TNN online จริงหรือ? ไทยเตรียมรับมือพายุ "ไลออนร็อก" หอบฝนถล่มเหนือ-อีสาน

TNN ONLINE

Earth

จริงหรือ? ไทยเตรียมรับมือพายุ "ไลออนร็อก" หอบฝนถล่มเหนือ-อีสาน

จริงหรือ? ไทยเตรียมรับมือพายุ ไลออนร็อก หอบฝนถล่มเหนือ-อีสาน

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ไขข้อสงสัย ไทยเตรียมรับมือพายุ "ไลออนร็อก" ส่งผลให้มีฝนตกหนักในภาคเหนือและภาคอีสาน จริงหรือ?

วันนี้( 24 พ.ค.65) ตามที่มีข้อมูลปรากฎในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องไทยเตรียมรับมือพายุไลออนร็อก ส่งผลให้มีฝนตกหนักในภาคเหนือและภาคอีสาน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการโพสต์เตือนเกี่ยวกับสภาพอากาศโดยระบุว่า เตือน 17 จังหวัด พรุ่งนี้จับตาพายุ 3 ลูก ทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข่าวปลอม โดยเป็นข้อมูลที่มิได้มีที่มาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งจากการติดตามและคาดการณ์ข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ปรากฏว่า หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมประเทศไทย ทะเลอันดามันและอ่าวไทย 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งภาคใต้ตอนบน ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.tmd.go.th, Facebook กรมอุตุนิยมวิทยา Application Thai weather สายด่วน 1182 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลดังกล่าวเป็นข่าวปลอม โดยเป็นข้อมูลที่มิได้มีที่มาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา



ที่มา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง