TNN online เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงในห้องทดลอง เทรนด์อาหารที่ดีต่อสุขภาพ

TNN ONLINE

Health

เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงในห้องทดลอง เทรนด์อาหารที่ดีต่อสุขภาพ

เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงในห้องทดลอง เทรนด์อาหารที่ดีต่อสุขภาพ

เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงในห้องทดลอง เป็นอีกหนึ่งเทรนด์อาหารที่น่าจับตา นอกจากมีคุณค่าทางอาหารและดีต่อหัวใจ ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


เนื้อเพาะเลี้ยง กำลังได้รับความสนใจในหมู่นักโภชนาการ ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกอาหารในอนาคต ที่สำคัญขั้นตอนของการควบคุมในห้องแล็บ อาจทำให้เราได้รับประทานเนื้อที่มีคุณค่าทางอาหารมากกว่า

 

เนื้อเพาะเลี้ยง ไม่ใช่อาหารมังสวิรัติ


Cultivated meat หรือที่บางคนเรียกว่า Lab-grown meat คือเนื้อสัตว์ที่ได้จากการนำเอาเซลล์เนื้อเยื่อของสัตว์ไปเพาะเลี้ยงในห้องทดลองจนได้เนื้อชิ้นใหญ่ เพื่อให้มนุษย์สามารถนำไปรับประทานได้

 

อุม่า วาเลตี้ ซีอีโอของ “อัปไซด์ ฟูดส์” บริษทเทคดนโลยีอาหารจากเคลิฟอร์เนียสหรัฐฯ บอกว่า เนื้อเพาะเลี้ยงต่างจากเนื้อวีแกนหรืกเนื้อจากพืช (plant-based meat)  แต่เป็นเนื้อสัตว์จริงๆ เพียงแต่ไม่ได้นำมาจากสัตว์ตัวเป็นๆเท่านั้น ดังนั้น มันจึงไม่ใช่เนื้อมังสวิรัติ

 

“ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์เหือนกับการหมักเบียร์ แต่แทนที่คุณจะเลี้ยงยีสต์หรือจุลินทรีย์ คุณเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของสัตว์” วาเลตี้ อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น

 

ยาครอบจักรวาล ดีกับสุขภาพและหัวใจ


เพราะคำว่า “Lab-grown meat” ทำให้มีบางคนที่ไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัย แต่มีผลการศึกษาที่ยืนยันถึงเรื่องนี้ เนื่องจากการเพาะเลี้ยงอบู่ในห้องทดลองซึ่งเป็นพื้นที่ปิด ผู้บริโภคสามารถมั่นใจว่าการรับประทานเนื้อเพาะเลี้ยงไม่มีอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อันตรายที่มากับโรคระบาดในสัตว์ การพบโรคภัยที่มากับอาหารและโรคติดต่อจากสัตว์จึงน้อยมากๆ 

 

นอกจากนี้การควบคุมในห้องทดลอง ทำให้สามารถปรับแต่งหรือเพิ่มสารอาหารเข้าไปในเนื้อสัตว์ได้ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ทำเนื้อที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลน้อยกว่าเนื้อทั่วไป และเพิ่มวิตามิน และแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ที่ร่างกายต้องการ

 

เทียบกันกับ ในเนื้อสัตว์ที่ได้จากการปศุสัสต์จะมีไขมันอิ่มตัวอยู่มาก แต่การบริโภคกรดไขมันอิ่มตัวมากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจ

“ลองจินตนาการดูสิ หากเราสามารถผลิตชิ้นเนื้อที่มีกรดไขมันดีต่างๆ เหมือนในแซลมอนได้” 

 

นอกจากนี้ การบริโภคเนื้อเพาะเลี้ยงยังปลอดภัยไร้ยาปฏิชีวนะที่อาจปนเปื้อนมากับเนื้อสัตว์

 

ดังนั้น เมื่อสามารถควบคุมกระบวนการผลิตได้มากขึ้น โอกาสที่ปนเปื้อนและโอกาสเกิดความแปรปรวนก็น้อยลงด้วย จึงมีแต่ส่วนของเนื้อสัตว์ที่ดีที่สุดเท่านั้นที่จะออกมาสู่ตลาด

 

สิงคโปร์เป็นประเทศแรกของโลก ที่อนุมัติขายเนื้อเพาะเลี้ยง


เมื่อปี 2020 สิงคโปร์กลายเป็นประเทศของโลกที่อนุมัติการวางจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยง หลังจากบริษัทสตารืทอัพ Eat Just ของสหรัฐฯ ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารของสิงคโปร์ ในการขายเนื้อไก่ที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บ

 

เนื้อไก่เพาะเลี้ยงที่ขายตามท้องตลาดออกมาในรูปแบบของ “นักเก็ต” วางขายนราคา 50 ดอลลาร์ ซึ่งเจ้าของบริษัทบอกว่า เป็นราคาที่เทียบเท่าได้กับเนื้อไก่คุณภาพสูงที่วางขายทั่วไปตามท้องตลาด

 

จีนเตรียมเป็นผู้นำตลาดเนื้อโลก ด้วยการพัฒนา “เนื้อเพาะเลี้ยง”


จีนซึ่งถือเป็นหนึ่งในตลาดบริโภคเนื้อรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก อยู่ระหว่างพัฒนาเนื้อเพาะเลี้ยงในห้องแล็บ โดยมี CellX บรษัทสตาร์อัพจากเซี่ยงไฮ้ เป็นบริษัทแรกนการทำการวิจัย ตั้งเป้าให้มีราคาเทียบเท่าเนื้อหมูทั่วไป ภายในปี 2025

 

CellXใช้เซลล์ของหมูดำพื้นเมืองเป็นฐานในการเพาะเลี้ยง เมื่อสมบูรณ์แล้ว จะใช้เทคโนโลยีพิมพ์ 3 มิติ เพื่อสร้างชิ้นเนื้อทีน่ารับประทาน ซึ่งพวกเขาเชื่อว่า หากการวิจัยสำเร็จแล้ว การผลิตเนื้อเพาะเลี้ยง สามารถลดต้นทุนการผลิตเนื้อจากปศุสัตวืได้มากถึง 5 เท่า

 


ที่มา: https://edition.cnn.com/2022/06/06/health/lab-grown-meat-pros-cons-life-itself-wellness-scn/index.html

https://www.webmd.com/diet/cultured-meat-what-to-know

https://www.reuters.com/article/eat-just-singapore-idINL4N2II0BV

https://www.reuters.com/world/china/chinese-firm-serves-up-lab-grown-pork-worlds-top-meat-market-2021-09-03/

Photo credit: getty image

—————
.
ติดตาม TNN Health ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
Line @TNNHEALTH : https://lin.ee/MNckVHq

หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://bit.ly/TNNHealthFacebook

ข่าวแนะนำ