TNN online เผย 4 ปัจจัยหลักที่ทำให้โลก ก้าวเข้าสู่ “ภาวะโลกเดือด”

TNN ONLINE

Earth

เผย 4 ปัจจัยหลักที่ทำให้โลก ก้าวเข้าสู่ “ภาวะโลกเดือด”

เผย 4 ปัจจัยหลักที่ทำให้โลก  ก้าวเข้าสู่ “ภาวะโลกเดือด”

Disaster Warning: “ดร.เสรี” เผย 4 ปัจจัยหลักที่ทำให้โลกก้าวเข้าสู่ “ภาวะโลกเดือด” แนะไทยต้องเร่งปรับตัว

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต โพตส์ข้อความผ่าน Facebook รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ โดยระบุว่า หลังจากที่ UN ได้ออกมาเตือนว่า “ภาวะโลกร้อน” ได้สิ้นสุดลงแล้ว และกำลังย่างก้าวเข้าสู่ “ภาวะโลกเดือด” โดยเลขาธิการสหประชาชาติ ได้พยายามเน้นย้ำความร่วมมือของโลกในการลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก โดยการใช้วลีเด็ดๆสร้างความตระหนักถึงภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น และมันก็เกิดขึ้นแล้ว เช่น รหัสแดงต่อมวลมนุษยชาติ Code red for humanity แผนที่ความทุกข์ยากของมนุษย์ Atlas of human suffering บทสวดสัญญาสภาพอากาศที่แตกสลาย A litany of broken promises ถนนสู่นรกสภาพภูมิอากาศ A highway to climate hell และล่าสุด โลกกำลังเดือด A global boiling


สำหรับปัจจัยที่ทำให้ปี 65 มีอุณหภูมิสูงกว่าอดีต 1,000-10,000 ปี มาจาก 4 ปัจจัยหลักคือ 

1. การกระทำของมนุษย์จากการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.2 องศาฯ

2. ปรากฎการณ์ El Nino ที่รุนแรง ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีก 0.2-0.3 องศาฯ

3. เป็นช่วงเวลาการปลดปล่อยพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 0.05 องศาฯ

4. การระเบิดของภูเขาไฟ Tonga-Hunga ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 0.035 องศาฯ


ดังนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ยโดยรวมของโลกจึงแตะประมาณ 1.5 ± 0.2 องศาฯ ในเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นขีดจำกัดตามข้อตกลงปารีส 2015 ที่จะควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาฯ ในปี ค.ศ. 2100 แต่มันได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งไม่ได้หมายความว่าอุณหภูมิจะยืนหรือสูงกว่านี้ในระยะสั้น ขึ้นกับสภาพอากาศแปนปรวนในแต่ละปี อย่างไรก็ตามมันได้สร้างความรุนแรง และความเสียหายบนโลกใบนี้ เช่นเหตุการณ์คลื่นความร้อนในเอเชีย อเมริกา ยุโรป และแอฟริกา น้ำท่วมใหญ่ในอินเดีย เกาหลีใต้ จีน ฟิลิปปินส์ เป็นต้น 


ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ IPCC ที่ได้ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในการประเมิน และเขียนรายงานฉบับล่าสุด (IPCC AR6-2022) จึงได้แนะนำไปยังหลายประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยโดยต้องให้ความสำคัญกับมาตรการการปรับตัว (Adaptation) เนื่องจากผลกระทบกับเราได้เกิดขึ้นแล้ว และจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นในอนาคต ดังคำกล่าวที่ว่า “โลกกำลังป่วย ไทยกำลังเปื่อย” ดังนั้นเราจึงต้องมีรัฐบาล (ที่ไม่ใช่รักษาการณ์) เข้ามากำหนดนโยบายด้าน Adaptation อย่างเป็นรูปธรรม


ที่มา: รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์




_____

ติดตามข่าวสภาพอากาศ และเช็คจุดฝนตกน้ำท่วมถนนรถติดผ่าน TNN EARTH

Website : https://bit.ly/3MXvq5I

Youtube :https://bit.ly/3MZUVmK

TikTok :https://bit.ly/3naJL4p

Facebook :https://bit.ly/3bxVMy0

Line :https://lin.ee/rPHmFpD

Instagram: https://bit.ly/3PDLpuJ

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง