TNN “แมลงก้นกระดก” สัตว์มีพิษร้าย ปลายฤดูฝน

TNN

Earth

“แมลงก้นกระดก” สัตว์มีพิษร้าย ปลายฤดูฝน

“แมลงก้นกระดก” สัตว์มีพิษร้าย ปลายฤดูฝน

ช่วงปลายฤดูฝน ฝนตกชุกหนาแน่นในหลายพื้นที่ ต้องระวังสัตว์มีพิษต่างๆเป็นพิเศษ หนึ่งในนั้นคือ แมลงก้นกระดก


สำหรับแมลงก้นกระดก หรือด้วงก้นกระดก พบมากช่วงปลายฤดูฝน เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 7-9 มม. หัวสีดำ ท้องสีส้ม ปล้องสุดท้ายของท้องจะมีสีดำ ส่วนตรงช่วงก้นจะกระดกขึ้นมา ชอบอาศัยบริเวณพงหญ้าอับชื้น และมักชอบออกมาเล่นไฟหรือแสงสว่างตามบ้านเรือนช่วงฤดูฝน


แมลงชนิดนี้สามารถปล่อยสารพีเดอริน ซึ่งก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง ส่วนอาการเมื่อสัมผัสแมลงก้นกระดกนั้น แผลจะไม่เกิดขึ้นทันที ต้องรอสักระยะประมาณ 8-12 ชั่วโมง ถึงจะเห็นรอยแดง และอาจจะเกิดตุ่มน้ำพองตามมา จากนั้นผิวหนังจะระคายเคือง ไหม้ แสบร้อน เพราะสารพีเดอรินนั้นสามารถทำลายเนื้อเยื่อผิวหนังเราได้แผลจะมีลักษณะคล้ายเป็นรอยไหม้ หากเกิดเป็นบริเวณกว้างอาจมีไข้ ปวดศีรษะ อาเจียน ถ้าโดนที่ตาอาจถึงขั้นทำให้ตาบอดได้เลยทีเดียว

 

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ควรล้างด้วยน้ำสบู่หลายๆครั้ง ประคบผิวด้วยผ้าชุบน้ำเย็น แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ทันที


สำหรับแมลงก้นกระดกนี้ แม้จะตัวเล็กนิดเดียว แต่พิษร้ายแรงมาก ดังนั้นช่วงฝนชุกแบบนี้ ต้องสังเกตให้ดี ถ้าเห็นแมลงชนิดนี้ ไม่ควรโดนหรือสัมผัสตัวแมลงเด็ดขาด แต่หากบังเอิญโดน ให้เป่ามันหรือใช้อุปกรณ์ช่วยเพื่อจะได้ปลอดภัยจากพิษของมัน

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง