TNN ศูนย์อสังหาฯ ชี้คนไทยซื้อที่อยู่อาศัยยากขึ้น รายได้โตไม่ทันราคาบ้าน

TNN

เศรษฐกิจ

ศูนย์อสังหาฯ ชี้คนไทยซื้อที่อยู่อาศัยยากขึ้น รายได้โตไม่ทันราคาบ้าน

ศูนย์อสังหาฯ ชี้คนไทยซื้อที่อยู่อาศัยยากขึ้น รายได้โตไม่ทันราคาบ้าน

ศูนย์อสังหาฯ เผยคนไทยซื้อที่อยู่อาศัยยากขึ้น รายได้โตไม่ทันราคาบ้าน ลุ้นกำลังซื้อต่างชาติ ตัวช่วยกระตุ้นตลาดคอนโดฯ

นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยข้อมูลตลาดที่อยู่อาศัย ในงานเสวนา “กรุงเทพจตุรทิศ : Property เจอหนี้ 10 ปี อสังหาฯ ไทยกลับไปไม่เหมือนเดิม”  ว่า ช่วง 30 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตฟองสบู่แตกปี 2540 ตลาดที่อยู่อาศัยอยู่ในยุครุ่งเรือง มีบ้านและคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จจดทะเบียนในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลสูงถึงปีละ 150,000 - 170,000 ยูนิต 


ในช่วง 5 ปีหลัง (2542 - 2546) กลับมาอยู่ในระดับ 106,969 ยูนิต ก่อนช่วงวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 จะลดลงมาอยู่ที่ 80,000 ยูนิตต่อปี


ส่วนบ้านสร้างเสร็จจดทะเบียนในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลช่วง 10 ปีหลัง ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป มีบ้านสร้างเสร็จจดทะเบียนเฉลี่ย 134,000 ยูนิตต่อปี โดยช่วงปี 2564-2566 มีบ้านสร้างเสร็จจดทะเบียนอยู่ที่ 99,000 ยูนิต 


ทั้งนี้ได้รับปัจจัยกระทบจากมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ที่ประกาศใช้เมื่อปี 2562 และช่วงปี 2563-2564 เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 เศรษฐกิจยังขาลง ทำในปีนี้คาดว่าจะมีบ้านสร้างเสร็จจดทะเบียน 100,000 ยูนิตเท่านั้น


ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าสูงกว่า 500,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนปี 2567 นี้ประเมินว่า มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศจะอยู่ที่ 650,000 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4 จากปีก่อนหน้า 


ราคาที่อยู่อาศัยเฉลี่ยเทียบกับผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (GPP per Capita) ในพื้นที่กรุงเทพฯ - ปริมณฑล ปี 2557 - 2566 ของราคาที่อยู่อาศัยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.4 ส่วนรายได้ต่อหัวของประชากรปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 347,900 บาท หรือเดือนละ 30,000 บาท แต่ราคาบ้านอยู่ที่ 7 ล้านบาท 


ทำให้โอกาสยื่นกู้ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเป็นไปได้ยาก ทำให้คนทั่วไปซื้อบ้านอยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ เพราะราคาบ้านสูงเกินกว่าความสามารถในการหารายได้ของประชาชน 


อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสใหม่ ๆ จากความต้องการของผู้ซื้อชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้อที่อยู่อาศัยในเมืองไทยมากขึ้น โดยในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 13.6 



ภาพจาก:  AFP 


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง