22 ก.ย. “วันศารทวิษุวัต” กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน
“วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายนจะถือเป็น วันศารทวิษุวัต วันแห่งการเปลี่ยนฤดูกาล สำหรับซีกโลกเหนือจะเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง และสำหรับซีกโลกใต้จะเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิอย่างเป็นทางการ”
- วันศารทวิษุวัต จะเป็นวันที่ดวงอาทิตย์โคจรมาตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับทิศตะวันออก และตกตรงกับทิศตะวันตกแบบพอดี จึงเป็นวันที่ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน
- ซึ่งใน 1 ปี จะมีวันที่ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันอยู่ 2 ครั้ง ครั้งแรกคือวันวสันตวิษุวัต ซึ่งก็คือวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคม เป็นวันที่ซีกโลกเหนือจะเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิและซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง และอีกวันคือวันศารทวิษุวัต ซึ่งก็คือวันที่ 22 หรือ 23 กันยายน เป็นวันที่ซีกโลกเหนือจะเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง และซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
- ซึ่งฤดูกาลก็เกิดจากการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์นั่นเอง เพราะหลังจากเดือนกันยายนเป็นต้นไป ดวงอาทิตย์ก็จะค่อย ๆ เคลื่อนที่จากจุดตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกไปเรื่อย ๆ เมื่อมาถึงจุดที่โลกหันซีกโลกใต้เข้าหาดวงอาทิตย์มากที่สุดในช่วงเวลานี้เรียกว่าวันเหมายัน เกิดขึ้น ในช่วงวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคม ซึ่งจะเป็นวันที่ซีกโลกเหนือเข้าสู่ฤดูหนาว ในขณะที่ฝั่งซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูร้อน และในทางกลับกัน เมื่อโลกโคจรโดยเอียงซีกโลกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์มากที่สุด จะเป็นวันครีษมายัน เกิดขึ้นในวันที่ 20 หรือ 21 มิถุนายนของทุกปีจะเป็นวันที่ซีกโลกเหนือเข้าสู่ฤดูร้อน ในขณะที่ฝั่งซีกโลกใต้เข้าสู่หนาว
- และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของฤดูกาล หมุนวนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ซึ่งหลัก ๆ เกิดขึ้นจากพื้นที่ของโลกได้รับปริมาณแสงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ทำให้อุณหภูมิต่างกัน เลยเกิดเป็นฤดูกาลขึ้น
ข่าวแนะนำ