TNN online กำหนดสายพันธุ์โควิด-19 จำแนกออกเป็น 2 หมวด 8 สายพันธุ์

TNN ONLINE

Health

กำหนดสายพันธุ์โควิด-19 จำแนกออกเป็น 2 หมวด 8 สายพันธุ์

กำหนดสายพันธุ์โควิด-19 จำแนกออกเป็น 2 หมวด 8 สายพันธุ์

โควิด-19 โอมิครอนลูกผสมที่ระบาดอยู่ทั่วโลก แม้ไม่ทำให้ป่วยรุนแรงแต่ก็ต้องป้องกัน โดยศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งสายพันธุ์ลูกผสมเป็น 2 หมวด 8 สายพันธุ์

ท่ามกลางกระแสข่าวการประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ก็มีข่าวการแพร่ระบาดของไวรัสลูกผสม ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของเชื้อกลายพันธุ์โอมิครอน เกินขึ้นมาอีก โดยตามรายงานของหน่วยงานความมั่นคงด้านสาธารณสุขของอังกฤษระบุว่า ตอนนี้มีสายพันธุ์ย่อยที่ต้องจับตาอยู่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ XD, XE และ XJ
.
ขณะที่ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า การกำหนดสายพันธุ์โควิด-19 นั้น อาศัยข้อมูลรหัสพันธุ์ของโควิด-19 ทั้งจีโนมซับมิตเข้าไปในโปรแกรมออนไลน์ PANGOLIN แบ่งสายพันธุ์ลูกผสมเป็น 2 หมวด 8 สายพันธุ์
.
หมวด 1 : สายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง “เดลต้า x BA.1” ประกอบด้วยสมาชิก 2 สายพันธุ์ ดังนี้

.

XD – เป็นสายพันธุ์ลูกผสม ระหว่าง เดลต้า x BA.1 lineage พบในฝรั่งเศส ประกอบด้วยยีน S ที่สร้างหนามแหลม ส่วนอื่นเป็นจีโนมจากเดลต้า
XF – จีโนมมีส่วนผสมระหว่าง ยีน S และยีนที่สร้างโปรตีนสำคัญของอนุภาคไวรัส มาจาก BA.1 กับส่วน 5 จากจีโนมของเดลต้า
.
หมวด 2 : สายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง BA.1 x BA.2 ประกอบด้วยสมาชิก 6 สายพันธุ์ ดังนี้

.

XE – พบในอังกฤษ จีโนมมีส่วนผสมระหว่าง ยีน S และยีนที่สร้างโปรตีนสำคัญของอนุภาคไวรัส มาจาก BA.2 กับส่วน 5 จากจีโนมของ BA.1 แสดงอัตราการแพร่ระบาด (growth advantage) เหนือ BA.2
XG – พบในเดนมาร์ก
XH – พบในเดนมาร์ก
XJ – พบในฟินแลนด์
XK – พบในเบลเยียม
XL – พบในอังกฤษ
.
สายพันธุ์ลูกผสมมีการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน ความสามารถในการแพร่ระบาด อาการความรุนแรงของโรคโควิด หากดูจากรหัสพันธุกรรมบนจีโนมแล้ว ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านลงความเห็นว่าไม่น่าจะแตกต่างไปจาก โอมิครอนดั้งเดิม BA.1 และ BA.2
.
โควิดโอมิครอนลูกผสมที่พบนี้โดยทั่วไปแล้วมีอาการไม่ต่างกัน เว้นแต่ความสามารถในการแพร่เชื้อที่รวดเร็วแตกต่างกันไป 
.
โดยอาการป่วยที่พบ เช่น  มีอาการไอ เจ็บคอ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ หายใจลำบาก และได้กลิ่นลดลง ซึ่งอาการป่วยเหล่านี้ หนักเบาแล้วแต่ตัวบุคคล 
.
อย่างไรก็ดี ยังไม่พบว่าเชื้อลูกผสมก่อให้เกิดอาการป่วยใหม่ หรืออาการป่วยที่รุนแรงมากกว่า เมื่อเทียบการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม
แม้ว่าอาการในช่วงแรกที่ติดเชื้อจะไม่รุนแรง แต่ก็สามารถพัฒนาอาการรุนแรงขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีโรคประจำตัว ดังนั้น จึงไม่ควรชะล่าใจ ยังต้องระมัดระวังป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิดเช่นเดิม นั่นคือสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่แออัดมาก เพราะโอมิครอนสามารถแพร่เชื้อได้ง่าย พยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน และเว้นระยะห่าง
.
นอกจากนี้ องค์การินามัยโลก (WHO) ได้ออกมาย้ำว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ในการช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในขณะนี้หลายประเทศกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาการฉีดวัคซีนบูสเตอร์เข้มที่ 2 หรือวัคซีนเข็ม 4 ให้กับประชาชน ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา ไฟเขียวให้ผู้ใหญ่ที่อายุ 50 ปีขึ้นไปเข้ารับวัคซีนบูสเตอร์เข็มที่ 2 ได้ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นตันไป


—————

.

ติดตาม TNN Health ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่ 

Website : https://www.tnnthailand.com/

Youtube : https://bit.ly/TNNHealthYoutube

TikTok : https://bit.ly/TNNHealthTikTok

Line @TNNONLINE : https://lin.ee/4fP2tltIo

หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://www.facebook.com/TNN16LIVE/

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง