TNN online โมเลกุลที่หลั่งจากลำไส้ กระตุ้นอยากให้สานต่อสัมพันธ์หลังมื้ออาหาร

TNN ONLINE

Health

โมเลกุลที่หลั่งจากลำไส้ กระตุ้นอยากให้สานต่อสัมพันธ์หลังมื้ออาหาร

โมเลกุลที่หลั่งจากลำไส้ กระตุ้นอยากให้สานต่อสัมพันธ์หลังมื้ออาหาร

หลังดินเนอร์ค่ำฉลองวันวาเลนไทน์ที่สุดแสนจะโรแมนติก ยิ่งทำให้คุณอยากสานสัมพันธ์ต่อ ความรู้สึกนี้อาจมาจาก "โมเลกุลที่ถูกปล่อยจากลำไส้" เร้าให้เกิดอาการ “หิวโหยความรัก”

โมเลกุลที่หลั่งออกมาจากลำไส้สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของเราได้เพียงพริบตา ทำให้ขณะที่คู่รักกำลังดื่มด่ำกับอาหารค่ำในคืนวันวาเลนไทน์ มีความรู้สึกที่ต้องการสานสัมพนธ์ต่อจากนั้น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นหาคำตอบมาอธิบายเรื่องนี้ 

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซาน ดิเอโก สหรัฐอเมริกา ทำการศึกษาแมลงวันผลไม้ ก่อนพบว่า มีโมเลกุลที่ถูกหลั่งออกมาจากลำไส้ของพวกมัน ที่ไปกระตุ้นการเปลี่ยนจุดสนใจของพวกมัน จากการหาอาหารไปสู่การหาคู่ 

เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่พวกแมลงวันได้กินอาหารที่เต็มไปด้วยโปรตีน ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมน Dh31 ซึ่งเป็นโมเลกุลที่หลั่งออกมาจากลำไส้ เพื่อทำให้หน้าที่ส่งสัญญาณประสาทสื่อสารกันระหว่างลำไส้กับสมอง 

ศาสตราจารย์จิง หวัง จากศูนย์ชีววิทยามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซาน ดิเอโก และผู้นำทีมวิจัยนี้ กล่าวว่า พวกเขาค้นพบจุดเปลี่ยนผ่านความสนใจจากอาหารไปสู่ความต้องการหาคู่ในแมลงัวน ซึ่งน่าประหลาดที่ว่า โมเลกุลตัวนี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจในการหาคู่ของพวกมันอย่างมาก

เพื่อศึกษารายละเอียดที่ลึกลงไปอีก ทีมวิจัยลองดัดแปลงพันธุกรรมของฮอร์โมน Dh31 ปรากฏว่าพวกแมลงวันจดจ่ออยู่กับการกินอาหาร โดยไม่สนใจเพศตรงข้ามเลย จากนั้น นักวิทยาศาสตร์ก็ทำให้ยีนส์ของฮอร์โมน Dh31 กลับมาทำงานอย่างปกติ ก็พบว่าพวกมันเปลี่ยนความสนใจมาที่การเกี้ยวพาราสีภายในเวลาไม่นานนัก ซึ่งจากการศึกษาในเวลาเดียวกันนี้ ทำให้พวกเขาพบจุดที่ฮอร์โมนดังกล่าวถูกปล่อยออกมาไม่ใช่จากสมอง แต่เป็นลำไส้ของแมลงวันต่างหาก

การศึกษาสรุปได้ว่า โมเลกุลส่งสัญญาณ จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม 2 อย่างด้วยกัน ได้แก่ ตอนที่ต้องการหาอาหารโดยยุ่งเกี่ยวกับการหาคู่ในกรณีที่ไม่มี Dh31 และการสนใจหาคู่มากกว่าการให้อาหารเมื่อ Dh31 ถูกปล่อยออกจากลำไส้

แล้วโมเลกุลที่ถูกปล่อยออกมาจากลำไสเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนอย่างไร มันช่วยไขคำตอบของความเชื่อมโยงระหว่างบริโภคอาหารและพฤติกรรมการสืบพันธ์ โดยไม่เกี่ยวกับกายภาพ นั่นคือ ความรู้สึกของคู่รักที่ต้องการไปสานความสัมพันธ์ต่อหลังจบมื้อค่ำสุดแสนโรแมนติกในคืนวันวาเลนไทน์

ศาสตราจารย์จิง หวัง สรุปงานวิจัยชิ้นนี้ว่า มันทำให้เราเข้าใจกลไกทางกายภาพ ที่ช่วยให้ลำไส้กับสมองได้สื่อสารกัน และจัดการพฤติกรรมของมนุษย์ให้เป็นไปตามหลักจิตยา เรื่องลำดับขั้นตมความต้องการของมาสโลว์ เมื่อ 80 ปีก่อน เมื่อร่างกายได้กินอิ่ม คนก็ต้องการความสัมพันธ์และความรักใคร่ระหว่างกันและกันต่อไป


ขอบคุณข้อมูลจาก Science Daily / Facebook: TNN Health

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง