TNN เตือน! สภาพอากาศแปรปรวน "มรสุมเข้าไทย" กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว

TNN

Earth

เตือน! สภาพอากาศแปรปรวน "มรสุมเข้าไทย" กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว

เตือน! สภาพอากาศแปรปรวน มรสุมเข้าไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว

เตือน สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก พายุไต้ฝุ่นส่งมรสุมแรงเข้าประเทศไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว เป็นข่าวปลอม!

เตือน สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก พายุไต้ฝุ่นส่งมรสุมแรงเข้าประเทศไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว เป็นข่าวปลอม!


กรณีที่มีการแชร์ข้อมูลที่ระบุว่า เตือนสภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก พายุไต้ฝุ่นส่งมรสุมแรงเข้าประเทศไทย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งทาง กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลปลอม ซึ่งมิได้มีที่มาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา และไม่ได้มีพายุเข้าไทยแต่อย่างใด โดยพยากรณ์อากาศในช่วงวันที่ 1 – 5 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย กับมีลมแรง


นอกจากนี้ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าได้แชร์หรือส่งต่อข่าวลือนี้ และสามารถติดตามข่าว พยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยา เท่านั้น เพื่อมิให้เกิดความสับสนและตื่นตระหนกขึ้นในสังคม และหากมีสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพื่อเติม สามารถสอบถามได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th, Facebook กรมอุตุนิยมวิทยา Application Thai weather สายด่วน 1182


บทสรุปของเรื่องนี้คือ : 

ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลปลอม และไม่ได้มีพายุเข้าไทยแต่อย่างใด โดยพยากรณ์อากาศในช่วงวันที่ 1 – 5 มี.ค. 66 มวลอากาศเย็นจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย กับมีลมแรง


เตือน! สภาพอากาศแปรปรวน มรสุมเข้าไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว ภาพจาก กรมอุตุฯ

 


คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 1 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2566 จากเว็บไซต์กรมอุตุฯ


ในช่วงวันที่ 2 – 5 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย กับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 7 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า 

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 2 – 5 มี.ค. 66 ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง 


ภาคเหนือ

อากาศเย็นในอากาศเย็น กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 16 – 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 – 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม.


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 2 - 5 มี.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรงอุณหภูมิต่ำสุด 12 – 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 5 – 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 7 มี.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 14 – 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 – 13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.


ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 1 – 2 และ 6 – 7 มี.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 มี.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.


ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 1 – 2 และ 6 – 7 มี.ค. 66 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 35 องศาเซลเซียส

ส่วนในช่วงวันที่ 3 – 5 มี.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร


ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 1 – 5 มี.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค

ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 มี.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ 

ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1  เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร

ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมรา ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 33 องศาเซลเซียส


ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30  ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 3 – 5 มี.ค. 66 มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค  ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส


กรุงเทพและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 1 - 2 และ 6 – 7 มี.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 มี.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.




ที่มา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม / กรมอุตุฯ

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ