TNN online คาดหมายอากาศรายภาค "ฤดูฝน 2566" เดือนไหนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วม

TNN ONLINE

Earth

คาดหมายอากาศรายภาค "ฤดูฝน 2566" เดือนไหนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วม

คาดหมายอากาศรายภาค ฤดูฝน 2566 เดือนไหนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วม

ฤดูร้อน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายคาดหมายลักษณะอากาศ แต่ละภาคมีปริมาณฝนเท่าไหร่ ช่วงเดือนไหนต้องระวังฝนชุก

ฤดูร้อน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายคาดหมายลักษณะอากาศ แต่ละภาคมีปริมาณฝนเท่าไหร่ ช่วงเดือนไหนต้องระวังฝนชุก


ฤดูร้อน 2566 หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2566 โดยคาดว่าปีนี้ จะเริ่มประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งช้ากว่าปกติเล็กน้อย และจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2566 


โดยปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศ ในช่วงฤดูฝนปีนี้จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 5 และจะน้อยกว่าปีที่แล้ว (ปีที่แล้ว ในช่วงฤดูฝนปริมาณฝนรวมมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 14 และปริมาณฝนรวมทั้งปีมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ร้อยละ 24)  โดยทั้งในช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน (ตั้งแต่วันเริ่มต้นถึงเดือนกรกฎาคม) และช่วงครึ่งหลังฤดูฝน (เดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนตุลาคม) ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณร้อยละ 5


อนึ่ง ช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย ซึ่งจะท้าให้เกิดการขาดแคลนน้้าในด้านการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้้าซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรใช้น้้าเพื่อประโยชน์สูงสุด


ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายนและตุลาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ และก่อให้เกิดสภาวะน้้าท่วมฉับพลัน น้้าป่าไหลหลาก รวมทั้งน้้าล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่


คาดหมายอากาศรายภาค ฤดูฝน 2566 เดือนไหนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วม

 



คาดหมายรายละเอียดตามภาคต่างๆ


ภาคเหนือ เดือนพฤษภาคม กรกฎาคมและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ173, 189 และ 117 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนมิถุนายน ปริมาณฝนรวมน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 10 (ค่าปกติ 153 มิลลิเมตร) สำหรับเดือนสิงหาคมและกันยายน ปริมาณฝนรวมน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 237 และ 222 มิลลิเมตร ตามลำดับ)


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนพฤษภาคมและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 189 และ 105 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนมิถุนายน สิงหาคมและกันยายน ปริมาณฝนรวมน้อยกว่า ค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 198, 270 และ 253 มิลลิเมตร ตามลำดับ) สำหรับเดือนกรกฎาคม ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติร้อยละ 10 (ค่าปกติ 235 มิลลิเมตร)


ภาคกลาง เดือนพฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคมและกันยายน คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่า ค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 166, 151, 165, 186 และ 259 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนตุลาคม ปริมาณฝนรวม
จะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 183 มิลลิเมตร)


ภาคตะวันออก เดือนพฤษภาคม มิถุนายน สิงหาคม กันยายนและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 205, 259, 286, 352 และ 219 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนกรกฎาคม ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 289 มิลลิเมตร)


ภาคใต้ฝั่งตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) เดือนพฤษภาคมและกันยายน คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียง ค่าปกติ (ค่าปกติ 130 และ 147 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนมิถุนายน กรกฎาคมและสิงหาคม ปริมาณฝนรวม จะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 118, 119 และ 128 มิลลิเมตร ตามล าดับ) สำหรับเดือนตุลาคม ปริมาณฝน รวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 20 (ค่าปกติ 254 มิลลิเมตร)


ภาคใต้ฝั่งตะวันตก (ฝั่งทะเลอันดามัน) เดือนพฤษภาคม มิถุนายนและกรกฎาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวม จะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 301, 336 และ 349 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนสิงหาคมและกันยายน ปริมาณ ฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 419 และ 429 มิลลิเมตร ตามลำดับ) สำหรับเดือนตุลาคม ปริมาณฝน รวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 10 (ค่าปกติ 369 มิลลิเมตร)


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เดือนพฤษภาคม กันยายนและตุลาคม คาดว่า ปริมาณฝนรวมจะใกล้เคียงค่าปกติ (ค่าปกติ 207, 336 และ 289 มิลลิเมตร ตามลำดับ) ส่วนเดือนมิถุนายน กรกฎาคมและสิงหาคม ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 5 (ค่าปกติ 196, 183 และ 227 มิลลิเมตร ตามลำดับ)

ทั้งนี้ พายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชั่น โซนร้อนและไต้ฝุ่น) สำหรับในช่วงฤดูฝนปีนี้ คาดว่า จะมีพายุหมุนเขตร้อน เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 1-2 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ ภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน


คาดหมายอากาศรายภาค ฤดูฝน 2566 เดือนไหนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วม ภาพจาก กรมอุตุฯ

 

คาดหมายอากาศรายภาค ฤดูฝน 2566 เดือนไหนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วม ภาพจาก กรมอุตุฯ

 

คาดหมายอากาศรายภาค ฤดูฝน 2566 เดือนไหนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วม ภาพจาก กรมอุตุฯ

 



ข้อควรระวัง


1. บางช่วงจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันหลายวัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน จึงขอให้ประชาชนติดตามข่าวอากาศประจำวันอย่าง ใกล้ชิดต่อไปด้วย
2. ช่วงที่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าใกล้หรือเคลื่อนผ่านประเทศไทย จะมีลักษณะของพายุลมแรง ฝนตกเป็น บริเวณกว้าง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื นที่ส่วนบริเวณชายฝั่งจะมีคลื่นลมแรง ความสูงของคลื่นอาจ
สูงถึง 3-4 เมตรในบางช่วง จึงขอให้ประชาชนและชาวเรือระมัดระวังอันตรายจากภัยธรรมชาติและขอให้ติดตาม ข่าวอย่างใกล้ชิดในช่วงที่มีพายุหมุนเขตร้อนด้วย




ที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง