TNN online เช็กสัญญาณเตือน "โรคหัวใจ" ตบจุดใต้รักแร้ช่วยป้องกันโรคได้จริงหรือ?

TNN ONLINE

Health

เช็กสัญญาณเตือน "โรคหัวใจ" ตบจุดใต้รักแร้ช่วยป้องกันโรคได้จริงหรือ?

เช็กสัญญาณเตือน โรคหัวใจ ตบจุดใต้รักแร้ช่วยป้องกันโรคได้จริงหรือ?

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ไขข้อสงสัย วิธีการตบจุดใต้รักแร้ช่วยป้องกัน "โรคหัวใจ" ได้จริงหรือ? เช็กสัญญาณเตือนโรคได้ที่นี่

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องวิธีการตบจุดใต้รักแร้ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการโพสต์คลิปวิดีโอชวนเชื่อเกี่ยวกับเรื่องวิธีการตบจุดใต้รักแร้ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าวิธีตบใต้รักแร้ซึ่งเป็นตำแหน่งของจุดจี๋เฉฺวียน ไม่สามารถรักษาโรคหัวใจ และโรคตามการกล่าวอ้างข้างต้นได้แม้วิธี ตบจะสามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเส้นลมปราณ หรือชี่และเลือดได้ รวมถึงจุดดังกล่าวเป็นจุดบนเส้นลมปราณหัวใจ ก็ตาม แต่วิธีตบถูกห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ และการใช้แค่วิธีตบอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับใช้รักษาโรคดังกล่าว อ้างข้างต้น รวมถึงตามหลักการรักษาด้วยการนวดทุยหน้าไม่ใช่วิธีนวดแค่วิธีหรือทาวิธีเดียวและมีการเลือกใช้จุดที่ นวดหลายจุด ตามการวินิจฉัยโรคและกลุ่มอาการ ซึ่งทำให้มีการเลือกใช้จุดและวิธีการที่แตกต่างกัน

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ สามารถติดตามกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขได้ที่เว็บไซต์ https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/ หรือโทร 0-2591-7007

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : วิธีการตบใต้รักแร้ไม่สามารถรักษาโรคหัวใจ และโรคตามการกล่าวอ้างข้างตนได้


กล้ามเนื้อ “หัวใจขาดเลือด” ภัยร้ายที่ต้องระวัง ข้อมูลจาก โรงพยาบาลเปาโล

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในภาวะที่อันตรายที่สุด มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เป็นภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หัวใจจะขาดเลือดและออกซิเจน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งโรคนี้มักเกิดขึ้นทันทีแบบเฉียบพลัน ไม่ว่าจะเป็นตอนทำงาน เล่นกีฬา หรือกระทั่งตอนนอนหลับพักผ่อน ที่เกิดจากที่ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด โดยอาจทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้ ภายใน 1 ชั่วโมง


อาการ – สัญญานเตือน…ต้องรีบพบแพทย์ทันที!

- เจ็บหน้าอกหรือรู้สึกแน่นหน้าอก

- มีเหงื่อออก

- ปวดร้าวตั้งแต่บริเวณ กราม คอ หลัง และลามไปแขน (ซึ่งปกติแล้วจะเป็นมากที่แขนซ้าย แต่ก็สามารถพบได้ทั้ง 2 แขน )

- รู้สึกหอบเหนื่อย

- ใจสั่น

- หายใจลำบาก

- คลื่นไส้ อาเจียน จุกใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน


หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบเดินทางมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด โดยจะต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงหลังมีอาการ หรือขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยันภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง หากชะล่าใจและพบแพทย์ช้า จะทำให้เสียชีวิตหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวตามมาได้


ใครคือ “กลุ่มเสี่ยง” หัวใจขาดเลือด

จริงๆ แล้วโรคนี้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปก็คือ คนที่สูบบุหรี่ มีไขมันในเลือดสูง โรคความดัน เบาหวาน หรือมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหัวใจ ฯลฯ

วิธีป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ดีที่สุดคือการตรวจสุขภาพและตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี ที่จะป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายต่างๆ ได้เป็นอย่างดี




ที่มา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมโรงพยาบาลเปาโล

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง