TNN online "โรคหัวใจในเด็ก" เปิด 3 ข้อสังเกตอาการป่วย รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจ

TNN ONLINE

Health

"โรคหัวใจในเด็ก" เปิด 3 ข้อสังเกตอาการป่วย รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจ

โรคหัวใจในเด็ก เปิด 3 ข้อสังเกตอาการป่วย รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจ

"โรคหัวใจ" สามารถเกิดขึ้นในเด็กทุกกลุ่มอายุ ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กโรคหัวใจควรทราบถึงชนิดของโรคหัวใจชนิดนั้นๆ รวมถึงมีความรู้และความเข้าใจในยาที่เด็กได้รับ รวมถึงการเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนและสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องพามาพบแพทย์

"โรคหัวใจ" สามารถเกิดขึ้นในเด็กทุกกลุ่มอายุ ผู้ปกครองที่ดูแล "เด็กโรคหัวใจ" ควรทราบถึงชนิดของโรคหัวใจชนิดนั้นๆ รวมถึงมีความรู้และความเข้าใจในยาที่เด็กได้รับ รวมถึงการเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนและสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องพามาพบแพทย์

"โรคหัวใจในเด็ก" สามารถแบ่งออกได้ เป็น 2 ประเภท นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อธิบายดังนี้

1. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 

"โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด" พบในเด็ก 8 คน จาก 1,000 คน ซึ่งเด็กเป็นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ บางคนทราบตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์มารดา แต่ส่วนใหญ่ตรวจพบตั้งแต่แรกเกิด ส่วนน้อยที่อาการไม่ชัดเจนอาจตรวจพบในภายหลัง 

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ ซึ่งบางโรคแสดงอาการตั้งแต่เป็นเด็กแรกเกิดหรือบางกลุ่มโรคเด็กมีอาการตอนโต 

2.โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง 

"โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง" มีสาเหตุและปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น โรคหัวใจรูมาติก เกิดจากไข้รูมาติก ทำให้มีลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ ส่วนใหญ่พบในเด็กวัยเรียน โรคคาวาซากิ มักพบในเด็กเล็กน้อยกว่า 5 ปี อาจพบการโป่งพองของเส้นเลือด เกิดเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส สามารถทำให้เกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจวายจากการขาดวิตามินบี 1 ซึ่งหากรับประทานอาหารครบหมู่จะสามารถป้องกันโรคหัวใจนี้ได้ 

เปิดวิธีสังเกต 3 ข้อ อาการโรคหัวใจในเด็ก

ด้าน นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวเพิ่มเติมว่า ความรุนแรงของโรคหัวใจในเด็กนั้นไม่เพียงแต่ทำให้เด็กมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าวัย แต่อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นผู้ปกครองควรสังเกตอาการดังต่อไปนี้ 

1. อาการหายใจหอบเหนื่อยง่าย 

2. อาการเล็บหรือตัวเขียว 

3. อาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด หรือเป็นลมบ่อยๆ 

4. ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการแต่แพทย์ตรวจพบเสียงหัวใจผิดปกติก็ควรได้รับการตรวจจากกุมารแพทย์โรคหัวใจ 

ทั้งนี้ โรคโดยส่วนใหญ่จะวินิจฉัยได้จากการทำคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiogram) เมื่อกุมารแพทย์โรคหัวใจตรวจวินิจฉัยพบว่าเด็กเป็นโรคหัวใจชนิดใดแล้ว จะสามารถวางแผนการรักษาโดยการให้ยารักษา การทำหัตถการเพื่อซ่อมแซมความผิดปกติ หรือการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้แพทย์สามารถทำการรักษาเด็กที่เป็นโรคหัวใจได้มากขึ้น ผลการรักษาดีขึ้น.

โรคหัวใจในเด็ก เปิด 3 ข้อสังเกตอาการป่วย รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจ

ข้อมูลจาก กรมการแพทย์

ภาพปก แฟ้มภาพจาก Reuters

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง