TNN online “หลับลึก” ช่วยกำจัดขยะในสมอง ลดการเสื่อมของสมองได้จริง

TNN ONLINE

Health

“หลับลึก” ช่วยกำจัดขยะในสมอง ลดการเสื่อมของสมองได้จริง

“หลับลึก” ช่วยกำจัดขยะในสมอง ลดการเสื่อมของสมองได้จริง

การนอนตามช่วงเวลานาฬิกาชีวิต เป็นเรื่องสำคัญ หลับในกลางคืน ตื่นในกลางวัน ให้สมองได้พักผ่อนและกำจัดขยะของเสียที่เกิดจากสารแอมีลอยด์ออกไปจากสมอง การหลับลึกไม่เพียงช่วยให้ร่างกายสดชื่นในตอนเช้าเท่านั้น ในระยะยาวยังช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมได้อีกด้วย



พล.ต.ดร.นพ.โยธิน ชินวลัญช์  นายกสมาคมนิทราเวชแห่งประเทศไทย เผยถึงข้อเสียของการอดนอน และการ “นอนให้เพียงพอ มีความสำคัญอย่างไร” ผ่านทางรายการ TNNHEALTH โดยระบุว่า การนอนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกเพศทุกวัย เนื่องจากในชีวิตประจำวัน  สมองคนเรามีการใช้งาน มีการสั่งงาน ใช้ความคิด ใช้ความจำ รวมทั้งควบคุมเรื่องการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้เซลล์มีการใช้งานตลอดเวลา  เกิดของเสียขึ้นในทุกวัน แต่ละวันก็จะเกิดการสะสมในสมอง การนอนหลับจึงเปรียบเสมือนการกำจัดขยะในสมองให้หมดไป เมื่อตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่เมื่อได้หลับลึกอย่างมีคุณภาพสมองจะสดชื่น พร้อมทำงานในวันต่อไป

 

“หลายคนคิดว่านอนดึกก็ได้ แล้วก็นอนสะมสมให้ครบตามชั่วโมงการนอน แต่จริง ๆ อยากบอกว่าการนอนหลับลึกอย่างมีคุณภาพ ไม่ได้ขึ้นกับปริมาณการนอนจำนวนชั่วโมง แต่การจะหลับลึกยังมีเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 โดยพบว่าในช่วงการหลับลึก หรือ REM Sleep (Rapid Eye Movement Sleep) ที่จะอยู่เหนือระดับ NREM Sleep นั่นก็คือช่วงที่หลับปกติ สามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นระยะกึ่งหลับกึ่งตื่น ระยะที่ 2 เป็นระยะเคลิ้มหลับ และระยะที่ 3 เป็นช่วงหลับลึก ร่างกายจะอยู่ในภาวะพักผ่อนมากที่สุด และมีการหลั่ง Growth Hormone ออกมา สำหรับผู้ใหญ่ต้องการภาวะการหลับลึก ในระดับ 20-25 %” พล.ต.ดร.นพ.โยธิน ระบุ นอกจากนี้ การหลับลึกในเด็กมีผลต่อการเจริญเติบโต เด็กที่นอนหลับอย่างเพียงพอ สุขภาพจิตจะดี ส่วนผู้ใหญ่ยังพบว่าการหลับลึกอย่างมีคุณภาพ ยังช่วยลดเรื่องสมองเสื่อม ตรงกันข้ามในวัยผู้ใหญ่ถ้าอดนอนบ่อย ๆ ร่างกายจะขับสารแอมีลอยด์ออกไปจากสมองไม่ทัน เปรียบเสมือนใรขยะสะสมในสมองทุกวัน ก็จะเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมความจำไม่ดีได้ตามมา เสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ในอนาคตได้ 

 

นายกสมาคมนิทราเวชแห่งประเทศไทย ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากนี้การได้นอนหลับพักผ่อนตามนาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythm) ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงที่มีกลางคืน กลางวัน ในคนปกติที่เข้านอนในเวลากลางคืน สมองจะเรียนรู้ตามช่วงเวลาการใช้ชีวิตเป็นรอบนาฬิกาการนอน แต่สำหรับคนที่ต้องทำงาเป็นกะ อดนอนบ่อย หรือทำงานกลางคืน มานอนในกลางวัน จะมีความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ความจำถดถอย จะเสี่ยงมากกว่าคนปกติที่เข้านอนตามเวลา 

 


—————

.

ติดตาม TNN Health ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่ 

Website : https://www.tnnthailand.com/

Youtube : https://bit.ly/TNNHealthYoutube

TikTok : https://bit.ly/TNNHealthTikTok

Line @TNNONLINE : https://lin.ee/4fP2tltIo

หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://www.facebook.com/TNN16LIVE/

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง