TNN online อุตุฯ เปิดเส้นทางพายุโซนร้อนลูกที่ 11 "หินหนามหน่อ" (HINNAMNOR)

TNN ONLINE

Earth

อุตุฯ เปิดเส้นทางพายุโซนร้อนลูกที่ 11 "หินหนามหน่อ" (HINNAMNOR)

อุตุฯ เปิดเส้นทางพายุโซนร้อนลูกที่ 11 หินหนามหน่อ (HINNAMNOR)

อุตุฯ อัปเดตเส้นทางพายุบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะนี้มีพายุโซนร้อนลูกที่ 11 ชื่อ "หินหนามหน่อ (HINNAMNOR)" ยังไม่มีผลกระทบกับไทยในขณะนี้ มีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางตะวันตก

อุตุฯ อัปเดตเส้นทางพายุบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะนี้มีพายุโซนร้อนลูกที่ 11 ชื่อ "หินหนามหน่อ (HINNAMNOR)" ยังไม่มีผลกระทบกับไทยในขณะนี้ มีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางตะวันตก

วันนี้ (29 ส.ค.65) กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะนี้มีพายุโซนร้อนลูกที่ 11 ชื่อ "หินหนามหน่อ (HINNAMNOR)" หมายถึง "ห่านป่า" ตั้งชื่อโดย สปป.ลาว

สำหรับพายุ "หินหนามหน่อ" นี้ ยังอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย โดยยังไม่มีผลกระทบกับไทยในขณะนี้ ขณะที่ เส้นทางของพายุมีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางตะวันตก อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามเป็นระยะๆ

อุตุฯ เปิดเส้นทางพายุโซนร้อนลูกที่ 11 หินหนามหน่อ (HINNAMNOR)


อุตุฯ เปิดเส้นทางพายุโซนร้อนลูกที่ 11 หินหนามหน่อ (HINNAMNOR)


อุตุฯ เปิดเส้นทางพายุโซนร้อนลูกที่ 11 หินหนามหน่อ (HINNAMNOR)

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า

ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า 

ในช่วงวันที่ 29-31ส.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก อ่าวไทย และภาคใต้ฝั่งตะวันออก 

ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ตลอดช่วง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร  

ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ก.ย. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย เริ่มมีกำลังแรงขึ้น และร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคตอนบนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น 

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ตลอดช่วง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร  

ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 29-31 ส.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย



ข้อมูลสภาพอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง