TNN online “ดร.เสรี” เตือนโลกอนาคต ปี 66-69 แล้งสุดในรอบ 10 ปี น้ำท่วมใหญ่อีกครั้งปี 72-73

TNN ONLINE

Earth

“ดร.เสรี” เตือนโลกอนาคต ปี 66-69 แล้งสุดในรอบ 10 ปี น้ำท่วมใหญ่อีกครั้งปี 72-73

“ดร.เสรี” เตือนโลกอนาคต ปี 66-69 แล้งสุดในรอบ 10 ปี น้ำท่วมใหญ่อีกครั้งปี 72-73

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์เตือนสภาพอากาศตั้งแต่ปี 66-69 ไทยเสี่ยงเจอภัยแล้งรุนแรงในรอบ 10 ปี

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ โพสเตือนเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศผ่านทาง Facebook รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ 


โดยระบุว่า สภาพอากาศ 3 ปีติดกัน (2563-2565) ของปีเปียก (La Nina) กำลังจะหมดไป โดยทำให้ประเทศไทยชุ่มฉ่ำจนน้ำท่วมใหญ่เกือบทั่วทุกภาค โดยเฉพาะในภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ อุณหภูมิเฉลี่ยจะต่ำกว่าปกติ ตลอดทั้งเดือนธันวาคมจนถึงมีนาคมปี 2566 ร่องฝนยังคงมีอิทธิพลต่อภาคใต้ต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมต่อไป 


ส่วน พายุหิมะในสหรัฐฯ กำลังส่งผลกระทบอย่างหนักในพื้นที่แถบตะวันออก เหตุการณ์ Snow bomb เช่นนี้จะเกิดบ่อยครั้งในฤดูหนาว เนื่องจาก Climate Change ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นในอ่าวเม็กซิโก เกิดการพัดพามวลความชื้นมาปะทะมวลอากาศเย็นจากขั้วโลกเป็นพายุหิมะ ซึ่งพัฒนาตัวเป็น Bomb cyclone (เนื่องจากความกดอากาศลดต่ำลงทันทีอย่างรวดเร็ว 24 มิลลิบาร์ภายใน 24 ชั่วโมง) ประกอบกับความไม่มีเสถียรภาพของกระแสลมวนขั้วโลก (Polar vortex) และกระแสลมกรด (Jet stream) จากการละลายน้ำแข็งขั้วโลก เป็นปัจจัยที่สำคัญทำให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ทั่วทุกภูมิภาคตอนบน ทั้งยุโรป และเอเชียตะวันออก อย่างไรก็ตาม ต้องมีข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่มากขึ้นเพื่อยืนยันเหตุผลดังกล่าวต่อไป 

ขณะที่ สภาพอากาศภายใน 5 ปีข้างหน้า (2566-2569) IPCC มีการคาดการณ์ว่ามีความเป็นได้เกือบ 50% ที่อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นแตะ 1.5oC (ปัจจุบันอุณหภูมิเพิ่มขึ้นประมาณ 1.15oC) เราอาจจะเจอกับภัยแล้งที่รุนแรงในรอบ 10 ปี (ประมาณปี 2568-2569) และน้ำท่วมใหญ่จะกลับมาอีกประมาณปี 2572-2573 การใช้มาตรการ Mitigation (ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก) เพียงอย่างเดียวเพื่อให้บรรลุข้อตกลงปารีสไม่ให้อุณหภูมิเกิน 1.5oC ไม่ใช่คำตอบ และมีทางเดินที่แคบมาก แต่มาตรการปรับตัว (การป้องกัน และลดผลกระทบยึด Nature-based solutions) มีความจำเป็นสูงสุด ไม่ใช่หมอดูน่ะครับ แต่เป็นข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ที่รับฟังไว้เพื่อการเตรียมความพร้อมของประเทศในอนาคต

ข่าวแนะนำ