TNN online เลือกตั้ง 2566 รวมสูตรคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 2566

TNN ONLINE

เลือกตั้ง2566

เลือกตั้ง 2566 รวมสูตรคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 2566

เลือกตั้ง 2566  รวมสูตรคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 2566

พาไปดูการคำนวณส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สำหรับการเลือกตั้งปี 2566 ครั้งนี้ใช้ สูตรคำนวณ แบบคู่ขนาน หรือที่เราเรียกกันว่าแบบหาร 100 ซึ่งแตกต่างจากครั้งที่แล้ว ที่ใช้สูตรหาร 500

การเลือกตั้งปี 2566  ใช้สูตรการคำนวณส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่แตกต่างจากการเลือกตั้งปี  2562  โดยที่การเลือกตั้งปี 2562 กาบัตรใบเดียว เลือก ส.ส.เขต แต่ได้ส.ส.บัญชีรายชื่อ คะแนนจะส่งผลต่อพรรคการเมือง   หรือที่เรียกกันว่า รูปแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ MMA


แต่ปีนี้ 2566 จะใช้บัตร 2 ใบ ในการเลือกตั้งจะแยก ส.ส.เขต กับ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ออกจากกัน 

โดยใบแรกจะให้ประชาชนเลือก ส.ส.ในเขตของตนเอง ส่วนอีกใบจะให้เลือกพรรคการเมือง ซึ่งใบนี้ จะเป็นตัวแปรในการคำนวณจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ


ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในกฎหมายเลือกตั้ง เรียกว่าระบบ Mixed Member Majoritarian () หรือ MMM หรือระบบที่เรียกว่า ระบบคู่ขนาน 


ซึ่งภาพรวม จะมีส.ส.ทั้งสิ้น 500 คน แบ่งเป็น ส.ส.เขต 400 คน จากเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ 400 เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน  ในส่วนของ ส.ส.เขต 400 คน ไม่ได้เป็นปัญหา เพราะประชาชนต่างคุ้นชิน กับการเลือกผู้สมัครที่ตนเองชื่นชอบ  


ส่วนวิธีการคำนวณหาจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 100 คนนั้น มาจากการนำคะแนนเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองจากบัตรสีเขียว  มาหารด้วย 100 แล้วถึงคำนวณหาจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคจะได้ตามสัดส่วนคะแนน 


ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ได้ หากจำนวน ส.บัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคได้รับ รวมกันไม่ครบ 100 คน กฎหมายเลือกตั้งระบุไว้ว่า ให้พรรคการเมืองที่มีผลลัพธ์ที่เป็นเศษ โดยไม่มีจำนวนเต็ม และ พรรคการเมืองที่มีเศษหลังการคำนวณ 


พรรคไหนมีเศษจำนวนมากที่สุด ให้ได้รับจำนวน สส.บัญชีรายชื่อ อีก 1 คน เรียงตามลำดับ จนกว่าจะมีจำนวน สส.บัญชีรายชื่อ รวมกันครบ 100 คน


แต่หากมีเศษเท่ากัน และจะทำให้จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเกินจำนวน 100 คน ให้ตัวแทนของพรรคการเมืองที่มีเศษเท่ากัน จับสลากตามวันและเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. กำหนด เพื่อให้ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายซื่อครบจำนวน  เป็นไปตามมาตรา 83 วรรคสี่ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564


ยกตัวอย่างเช่น คะแนนเสียงของทุกพรรครวมกัน 40 ล้านคะแนน 

คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส.หนึ่งคน เท่ากับ 40 ล้าน หารด้วย 100 = 400,000 คะแนน


ดังนั้นหากพรรค Q ได้คะแนนเสียงจำนวน 10 ล้านคะแนน พรรค Q จะมี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เท่ากับ 10 ล้าน หารด้วย 400,000 = 25 คน ซึ่งแปลว่าพรรค Q ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 25 คน


ซึ่งต้องยอมรับว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ สูตรหาร 100 หมายเลขผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขต จะตรงหรือไม่ตรงกับหมายเลขของพรรคการเมืองที่ผู้สมัครสังกัด 


แต่มีจุดเด่นทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่แข็งแกร่ง เพราะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อมาช่วยเสริมทัพ โดยไม่มีจำนวน ส.ส.พึงมี มาเป็นข้อจำกัด


ซึ่งอีกไม่กี่อึดใจ  เราก็จะได้ทราบผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ว่าใครจะเป็นผู้ครองใจประชาชนในแต่ละเขต และพรรคการเมืองใด จะรับความไว้วางใจจากประชาชนสูงสุด  เพื่อช่วงชิงเก้าอี้ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และเดินหน้าเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เลือกนายกฯรัฐมนตรี เดินหน้าประเทศต่อในปี 2566 


รัชนี ผันนะทัย TNN ช่อง 16 รายงาน

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง