TNN online GISTDA - กรมอุตุฯ อัปเดต "พายุโนรู" เข้าไทยเร็วขึ้น ไม่เกินทุ่มวันนี้

TNN ONLINE

Earth

GISTDA - กรมอุตุฯ อัปเดต "พายุโนรู" เข้าไทยเร็วขึ้น ไม่เกินทุ่มวันนี้

GISTDA - กรมอุตุฯ อัปเดต พายุโนรู เข้าไทยเร็วขึ้น ไม่เกินทุ่มวันนี้

GISTDA - กรมอุตฯ อัปเดต "พายุโนรู" ใกล้ถึงไทย ไม่เกินทุ่มวันนี้ เร็วกว่าที่คาดการณ์เดิม คาดว่าจะเข้าทาง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี หรืออำนาจเจริญ ขณะที่เข้ามานั้นยังคงเป็นพายุโซนร้อน ส่งผลให้มีฝนตกในหลายจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

GISTDA - กรมอุตฯ อัปเดต "พายุโนรู" ใกล้ถึงไทย ไม่เกินทุ่มวันนี้ เร็วกว่าที่คาดการณ์เดิม คาดว่าจะเข้าทาง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี หรืออำนาจเจริญ ขณะที่เข้ามานั้นยังคงเป็นพายุโซนร้อน ส่งผลให้มีฝนตกในหลายจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันนี้ (28 ก.ย.65) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA อัปเดตข้อมูลจาก Japan Meteorological Agency (JMA) เมื่อเวลา 16.00 น. “พายุโนรู” ใกล้เข้าไทย

ภาพจาก ดาวเทียมฮิมาวาริ 8 ของญี่ปุ่นล่าสุดช่วงบ่ายวันที่ 28 กันยายน 65 พบเคลื่อนตัวเข้าประเทศลาวเรียบร้อยแล้ว และกำลังจะเข้าไทยช่วงดึกวันที่ 28 กันยายน 2565 อาจจะเป็นดีเปรสชั่น ต้องดูความเร็วลมตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาเป็นหลัก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือปราการด่านแรกที่จะได้รับผลกระทบจากพายุดังกล่าวจากที่เคยกล่าวไปก่อนหน้านี้

พื้นที่ที่ต้องจับตาและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สุรินทร์ ฯลฯ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำชีและมูล รวมถึงพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตเมืองและโดยรอบ (ขณะนี้หลายจังหวัดมีฝนตกหนักแล้ว) 

เมื่อพายุโนรู เคลื่อนตัวเข้าประเทศไทยแน่นอนว่าปริมาณฝนจะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ ภูมิภาคอื่นๆ เช่น พื้นที่ริมฝั่งเจ้าพระยาและทุ่งรับน้ำต่างๆ รวมถึงชายฝั่งทะเล ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด



ขณะที่ ว่าที่ ร้อยตรีธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดี ฝ่ายวิชาการ กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า พายุโซนร้อน "โนรู" จะเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในเวลาไม่เกิน 19.00 น. คืนนี้ เร็วกว่าที่คาดการณ์เดิม 

เนื่องจากพายุมีกำลังแรงและเคลื่อนตัวเร็ว คาดว่าจะเข้าทาง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี หรืออำนาจเจริญ ขณะที่เข้ามานั้นยังคงเป็นพายุโซนร้อน ส่งผลให้มีฝนตกในหลายจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

ส่วนปริมาณฝน 24 ชั่วโมง ในแนวพายุเคลื่อนผ่านอาจมากกว่า 100 มิลลิเมตร ซึ่งได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อบริหารจัดการน้ำและดำเนินมาตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 

เนื่องจากอาจทำให้มีน้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่ม รวมทั้งวาตภัยด้วย โดยคาดว่าเมื่อพายุเข้าสู่ไทยบริเวณตอนกลางของประเทศ จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำตามลำดับ แต่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และจะประกาศแจ้งเตือนประชาชนอย่างต่อเนื่อง



ข้อมูลและภาพจาก GISTDA , กรมอุตุนิยมวิทยา

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง