TNN online เตือน! สภาพอากาศแปรปรวน "มรสุมเข้าไทย" กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว

TNN ONLINE

Earth

เตือน! สภาพอากาศแปรปรวน "มรสุมเข้าไทย" กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว

เตือน! สภาพอากาศแปรปรวน มรสุมเข้าไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว

เตือน สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก พายุไต้ฝุ่นส่งมรสุมแรงเข้าประเทศไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว เป็นข่าวปลอม!

เตือน สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก พายุไต้ฝุ่นส่งมรสุมแรงเข้าประเทศไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว เป็นข่าวปลอม!


กรณีที่มีการแชร์ข้อมูลที่ระบุว่า เตือนสภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก พายุไต้ฝุ่นส่งมรสุมแรงเข้าประเทศไทย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งทาง กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลปลอม ซึ่งมิได้มีที่มาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา และไม่ได้มีพายุเข้าไทยแต่อย่างใด โดยพยากรณ์อากาศในช่วงวันที่ 1 – 5 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย กับมีลมแรง


นอกจากนี้ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าได้แชร์หรือส่งต่อข่าวลือนี้ และสามารถติดตามข่าว พยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยา เท่านั้น เพื่อมิให้เกิดความสับสนและตื่นตระหนกขึ้นในสังคม และหากมีสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพื่อเติม สามารถสอบถามได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th, Facebook กรมอุตุนิยมวิทยา Application Thai weather สายด่วน 1182


บทสรุปของเรื่องนี้คือ : 

ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลปลอม และไม่ได้มีพายุเข้าไทยแต่อย่างใด โดยพยากรณ์อากาศในช่วงวันที่ 1 – 5 มี.ค. 66 มวลอากาศเย็นจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย กับมีลมแรง


เตือน! สภาพอากาศแปรปรวน มรสุมเข้าไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว ภาพจาก กรมอุตุฯ

 


คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 1 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2566 จากเว็บไซต์กรมอุตุฯ


ในช่วงวันที่ 2 – 5 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย กับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 7 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า 

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 2 – 5 มี.ค. 66 ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง 


ภาคเหนือ

อากาศเย็นในอากาศเย็น กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 16 – 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 – 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม.


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 2 - 5 มี.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรงอุณหภูมิต่ำสุด 12 – 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 5 – 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 7 มี.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 14 – 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 – 13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.


ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 1 – 2 และ 6 – 7 มี.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 มี.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.


ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 1 – 2 และ 6 – 7 มี.ค. 66 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 35 องศาเซลเซียส

ส่วนในช่วงวันที่ 3 – 5 มี.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร


ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 1 – 5 มี.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค

ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 มี.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ 

ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1  เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร

ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมรา ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 33 องศาเซลเซียส


ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30  ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 3 – 5 มี.ค. 66 มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค  ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส


กรุงเทพและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 1 - 2 และ 6 – 7 มี.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 มี.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.




ที่มา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม / กรมอุตุฯ

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง