สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประกาศเตือนพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 44 จังหวัด ในช่วงวันที่ 15-20 ก.ค.นี้
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน ช่วงวันที่ 15 – 20 กรกฎาคม 2567 ดังนี้
1. ภาคเหนือ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
ปางมะผ้า ปาย ขุนยวม แม่ลาน้อย แม่สะเรียง และสบเมย)
จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก ท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด พบพระ และอุ้มผาง)
จังหวัดสุโขทัย (อำเภอศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม และศรีสำโรง)
จังหวัดพะเยา (อำเภอเมืองพะเยา เชียงคำ ปง และเชียงม่วน)
จังหวัดน่าน (อำเภอเมืองน่าน ทุ่งช้าง ปัว ท่าวังผา แม่จริม และเวียงสา)
จังหวัดแพร่ (อำเภอเมืองแพร่ สอง ร้องกวาง สูงเม่น และเด่นชัย)
จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ฟากท่า และท่าปลา)
จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ นครไทย วังทอง และเนินมะปราง)
จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ หล่มเก่า เขาค้อ และหล่มสัก)
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดเลย (อำเภอนาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย และปากชม)
จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ และโพนพิสัย)
จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอบุ่งคล้า โซ่พิสัย เซกา และบึงโขงหลง)
จังหวัดหนองบัวลำภู (อำเภอเมืองหนองบัวลำภู ศรีบุญเรือง และโนนสัง)
จังหวัดอุดรธานี (อำเภอนายูง และน้ำโสม)
จังหวัดสกลนคร (อำเภอเมืองสกลนคร และอากาศอำนวย)
จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม ศรีสงคราม และธาตุพนม)
จังหวัดชัยภูมิ (เมืองชัยภูมิ บ้านเขว้า จัตุรัส และคอนสวรรค์)
จังหวัดขอนแก่น (อำเภอเมืองขอนแก่น)
จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอเมืองนครราชสีมา เมืองยาง ลำทะเมนชัย และพิมาย)
จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และกมลาไสย)
จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอเมืองมุกดาหาร และนิคมคำสร้อย)
จังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคาม และโกสุมพิสัย)
จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เสลภูมิ ทุ่งเขาหลวง และเกษตรวิสัย)
จังหวัดยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ป่าติ้ว และคำเขื่อนแก้ว)
จังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอเมืองอำนาจเจริญ และหัวตะพาน)
จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์ ชุมพลบุรี ท่าตูม รัตนบุรี จอมพระ สนม โนนนารายณ์ และศีขรภูมิ)
จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอราษีไศล และยางชุมน้อย)
จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอน้ำยืน และศรีเมืองใหม่)
3. ภาคตะวันออก
จังหวัดนครนายก (อำเภอเมืองนครนายก และบ้านนา)
จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอเมืองปราจีนบุรี ประจันตคาม และนาดี)
จังหวัดสระแก้ว (อำเภอเมืองสระแก้ว วัฒนานคร โคกสูง และอรัญประเทศ)
จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี และศรีราชา)
จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง ปลวกแดง นิคมพัฒนา และแกลง)
จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี เขาคิชฌกูฏ มะขาม ขลุง และแหลมสิงห์)
จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เขาสมิง แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะช้าง และเกาะกูด)
4. ภาคใต้
จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ)
จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง และท้ายเหมือง)
จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
จังหวัดกระบี่ (อำเภอเขาพนม)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอเมืองพุนพิน เคียนซา บ้านนาเดิม บ้านนาสาร และเวียงสระ)
จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง ปะเหลียน นาโยง กันตัง ห้วยยอด หาดสำราญ รัษฎา และวังวิเศษ)
จังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า และมะนัง)
จังหวัดยะลา (อำเภอยะหา และรามัน)
จังหวัดนราธิวาส (อำเภอเจาะไอร้อง สุไหงปาดี สุไหงโก-ลก และแว้ง)
5. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จังหวัดน่าน พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย เลย สกลนคร อุดรธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา ตราด และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก ที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบบริเวณท้ายเขื่อนน้อยที่สุด
ที่มา: สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ