TNN online ไขข้อสงสัย "ฝนตก" เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เกิดจากสาเหตุอะไร?

TNN ONLINE

Earth

ไขข้อสงสัย "ฝนตก" เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เกิดจากสาเหตุอะไร?

ไขข้อสงสัย ฝนตก เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เกิดจากสาเหตุอะไร?

กรมอุตุนิยมวิทยา ไขข้อสงสัย "ฝนตก" เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เกิดจากสาเหตุอะไร

กรมอุตุนิยมวิทยา ไขข้อสงสัย "ฝนตก" เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เกิดจากสาเหตุอะไร

จากสภาพอากาศในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) หลายพื้นที่มีฝนตกลงมาตั้งแต่ช่วงวานนี้ (4 กุมภาพันธ์ 2566) 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ลักษณะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก

ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 6 - 11 กุมภาพันธ์ 2566 มีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศทั่วไป กุมภาพันธ์ 2566 บริเวณประเทศไทยตอนบนประมาณครึ่งแรกของเดือน ลักษณะอากาศยังคงมีอากาศหนาวเย็นเกือบทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับจะมีหมอกหนาในหลายพื้นที่

จากนั้น ลักษณะอากาศจะแปรปรวน  โดยจะมีฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ และอุณหภูมิจะสูงขึ้น แต่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า

ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ โดยจะมีกำลังอ่อนลงและไม่ต่อเนือง 

สำหรับบริเวณภาคใต้จะมีฝนบางแห่งในบางวัน คลื่นลมในทะเลอ่าวไทยยังคงมีกำลังค่อนข้างแรงบางช่วงจะมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ทั้งนี้ เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลงและจะเริ่มเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ 

สรุปเดือนนี้ คาดว่า ประเทศไทยอุณหภูมิเฉลี่ยจะใกล้เคียงค่าปกติเว้นแต่ภาคเหนือจะสูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย สำหรับปริมาณฝนรวมประเทศไทยตอนบนจะใกล้ค่าปกติ ส่วนภาคใต้จะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 10 



ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพจาก TNN ONLINE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง