TNN online ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ด้วย 8 เคล็ดลับลับสมองให้คมเสมอ

TNN ONLINE

Health

ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ด้วย 8 เคล็ดลับลับสมองให้คมเสมอ

ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ด้วย 8 เคล็ดลับลับสมองให้คมเสมอ

หากร่างกายต้องการการออกกำลังกาย เพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้เราแข็งแรงขึ้น "สมอง" เองก็ต้องการการฝึกฝน เพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม ได้ด้วยเช่นเดียวกัน

ชวนลองมาสังเกตตัวเองดูว่า ช่วงนี้คุณหลงลืมบ่อยแค่ไหน ถ้าเริ่มรู้สึกว่าเราลืมอะไรง่ายขึ้น บางทีอาจเป็นสัญญาณจาก “สมอง” ของคุณว่า ถึงเวลาที่คุณควรหัดมาใส่ใจกับมันบ้างแล้ว 


เพราะหากร่างกายต้องการการออกกำลังกาย เพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้เราแข็งแรงขึ้น "สมอง" เองก็ต้องการการฝึกฝนด้วยเช่นเดียวกัน

8 เคล็ดลับ ลับสมอง ป้องกันภาวะสมองเสื่อม 

1.รักษาระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือดให้ดี


คอเลสเตอรอลและน้ำตาลที่สูงเกินมาตรฐาน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เมื่อหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดกระจายไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมีปัญหา นั่นหมายความว่าเลือดที่จะถูกใช้สมอง ก็จะไม่ปกติ ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดภาวะความจำเสื่อมและสุญเสียความทรงจำอย่างรุนแรงได้


2.งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอลฮอล์

สมาคมอัลไซเมอร์ของสหรัฐฯ ระบุว่า การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะความจำเสื่อมได้ ดังนั้น ทางที่ดีควรงดการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกฮฮอล์ไม่ควรดื่มในปริมาณที่มากเกินไป 

3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

พื้นฐานที่สุดของการมีสุขภาพดี แต่ก็ทำได้ยากเย็นเหมือนกัน แค่ต้องต่อสู้กับร่างกายก็ว่ายากแล้ว สู้กับใจยากกว่า หลายคนจึงถอดใจละเลยการออกกำลังกายไปได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะอย่างไร การออกกำลังกาย ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี เมื่อเลือดไหลเวียนได้มากขึ้น สมองได้รับเลือดหล่อเลี้ยงในการทำงานอย่างเพียงพอ ทำให้ภาวะความจำเสียงลดน้อยลง 

4.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินอี บี และกรดโอเมก้า 3 ซึ่งที่ส่วนช่วยในการทำงานของสมอง เสริมระบบความจำในระยะยาว ในทางกลับกัน การบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงอาจส่งผลเสียต่อความจำและการทำงานของสมองอื่นๆ การเลือกทานอาหารที่ดีกับสมองจึงเป็นเรื่องสำคัญ 

รูปแบบการกินที่นักโภชนาการแนะนำเพื่อบำรุงสมอง คือ การกินแบบ MIND (Mediterranean–DASH Intervention for Neurodegenerative Delay) เน้นทานผักใบเขียว ถั่วต่างๆ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี ปลา และน้ำมันมะกอก 

5.ฝึกการกระตุ้นสมองอยู่เสมอ

ยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามาข้องเกี่ยวกับชีวิตประจำวันแทบจะทุกเรื่อง เป็นสิ่งที่ดีมาที่ผู้สูงอายุจะได้กระตุ้นการใช้สมอง เมื่อได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทำให้สมองส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน ได้ขยับทำงานอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้มองได้ทำงานอยู่เสมอ

แต่ผู้สูงอายุมักไม่ชอบกับการเรียนรู้เทคโนโลยี ลองปรับความคิดตรงนี้ และให้องว่าการรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เริ่มแรกอาจจะยาก แต่เมื่อได้รู้แล้วจะรู้สึกสนุกขึ้น แถมยังเป้นโอกาสที่ได้ใช้เวลากับลูกหลานระหว่างช่วยสอนการใช้งานได้อีกด้วย

6.เข้าสังคมให้บ่อยขึ้น
.
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี 2021 ที่ศึกษาผู้สูงอายุในญี่ปุ่นพบว่าผู้เข้าร่วมที่มีความผูกพันทางสังคมสูงหรือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมีความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมต่ำกว่าผู้ที่มีส่วนร่วมทางสังคมต่ำอย่างสม่ำเสมอ

7.คงกิจกรรมทางเพศ

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี 2017 เผยว่า ในผู้ใหญ่อายุ 50 ถึง 83 ปี กิจกรรมเพศอาจเพิ่มการปลดปล่อยสารเคมีในสมองบางชนิดที่กระตุ้นการทำงานของสมอง กิจกรรมทางเพศยังส่งผลดีต่อทั้งร่างกาย จิตใจและสังคมด้วย

8.เล่นเกมฝึกสมอง

เกมฝึกสมอง หรือเกมที่ออกแบบมาเพื่อฝึกความจำ ความสนใจ ความเร็ว ความยืดหยุ่น และเกมแก้ปัญหาเชาว์ เป็นเรื่องสนุกและเรื่องความจำได้เป็นอย่างดี การศึกษาระบุว่ามันส่งผลต่อวามจำของสมองโดยตรง ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมได้อย่างมาก


Photo credit: Getty Image

.
ติดตาม TNN Health ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
Line @TNNONLINE : https://lin.ee/4fP2tltIo

หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://www.facebook.com/TNN16LIVE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง