16 ก.ย. "วันโอโซนโลก" ตัวการสำคัญพิทักษ์รังสียูวีให้โลก
“วันโอโซนโลก” เพื่อกระตุ้นให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญา ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และช่วยกันลดใช้สาร CFCs และสารฮาลอน ซึ่งเป็นตัวทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ
วันที่ 16 กันยายนของทุกปี กำหนดเป็น “วันโอโซนโลก” ซึ่งถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2530 โดยนานาประเทศได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี พ.ศ. 2528 เรียกว่า “อนุสัญญาเวียนนา และพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน” และจัดให้ลงนามใน “พิธีสารมอนทรีออล” ขึ้นในวันที่ 16 กันยายน 2530
ส่วนประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้วันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน วันที่ 7 กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยวันที่ 2 ตุลาคม 2532 การกำหนดวันโอโซนโลกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญา ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และช่วยกันลดใช้สาร CFCs และสารฮาลอน ซึ่งเป็นตัวทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ
“โอโซน” (Ozone หรือ O3) เป็นก๊าซที่เกิดจากการแตกตัวของก๊าซออกซิเจนในชั้นบรรยากาศออกเป็นสองอะตอม แล้วอะตอมดังกล่าวนั้นได้รวมตัวกับออกซิเจนโมเลกุลอื่น ซึ่งก๊าซโอโซนมีความสามารถในการดูดซึมรังสีอัลตราไวโอเลต และรังสีไวโอเลตก็สามารถทำให้โอโซนแตกตัวกลับเป็นอะตอมและโมเลกุลของออกซิเจนเหมือนดังเดิม
ตามปกติโอโซนเป็นก๊าซไม่คงตัวจึงจะทําปฎิกิริยากับสิ่งต่างๆ เช่น ควัน ต้นไม้ เป็นต้น และกลายเป็นก๊าซออกซิเจนธรรมดาก่อนลงมาถึงพื้นโลก อย่างไรก็ตามระดับของก๊าซโอโซนจะเปลี่ยนแปลงไปตามวัน เวลา และสถานที่ นอกจากนั้นยังมีความสัมพันธ์กับการหมุนเวียนของลม และสภาพภูมิอากาศอื่นๆ อีกด้วย
โอโซนระดับสูงจะเป็นโล่ป้องกันให้พืชและสัตว์พ้นจากอันตรายของรังสี UV และช่วยให้อากาศของพื้นโลกเสถียร ถ้าหากโมเลกุลของโอโซนถูกทำลายไปจำนวนหนึ่งก็จะทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถเข้ามาถึงพื้นผิวของโลกได้มากยิ่งขึ้น เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน และเป็นอันตรายต่อมนุษย์เช่น มะเร็งผิวหนัง ต้อเนื้อต้อลม พืชแคระแกรน วัสดุต่าง ๆ เปราะและหักพังเร็วขึ้น
โอโซนจะถูกทำลายได้ด้วยสารทําลายโอโซน ได้แกสารพวกฮาโลคาร์บอน (Halocarbon) คือสารที่มีส่วนประกอบของธาตุคลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) โบรมีน (Br) คาร์บอน (C) และไฮโดรเจน (H) ซึ่งเป็นคํารวมที่เรียกสารทาลายโอโซนส่วนมาก เช่น คลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือซีเอฟซี (Chlorofluorocarbon, CFCs) ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องทําความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โฟม กระป๋องสเปรย์ สารดับเพลิง สารชะล้าง คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) มักใช้เป็นตัวทําละลายในห้องปฏิบัติการ การผลิตยาเม็ด และใช้ทดสอบการดูดซึมของถ่านกัมมันตรังสี เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมกันหยุดผลิตสารทำลายโอโซนที่กล่าวมานี้ ยกเว้นในกรณีที่จำเป็น และในอุตสาหกรรมได้พยายามผลิตสารที่เป็นมิตรกับโอโซน (Ozone-Friendly) ตามพิธีสารมอนทรีออลซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน และค่อยๆ ฟื้นฟูปริมาณโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ให้เพิ่มขึ้น โดยคาดการว่าปริมาณโอโซนจะกลับเข้าสู่ระดับปกติในปี ค.ศ. 2070
ภาพ: ENVATO
ข่าวแนะนำ