TNN online เลือกตั้ง 2566 ส่องนโยบาย พรรคก้าวไกล 100 วันแรก จะทำอะไรบ้าง?

TNN ONLINE

เลือกตั้ง2566

เลือกตั้ง 2566 ส่องนโยบาย พรรคก้าวไกล 100 วันแรก จะทำอะไรบ้าง?

เลือกตั้ง 2566 ส่องนโยบาย พรรคก้าวไกล 100 วันแรก จะทำอะไรบ้าง?

เลือกตั้ง 2566 ส่องนโยบาย พรรคก้าวไกล 100 วันแรก จะทำอะไรบ้าง?

เลือกตั้ง 2566 ส่องนโยบาย พรรคก้าวไกล 100 วันแรก จะทำอะไรบ้าง? 


ประชามติ จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่


พรรคก้าวไกล ระบุว่า ในฐานะกฎหมายสูงสุดของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 เป็นต้นตอของปัญหาการเมืองไทย เพราะมีที่มา กระบวนการ และเนื้อหา ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หากแต่ออกแบบมาเพื่อสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหารและระบอบประยุทธ์ อีกทั้งยังถูกเขียนโดยคนไม่กี่คนที่ คสช. แต่งตั้งอันเป็นผลให้เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ 2560 มีการขยายอำนาจของสถาบันทางการเมืองที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แต่ยึดโยงกับ คสช. และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ


นอกจากนั้นแล้วกระบวนการประชามติในปี 2559 ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานประชาธิปไตย เพราะไม่ได้เปิดให้ทั้งสองฝ่ายรณรงค์ได้อย่างเท่าเทียมกัน มีคำถามพ่วงที่กำกวมและชี้นำ และเกิดขึ้นในสภาวะที่ประชาชนถูกบีบว่าหากไม่รับร่าง คณะรัฐประหารจะอยู่ในอำนาจต่อและจะไม่มีการเลือกตั้ง 


ยกเลิกการประกาศกฎอัยการศึกในชายแดนใต้


พรรคก้าวไกล ระบุว่า ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยตลอด 90 ปีที่ผ่านมา หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ทหารและกองทัพได้เข้ามาแทรกแซงและทำลายพัฒนาการของประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งจากการแทรกแซงที่โจ่งแจ้งที่สุดของกองทัพอย่างการทำรัฐประหารและการสืบทอดอำนาจที่ตามมา


อีกทั้งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทหารและกองทัพยังคงมีอิทธิพลทางการเมืองผ่านโครงสร้างรัฐที่จัดวางอำนาจของกองทัพให้อยู่เหนือรัฐบาลพลเรือนในหลายกระบวนการตัดสินใจ ทั้งในเชิงความความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ตลอดจนในมิติของธุรกิจการเมือง หรือแม้กระทั่งความเป็นอำนาจนิยมของระบบทหารไทยซึ่งส่งผลลบต่อประเด็นว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย


ยิ่งไปกว่านั้นกองทัพถือได้ว่าเป็นหน่วยงานที่มีการใช้งบประมาณสูงเป็นลำดับต้น ๆ ของภาครัฐไทยในแต่ละปี โดยงบประมาณกองทัพที่ผ่านมาเคยขึ้นไปสูงที่สุดที่ 227,000 ล้านบาทใน ปี 2562 ดังนั้นการลดขนาดกองทัพ และปฏิรูปให้เกิดประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อให้งบประมาณที่สิ้นเปลืองดังกล่าวถูกเปลี่ยนถ่ายสู่สวัสดิการและประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชนอย่างยั่งยืน


ข้อเสนอ

ยุติการใช้กฎอัยการศึกในจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการคลี่คลายสถานการณ์รุนแรง


ประชามติยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค ไม่มีใครตกงาน-เสียประโยชน์


พรรคก้าวไกล ระบุว่า ผู้บริหารจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นกลไกที่จำเป็นให้การพัฒนาพื้นที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากที่สุด และทำให้ผู้บริหารต้องรับผิดชอบต่อผลงานในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่


แม้ประเทศไทยเปิดทางให้ประชาชนเลือกผู้บริหารท้องถิ่น (เช่น นายก อบจ. / นายก อบต. / นายกเทศมนตรี) แต่ผู้บริหารสูงสุดของจังหวัด ยังคงเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้งของกระทรวงมหาดไทย ทำให้ผู้บริหารท้องถิ่นไม่สามารถแสดงบทบาทได้เต็มที่และหลายครั้งถูกควบคุมสั่งการหรือแทรกแซงจากผู้ว่าฯแต่งตั้ง จนกระทบต่อการทำงานเพื่อสนองความต้องการของประชาชน


หากราชการส่วนภูมิภาค (นำโดย ผู้ว่าฯ แต่งตั้ง) ยังคงมีอำนาจเหนือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (นำโดย นายกฯ อบจ.) การบริหารจังหวัดจะไม่ยึดโยงกับประชาชนเท่าที่ควรจะเป็น


ข้อเสนอ

จัดให้มีประชามติภายใน 1 ปี เพื่อถามประชาชนว่าเห็นชอบหรือไม่ ให้มีการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค และโอนถ่ายอำนาจการบริหารจังหวัดไปสู่ท้องถิ่น


หากประชามติได้รับความเห็นชอบจากประชาชน จะปูทางไปสู่การเปลี่ยนสังกัดของข้าราชการส่วนภูมิภาคและฝ่ายท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) โดยไม่มีตำแหน่งใดที่หาย และไม่มีใครตกงานหรือสูญเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับ เดิมที่ทำแยกกันภายใต้ผู้ว่าฯแต่งตั้ง-อธิบดีกรม-ปลัดกระทรวง เป็นการทำงานร่วมกันภายใต้ผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่ จากเดิมที่ทำงานแยกกันภายใต้ผู้ว่าฯแต่งตั้ง-อธิบดีกรม-ปลัดกระทรวง ที่ถูกแต่งตั้งโดยราชการส่วนกลาง ไปเป็นรูปแบบใหม่ที่มีการทำงานร่วมกันภายใต้ผู้บริหารท้องถิ่น (นายกจังหวัด) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่


ยกเลิกกฎระเบียบและคำสั่ง คสช. ที่ล็อกคอ-ล้วงลูกท้องถิ่น


พรรคก้าวไกล ระบุว่า ท้องถิ่นคือหน่วยงานรัฐที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด ทุกปัญหา ประชาชนจะคิดถึงท้องถิ่นเป็นหน่วยงานแรก และ ทุกท้องถิ่นมีทั้งแรงจูงใจและแรงกดดัน ในการแก้ปัญหาและพัฒนาบริการ จากประชาชนในพื้นที่โดยตรงเพราะประชาชนเลือกมา ดังนั้นท้องถิ่นจึงควรเป็นหน่วยงานหลักในการทำบริการสาธารณะให้ประชาชน ท้องถิ่นจึงควรเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะในพื้นที่


แต่ที่ผ่านมามีอุปสรรค 2 ประการสำคัญ ที่ทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถดูแลประชาชนหรือพัฒนาพื้นที่ได้อย่างที่ควรจะเป็น


1. กฎหมายเขียนถึงอำนาจท้องถิ่นแบบ “positive list” ที่ระบุเป็นข้อๆ ว่าท้องถิ่นมีอำนาจในด้านใดบ้าง - เมื่อมีภารกิจใดที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาในพื้นที่ แต่ไม่มีความชัดเจนว่าเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ ท้องถิ่นจึงอาจลังเลที่จะทำภารกิจนั้น เพราะกังวลว่าอาจถูกสอบสวนหรือชี้มูลเอาผิด


2. กฎหมายให้อำนาจทับซ้อนระหว่างท้องถิ่นและส่วนกลาง - ประเทศไทยมีกฎหมายหลายฉบับ ที่ให้อำนาจหน่วยงานส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค ซ้ำซ้อนกับส่วนท้องถิ่น ทำให้บางครั้งเกิดความสับสนว่าภารกิจดังกล่าว ใครควรเป็นคนทำ โดยในกลายกรณี องค์กรตรวจสอบ เช่น สตง. มักตีความ “ไม่เป็นคุณ” กับท้องถิ่น และให้เป็นอำนาจส่วนกลางเป็นหลัก (เช่น การฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ที่น่าจะเข้าข่ายเป็นอำนาจของท้องถิ่น แต่ขณะเดียวกันก็มีกฎหมายให้อำนาจกรมปศุสัตว์ด้วย)


ข้อเสนอ

ยกเลิกคำสั่ง คสช. 8/2560 ที่เข้ามาแทรกแซงการบริหารงานบุคคลของ อปท. ทำให้ท้องถิ่นขาดกำลังคน

ยกเลิกกฎระเบียบของกระทรวงมหาดไทย ที่จำกัดอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และไม่จำเป็นต่อการบริหารราชการท้องถิ่น เช่น การใช้จ่ายประมาณของท้องถิ่น การสอบสวนผู้บริหารท้องถิ่น การลาของผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น การเห็นชอบข้อบัญญัติท้องถิ่น


ห้ามใช้เงินหลวง โปรโมทตัวเอง


พรรคก้าวไกล ระบุว่า สถานการณ์การทุจริตของไทยยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากดัชนีการรับรู้การทุจริตของไทย ประจำปี 65 ไทยในอันดับที่ 101 จาก 180 ประเทศทั่วโลก โดยปัญหาสำคัญของการทุจริตภาครัฐของไทย คือ การรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อผ่านใบอนุญาตต่าง ๆ ให้กับภาคธุรกิจและประชาชน ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ ที่ประชาชนยังเข้าถึงได้ยาก และระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการ ปัญหาการทุจริตเหล่านี้ ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ที่ต้องเจอกับต้นทุนแฝงจากการเรียกรับสินบนจากเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนี้ปัญหาการทุจริตยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนภายในประเทศต่อระบบราชการของไทย


นอกจากนี้องค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบและปราบปรามการทุจริตอย่าง ปปช. ไม่มีความยึดโยงกับประชาชน ไม่มีความเป็นกลางทางการเมืองอย่างแท้จริง ทำให้การเอาผิดผู้กระทำผิดประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างล่าช้าและเอื้อประโยชน์ต่อผู้มีอำนาจทางการเมือง อีกทั้งประชาชนก็ยากที่จะตรวจสอบและเอาผิดกับ ปปช. ได้


ข้อเสนอ

ตรวจสอบการใช้งบประชาสัมพันธ์ภาครัฐอย่างเข้มข้น และกำหนดว่าการใช้งบจะต้องเป็นการโฆษณาโครงการหรือผลงานของหน่วยงานเท่านั้น โดยห้ามไม่ให้ใช้เพื่อโฆษณาตัวบุคคล ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรี อธิบดี หรือหัวหน้าหน่วยงาน ที่ไม่ได้ควักเงินตัวเองมาทำโครงการ


กฎโรงเรียนต้องไม่ขัดหลักสิทธิมนุษยชน


โรงเรียนต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียนทุกคน แต่ปัจจุบัน นักเรียนกลับเผชิญกับหลายปัจจัยในโรงเรียนที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยใน 3 มิติ ได้แก่:


ความปลอดภัยทางร่างกาย : ทั้งเรื่องอุบัติเหตุ (เช่น อาคารเรียนชำรุด ไฟดูด น้ำท่วม) และปัญหาสุขอนามัย (เช่น ห้องน้ำไม่สะอาด)

ความปลอดภัยทางสภาพจิตใจ : ทั้งในเรื่องของความเครียดจากภาระการเรียนที่หนัก และภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีส่วนทำให้การฆ่าตัวตายได้กลายมาเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสามของวัยรุ่นไทย

ความปลอดภัยจากอำนาจนิยม : ทั้งในเรื่องการถูกละเมิดสิทธิโดยบุคลากรในสถานศึกษา (เช่น การลงโทษด้วยวิธีรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ) รวมถึงการโดนกลั่นแกล้ง (bullying) จากทั้งครูและนักเรียนด้วยกัน


ข้อเสนอ

ออกข้อกำหนด “กฎโรงเรียนต้องห้าม” เพื่อไม่ให้โรงเรียนออกกฎระเบียบของโรงเรียนที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักเรียน (เช่น การบังคับเรื่องทรงผม การลงโทษด้วยวิธีรุนแรงทุกประเภท การบังคับให้เด็กบริจาคเงินหรือสิ่งของ การบังคับซื้อของ และการบังคับให้ทำกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน)

อบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่นให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของเด็ก


ครูละเมิดสิทธิ พักใบประกอบทันที


โรงเรียนต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียนทุกคน แต่ปัจจุบัน นักเรียนกลับเผชิญกับหลายปัจจัยในโรงเรียนที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยใน 3 มิติ ได้แก่:


ความปลอดภัยทางร่างกาย : ทั้งเรื่องอุบัติเหตุ (เช่น อาคารเรียนชำรุด ไฟดูด น้ำท่วม) และปัญหาสุขอนามัย (เช่น ห้องน้ำไม่สะอาด)

ความปลอดภัยทางสภาพจิตใจ : ทั้งในเรื่องของความเครียดจากภาระการเรียนที่หนัก และภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีส่วนทำให้การฆ่าตัวตายได้กลายมาเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสามของวัยรุ่นไทย

ความปลอดภัยจากอำนาจนิยม : ทั้งในเรื่องการถูกละเมิดสิทธิโดยบุคลากรในสถานศึกษา (เช่น การลงโทษด้วยวิธีรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ) รวมถึงการโดนกลั่นแกล้ง (bullying) จากทั้งครูและนักเรียนด้วยกัน


ข้อเสนอ

พักใบประกอบวิชาชีพครูทันทีเมื่อมีการละเมิดสิทธิเด็ก (เช่น การทำร้ายร่างกายเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศ) เพื่อป้องกันไม่ให้มีการงดโทษหรือลงโทษเพียงแค่ย้ายโรงเรียน ซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยของผู้เรียนในสถานศึกษาอื่น


แก้ปัญหาการปกปิดความผิดโดยโรงเรียนเมื่อเกิดเหตุการละเมิดสิทธิกับนักเรียน ผ่านการจัดให้มีผู้ตรวจการนักเรียน (Student Ombudsman) ที่ขึ้นตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เป็นช่องทางร้องเรียนที่เป็นอิสระจริงจากโรงเรียน-เขตพื้นที่


เลิกให้ครูนอนเวร


ที่ผ่านมาครูไทยไม่สามารถให้เวลาที่มากพอกับห้องเรียนและนักเรียนได้ เนื่องจากข้อจำกัดมากมาย รวมถึงภาระงานของครูมหาศาล ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน หรือไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้การศึกษาไทย


โดยใน 1 ปี ครูใช้เวลา 84 วัน จาก 200 วันในปีการศึกษา หรือคิดเป็นกว่า 42% ที่ถูกใช้ไปกับงานนอกห้องเรียน ทั้งงานเอกสาร งานธุรการ งานพัสดุ การนอนเวรเฝ้าโรงเรียน การประเมิน/อบรม การเข้าร่วมโครงการที่ไม่จำเป็น


ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการถูกกดทับด้วยอำนาจภายในโรงเรียน โดนผู้บริหารใช้งานนอกเหนือหน้าที่ จนคุณครูไม่สามารถทุ่มเทไปที่การสอนหรือการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นผลมาจากการประเมินที่ไม่ยึดโยงเพียงพอกับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน และระบบการบริหารและพัฒนาบุคลากรครูที่ยังไม่นำไปสู่ผลลัพธ์แห่งการพัฒนาทางการศึกษาในระยะยาว


ข้อเสนอ

ยกเลิกการให้ครูนอนเวรเฝ้าโรงเรียน เพื่อให้คุณครูสามารถโฟกัสไปที่การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มที่


ยกเลิกพิธีรีตองในการประเมินครู-รับแขก


ที่ผ่านมาครูไทยไม่สามารถให้เวลาที่มากพอกับห้องเรียนและนักเรียนได้ เนื่องจากข้อจำกัดมากมาย รวมถึงภาระงานของครูมหาศาล ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน หรือไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้การศึกษาไทย


โดยใน 1 ปี ครูใช้เวลา 84 วัน จาก 200 วันในปีการศึกษา หรือคิดเป็นกว่า 42% ที่ถูกใช้ไปกับงานนอกห้องเรียน ทั้งงานเอกสาร งานธุรการ งานพัสดุ การนอนเวรเฝ้าโรงเรียน การประเมิน/อบรม การเข้าร่วมโครงการที่ไม่จำเป็น


ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการถูกกดทับด้วยอำนาจภายในโรงเรียน โดนผู้บริหารใช้งานนอกเหนือหน้าที่ จนคุณครูไม่สามารถทุ่มเทไปที่การสอนหรือการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นผลมาจากการประเมินที่ไม่ยึดโยงเพียงพอกับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน และระบบการบริหารและพัฒนาบุคลากรครูที่ยังไม่นำไปสู่ผลลัพธ์แห่งการพัฒนาทางการศึกษาในระยะยาว


ข้อเสนอ

ยกเลิกพิธีรีตองที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหรือการพัฒนาผู้เรียน (เช่น การจัดแต่งอาคารสถานที่ต้อนรับผู้ประเมิน) เพื่อให้คุณครูสามารถโฟกัสไปที่การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มที่


เปลี่ยนนิคมสหกรณ์เป็นโฉนดทันที


ปัจจุบัน เกษตรกรจำนวนมากขาดเอกสารสิทธิ์หรือโฉนดในที่ดินที่ตนเองใช้ชีวิตและทำมาหากินมาหลายรุ่น โดยกว่า 1 ล้านคน กำลังประสบปัญหาข้อพิพาทที่ดินกับรัฐ ที่บางกรณียืดเยื้อมาหลายสิบปี และถูกซ้ำเติมโดยนโยบายของรัฐที่ผ่านมา (ป่าอนุรักษ์ 300,000-400,000 ราย / ป่าสงวนแห่งชาติ 400,000-500,000 ราย / ที่ราชพัสดุ 100,000-200,000 ราย / ที่ดิน ส.ป.ก. 200,000-300,000 ราย)


นอกจากจะขาดความมั่นคงขั้นพื้นฐานในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว การขาดเอกสารสิทธิ์ยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา เพราะทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบ ขาดแรงจูงใจในการลงทุนพัฒนาพื้นที่เพื่อผลตอบแทนในระยะยาว และ ไม่มีทางเลือกในการโอนสิทธิหรือขายที่ดินเพื่อย้ายถิ่นฐานเพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า


แม้เกษตรกรที่มีที่ดิน ส.ป.ก. ก็ยังไม่มีความมั่นคงในการถือครองที่ดิน เพราะเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นเอกสารสิทธิ์ที่มีข้อจำกัดในการเปลี่ยนมือการครอบครอง โดยห้ามซื้อขายเปลี่ยนมือ (ยกเว้นแต่การถ่ายโอนตามมรดกให้กับทายาท ที่ยังมีเงื่อนไขอีกหลายประการ) ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ยกเว้นกับ ธกส.) และการเปลี่ยนพื้นที่ทำกินและเปลี่ยนอาชีพของพี่น้องเกษตรกร - ในทางปฏิบัติ ข้อจำกัดดังกล่าวที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ที่ดิน ส.ป.ก. เปลี่ยนมือ กลับกลายเป็นกลไกที่เปิดช่องให้นายทุนบางรายเข้ามารวบรวมที่ดิน ส.ป.ก. จากเกษตรกรได้ในราคาถูกนอกกระบวนการกฎหมาย เนื่องจากเกษตรกรไม่มีทางเลือกในการขายที่ดินในราคาที่เหมาะสมผ่านกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย


ทั้งหมดนี้ยังสะท้อนและซ้ำเติมถึงปัญหาในภาพรวมของประเทศเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในการครอบครองที่ดิน โดย 80% ของที่ดินทั้งหมดกระจุกอยู่ที่คนที่รวยที่สุด 5% ในขณะที่ 75% ของคนไทย ไม่มีที่ดินของตนเอง


หากต้องการจะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร การรับประกันความมั่นคงในที่ดินทำกิน จึงเป็นกระดุมเม็ดแรกและจุดเริ่มต้นที่สำคัญ


ข้อเสนอ

เร่งเปลี่ยนที่ดินนิคมสหกรณ์ทุกแห่งทั่วประเทศ เป็นเอกสารสิทธิ์หรือโฉนดให้เกษตรกรและประชาชนทันที


“ค่าไฟแฟร์” ถูกและเป็นธรรมสำหรับประชาชน


ส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาพลังงานสูงเพราะนโยบายของรัฐบาลในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา มีการอนุมัติสัมปทานโรงไฟฟ้าให้กับทุนใหญ่พลังงานเป็นจำนวนมาก สุดท้ายกลายเป็นประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่าความต้องการใช้ไปแล้วถึง 60%


สิ้นปีที่ผ่านมาโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ของประเทศไทยมี 13 โรง ไม่ได้เดินเครื่องเลยแม้แต่วันเดียว 7 โรง แต่กลายเป็นว่าประชาชนยังต้องจ่ายเงินค่าบริการให้กับกลุ่มทุนพลังงานที่ไม่ได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเลยเหล่านี้ เพราะรัฐบาลไปทำสัญญาประกันกำไรให้กับกลุ่มทุนพลังงาน สุดท้าย ประชาชนจึงต้องแบกภาระค่าความพร้อมจ่าย หรือค่ามีโรงไฟฟ้าเกินความต้องการนั่นเอง


ข้อเสนอ

ลดค่าไฟให้กับประชาชนได้อย่างน้อย 70 สตางค์/หน่วย (เฉลี่ยบ้านละ 150 บาท) โดยปรับนโยบายเพื่อให้ความสำคัญกับประชาชนก่อนกลุ่มทุน (เช่น การเปลี่ยนนโยบายก๊าซธรรมชาติให้โรงแยกก๊าซร่วมหารต้นทุนก๊าซใน Energy Pool ด้วย และให้ก๊าซจากอ่าวไทยขายให้โรงไฟฟ้าก่อนโรงงานอุตสาหกรรม หรือขายก๊าซให้โรงงานอุตสาหกรรมในราคา LNG เพื่อให้ก๊าซจากอ่าวไทยราคาถูกกว่าป้อนโรงไฟฟ้าได้มากขึ้น)

เจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับสัมปทานทุนใหญ่พลังงานใหม่ เพื่อลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้เดินเครื่อง


“หลังคาสร้างรายได้” เปิดเสรีโซลาร์เซลล์ ประกันราคาซื้อพลังงานสะอาดสำหรับครัวเรือน



ปัจจุบัน หลายๆ ประเทศตั้งเป้าและเอาจริงเอาจังกับการเดินหน้ามุ่งสู่สังคมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือ Net Zero Emission แต่การตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรัฐบาลไทยในปี 2030 ไว้ที่ 333 ล้านตัน CO2 ในปี 2030 เท่ากับว่า จริงๆ แล้วการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงเพียง 10% เมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยในปี 2018 (373 ล้านตัน CO2 ในปี 2018) เท่านั้น


พรรคก้าวไกลจึงเสนอให้ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายกว่านั้น โดยตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 ที่ 300 ล้านตัน CO2 หรือเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 19.5% เมื่อเทียบกับการปล่อยในปี 2018 แทนที่จะเป็น 10% อย่างที่รัฐบาลไทยเสนอ


การตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 73 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ จะมาจากการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก ด้วยการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน การยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินให้เร็วขึ้น ตามมาด้วยการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและขนส่งสาธารณะให้เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และการจัดการของเสีย ตามลำดับ โดยการดำเนินการทั้งหมดจะต้องยึดหลักการที่จะให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวอย่างกว้างขวางที่สุด และร่วมได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านของระบบพลังงานนี้อย่างเป็นรูปธรรม หรือที่เรียกว่า Just Energy Transition การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานที่เป็นธรรม


ข้อเสนอ

ปลดล็อกให้ประชาชนทุกบ้านติดแผงโซลาร์ ด้วยระบบ net metering (หักลบหน่วยขาย/ซื้อ) เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้า และเปิดโอกาสให้ขายไฟฟ้าที่ผลิตเกินใช้ กลับคืนให้รัฐในราคาตลาด

เพิ่มแต้มต่อให้ประชาชนผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยการสนับสนุนให้เกิดการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกิน (จากระบบ net metering) จากโซลาร์เซลล์และพลังงานหมุนเวียนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย ในราคาที่สูงกว่าตลาด และประกันราคารับซื้อไฟฟ้าขั้นต่ำ หากยังไม่มีตลาดที่ 2.2 บาท/หน่วย


ลดรายจ่าย SME: หักค่าใช้จ่ายเหมาภาษี เพิ่มจาก 60% เป็น 90%


SMEs ถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ เพราะโดยธรรมชาติยิ่งระบบเศรษฐกิจไหนมี SMEs จำนวนมาก ย่อมหมายถึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูง และการแข่งขันนี้จะทำให้เกิด นวัตกรรม สินค้าและบริการใหม่ๆ ทำให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสเลือกสินค้า และบริการที่ดีที่สุด และเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจภาพใหญ่


นอกจากนี้ SMEs ยังสัมพันธ์กับชีวิตของคนจำนวนมากในประเทศ โดยผู้ประกอบการ SME มีประมาณ 3 ล้านคน และจ้างงานสูงถึง 12.7 ล้านคน ซึ่งหากนับครัวเรือนที่เกี่ยวข้องก็หมายความว่า SME เกี่ยวข้องชีวิตของกว่าครึ่งของประเทศ ดังนั้นหาก SMEs เติบโต แปลว่าค่าตอบแทน โบนัส ค่าล่วงเวลาของลูกจ้างก็ต้องสูงขึ้น นั้นหมายถึงคุณภาพชีวิตของคนจำนวนมากก็ย่อมดีขึ้นเช่นกัน


แต่ปัจจุบัน SMEs ไทย มีสัดส่วน GDP เพียงแค่ 34 % ของประเทศไทยเท่านั้น และธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยธุรกิจระดับเล็กที่ยังแข่งขันไม่ได้ โดยมีธุรกิจ SME จำนวนเพียง 1.4 % เท่านั้นที่เป็น SMEs ขนาดกลางได้ แต่ต้องเจอต้นทุนในการทำธุรกิจ เช่น อัตราภาษีนิติบุคคลที่เท่ากับธุรกิจขนาดใหญ่


นโยบาย SMEs จึงจำเป็นมุ่งยกระดับ SMEs และช่วยแต้มต่อให้สามารถแข่งขันกับทุนใหญ่ได้ เพราะการพัฒนา SMEs ไม่ใช่แค่เพียงการยกระดับภาคธุรกิจหนึ่งเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนจำนวนมากให้ดีขึ้น


ข้อเสนอ

เปิดให้ SMEs หักค่าใช้จ่ายเหมาภาษีบุคคลได้เพิ่มเป็น 90% (จากเดิม 60%)


เพิ่มแต้มต่อให้ SME: หวยใบเสร็จ ซื้อของร้านค้ารายย่อย ทั้งคนซื้อคนขายได้หวย ลุ้นรวยเงินล้าน


SMEs ถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ เพราะโดยธรรมชาติยิ่งระบบเศรษฐกิจไหนมี SMEs จำนวนมาก ย่อมหมายถึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูง และการแข่งขันนี้จะทำให้เกิด นวัตกรรม สินค้าและบริการใหม่ๆ ทำให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสเลือกสินค้า และบริการที่ดีที่สุด และเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจภาพใหญ่


นอกจากนี้ SMEs ยังสัมพันธ์กับชีวิตของคนจำนวนมากในประเทศ โดยผู้ประกอบการ SME มีประมาณ 3 ล้านคน และจ้างงานสูงถึง 12.7 ล้านคน ซึ่งหากนับครัวเรือนที่เกี่ยวข้องก็หมายความว่า SME เกี่ยวข้องชีวิตของกว่าครึ่งของประเทศ ดังนั้นหาก SMEs เติบโต แปลว่าค่าตอบแทน โบนัส ค่าล่วงเวลาของลูกจ้างก็ต้องสูงขึ้น นั้นหมายถึงคุณภาพชีวิตของคนจำนวนมากก็ย่อมดีขึ้นเช่นกัน


แต่ปัจจุบัน SMEs ไทย มีสัดส่วน GDP เพียงแค่ 34 % ของประเทศไทยเท่านั้น และธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยธุรกิจระดับเล็กที่ยังแข่งขันไม่ได้ โดยมีธุรกิจ SME จำนวนเพียง 1.4 % เท่านั้นที่เป็น SMEs ขนาดกลางได้ แต่ต้องเจอต้นทุนในการทำธุรกิจ เช่น อัตราภาษีนิติบุคคลที่เท่ากับธุรกิจขนาดใหญ่


นโยบาย SMEs จึงจำเป็นมุ่งยกระดับ SMEs และช่วยแต้มต่อให้สามารถแข่งขันกับทุนใหญ่ได้ เพราะการพัฒนา SMEs ไม่ใช่แค่เพียงการยกระดับภาคธุรกิจหนึ่งเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนจำนวนมากให้ดีขึ้น


ข้อเสนอ

เพิ่มลูกค้าให้ SMEs โดยการเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนที่เลือกซื้อสินค้า SME ได้รับแถมสลากกินแบ่งของรัฐบาลไปลุ้นรางวัล

สำหรับคนซื้อ หรือ ประชาชนทั่วไป: เมื่อซื้อสินค้าจาก SMEs ครบ 500 บาท สามารถแลกสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ 1 ใบ (จำกัดไม่เกิน 2 ใบ/คน/เดือน และ จำนวน 10 ล้านคน/เดือน)

เพิ่มโอกาสลุ้นหวยให้ SMEs โดยการนำยอดขายมาแลกเป็นสลากกินแบ่งของรัฐบาลได้ด้วย

สำหรับคนขาย หรือ ผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ: เมื่อขายสินค้าครบ 5,000 บาท สามารถแลกสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ 1 ใบ




ที่มา  : TNNOnline รวบรวม 




ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง