TNN online พายุกระหน่ำเข้าไทยทั้ง 2 ฝั่งมหาสมุทร กรมอุตุฯชี้แจงแล้วจริงหรือไม่?

TNN ONLINE

Earth

พายุกระหน่ำเข้าไทยทั้ง 2 ฝั่งมหาสมุทร กรมอุตุฯชี้แจงแล้วจริงหรือไม่?

พายุกระหน่ำเข้าไทยทั้ง 2 ฝั่งมหาสมุทร กรมอุตุฯชี้แจงแล้วจริงหรือไม่?

พายุกระหน่ำเข้าไทย 100% ทั้ง 2 ฝั่งมหาสมุทร เตรียมตัวเฝ้าระวังฝนตกทิ้งฤดู กรมอุตุนิยมวิทยาชี้แจงแล้วจริงหรือไม่?


พายุกระหน่ำเข้าไทย 100% ทั้ง 2 ฝั่งมหาสมุทร เตรียมตัวเฝ้าระวังฝนตกทิ้งฤดู กรมอุตุนิยมวิทยาชี้แจงแล้วจริงหรือไม่?  

ตามที่มีการเผยแพร่คลิปเตือนภัยเกี่ยวกับประเด็นเรื่องพายุกระหน่ำเข้าไทย 100% ทั้ง 2 ฝั่งมหาสมุทร เตรียมตัวเฝ้าระวังฝนตกทิ้งฤดู ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีผู้โพสต์คลิปให้ข้อมูลเตือนภัยโดยระบุว่า พายุกระหน่ำเข้าไทย 100% ทั้ง 2 ฝั่งมหาสมุทร เตรียมตัวเฝ้าระวังฝนตกทิ้งฤดู ทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข่าวปลอม ซึ่งมิได้มีที่มาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา 

โดยพยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 8 – 14 มี.ค. 66 สภาพอากาศในช่วงวันที่ 8 – 11 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกบางในตอนเช้ากับอากาศร้อนในตอนกลางวัน แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 14 มี.ค. 66 บริเวณกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ โดยมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ 

ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ดังนั้นขอประชาชนอย่าแชร์หรือส่งต่อข่าวลือนี้ และให้ติดตามข่าว พยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยาเท่านั้น เพื่อมิให้เกิดความสับสนและตื่นตระหนกขึ้นในสังคม และหากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพื่อเติม สามารถสอบถามได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th, Facebook กรมอุตุนิยมวิทยา Application Thai weather สายด่วน 1182 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

พายุกระหน่ำเข้าไทยทั้ง 2 ฝั่งมหาสมุทร กรมอุตุฯชี้แจงแล้วจริงหรือไม่?

ภาพจาก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม



ข้อมูลจาก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ภาพจาก AFP


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง