์" ไขข้อสงสัยคนห่วงสุขภาพ ลดน้ำหนัก "เดินเร็ว" กับการ "วิ่ง" เผาผลาญพลังงานพอกันไหม?

"หมออดุลย์" ไขข้อสงสัยคนห่วงสุขภาพ ลดน้ำหนัก "เดินเร็ว" กับการ "วิ่ง" เผาผลาญพลังงานพอกันไหม?


ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune เรื่อง อยากออกกำลังกายจำเป็นต้องวิ่งหรือไม่ โดยระบุว่า


ในยุคที่คนห่วงสุขภาพ ลดน้ำหนัก และมองหาการออกกำลังกาย อาจจบด้วยข้อความที่ว่า ไม่ได้ออกกำลังกายเพราะวิ่งไม่ไหว ปวดเข่า มาดูว่า ความจริงเป็นเช่นไร ในสามัญสำนึกเรามักจะรู้สึกว่า การวิ่งน่าจะเผาผลาญพลังงานได้มากกว่าการเดิน เพราะเห็นคนวิ่งแล้วเหงื่อออก แถมยังมี ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพ จัด event กันมากมาย ดังนั้นภาพในความรู้สึกในสื่อทำให้เราเข้าใจว่า ถ้าจะเผาผลาญพลังงานเพื่อลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพต้องวิ่งถึงจะดีแต่จากข้อมูลการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการวัดการใช้พลังงานต่อ ชั่วโมงของคนหนัก 130 ปอนด์ (60 กิโลกรัม) 

จะพบว่า การเดินเร็วที่ ความเร็ว 5 ไมล์/ชั่วโมง (8 กิโลเมตร/ชั่วโมง) จะใช้พลังงานเท่ากัน ใน 1 ชั่วโมง เท่ากับการวิ่งที่ความเร็วเดียวกัน ถ้าดูจากกราฟ จะพบว่าการวิ่งที่ความเร็วเพิ่มขึ้นใช้พลังงานมากขึ้น ใน 1 ชั่วโมง ข้อความนี้ สนับสนุนความเชื่อแรกของเราใช่ไหมว่า วิ่งใช้พลังงานมากกว่าเดิน

แต่พอมาดูรายละเอียด กลับพบว่า การเดินขึ้นเนิน ที่ความเร็ว 3.5 ไมล์/ชั่วโมง (5.6 กม/ชม) และการวิ่งทางราบ ความเร็ว 5 ไมล์/ชั่วโมง (8 กม/ชม) จะใช้พลังงานเท่ากัน หากเดินหรือวิ่งได้ระยะทางที่เท่ากัน และใช้พลังงานเท่ากับการวิ่ง ที่ความเร็วอื่นๆ ด้วย (ใช้พลังงาน ต่อ ระยะทางเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมาก) 

ตรงนี้บอกเราว่า พลังงานที่ใช้ไป แปลตามระยะทางที่วิ่ง หรือ เดิน ไม่ได้แปลตามตามเร็วของการวิ่ง น่าสนใจนะแสดงว่า การวิ่งไม่ได้ใช้พลังงานมากกว่าเลย เพียงแต่ว่าการวิ่งจะได้ระยะทาง และ ใช้พลังงานในเวลาที่สั้นกว่าการเดินเท่านั้นเอง วิ่งยิ่งเร็ว ยิ่งใช้เวลาน้อย ยิ่งมีโอกาส หรือ มีเวลาที่จะวิ่งได้ระยะทางมากขึ้นทำเผาผลาญพลังงานได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับการเดิน(หากใช้เวลาเท่ากัน)

การเผาผลาญพลังงาน หรือ การออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ จึงจะใช้วิธีเดินหรือวิ่งก็ได้ได้ผลเท่ากัน เพียงแต่ว่าการเดินจะใช้เวลามากกว่า ข้อมูลบอกเราว่า เดินหรือวิ่งให้ได้ระยะทางเท่ากัน ด้วยความเร็ว  5.6กิโลเมตร/ชั่วโมง (ถ้าเดินขึ้นเนิน) หรือ 8 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ถ้าเดินปกติ) เท่านี้ก็ได้ผลเท่ากับคนวิ่งเร็วๆ 

ดังนั้น ไม่ต้องวิ่ง ไม่ต้องกังวลเรื่องการปวดเข่า ไม่ต้องกังวลว่าน้ำหนักตัวมาก ทำไม่ไหว สำคัญที่ว่า เมื่อเราต้นทุนน้อยก็ใช้เวลาเยอะหน่อยไม่ต้องไปแข่งกับคนต้นทุนเยอะ ที่เขาสามารถวิ่งได้อย่างรวดเร็ว ทำไปเรื่อยๆได้ผลเหมือนกัน มีรุ่นพี่ที่เป็นหมอเข้าใจหลักและนำเหตุผลแบบนี้ไปปฏิบัติ เนื่องจากเขาอ้วนมาก วิ่งไม่ไหว มีโรคหลายอย่าง จึงเลือกที่จะออกกำลังกาย ด้วยการเดิน ใช้เวลามากกว่าคนอื่น แต่เดินให้ได้ระยะทางที่กำหนด 

ปรากฏว่า สุขภาพแข็งแรงขึ้นน้ำหนักตัว ลดไป มากกว่า10 กก. ในเวลาปีครึ่ง โดยไม่ต้องวิ่งเลยเดินอย่างเดียวแต่ทำสม่ำเสมอและตั้งใจ เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ ทำให้สม่ำเสมอทำให้ต่อเนื่องแล้วดีต่อสุขภาพ




ที่มา บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune

แฟ้มภาพ TNN Online

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง