TNN online ปรากฏการณ์ "ลูกเห็บ" ที่หลายคนยังไม่รุ้?

TNN ONLINE

Earth

ปรากฏการณ์ "ลูกเห็บ" ที่หลายคนยังไม่รุ้?

ปรากฏการณ์ ลูกเห็บ ที่หลายคนยังไม่รุ้?

อากาศที่แปรปรวนช่วงปลายฤดูหนาวทำให้ภาคเหนือมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงมีโอกาสที่จะเกิดลูกเห็บตก

ช่วงกลางถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นช่วงที่อากาศค่อนข้างแปรปรวน เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน ทำให้ในบางครั้ง 1 วันเหมือนมี 3 ฤดู คืออากาศหนาวเย็นในตอนเช้า อากาศร้อนในตอนกลางวันและบางช่วงอาจมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกด้วย สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนรวมถึงผลผลิตทางการเกษตรได้ โดยปกติแล้ว ลูกเห็บมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน แต่ปลายฤดูหนาวที่อากาศอุ่นขึ้นมาบ้างแล้วนั้นก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นในช่วงที่อากาศเริ่มอุ่นขึ้นมา จะทำให้ละอองน้ำและความชื้นบริเวณพื้นดินระเหยขึ้นไปปะทะกับมวลอากาศเย็นด้านบนของเมฆ ซึ่งภายในเมฆนั้นอุณหภูมิจะต่ำมากๆ และละอองน้ำเหล่านั้นเมื่อลอยสูงขึ้นไปปะทะกับมวลอากาศเย็นในเมฆก็จะจับตัวกันเป็นเม็ดน้ำแข็งอยู่ด้านบนของเมฆ จากนั้นเม็ดน้ำแข็งที่อยู่บริเวณด้านบนของเมฆจะตกลงมาเจอมวลอากาศร้อนที่อยู่ด้านล่างของเมฆ ความชื้นบริเวณด้านล่างของเมฆที่มีอยู่ก็จะเข้าไปห่อหุ้มเม็ดน้ำแข็งที่ตกลงมาให้เพิ่มขนาดใหญ่ขึ้นไปอีก หมุนวนแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนขนาดของก้อนลูกเห็บหนักและใหญ่เกินกว่าที่กระแสลมจะรับไหว ลูกเห็บก็จะร่วงหล่นลงมา และถ้าหากนำลูกเห็บมาผ่าออก จะพบว่า ข้างในนั้นมีน้ำแข็งพอกเป็นชั้นๆ ซ้อนกันคล้ายๆกับหัวหอม ซึ่งจำนวนชั้นที่เห็นจะสามาถบ่งบอกได้ว่าลูกเห็บลูกนี้ถูกพัดขึ้นไปสูงกี่ครั้ง แต่ถึงแม้ว่าลูกเห็บมองด้วยตาเปล่านั้นอาจจะมีลักษณะคล้ายกับน้ำแข็ง สีขาว ใส ก็ไม่ควรนำมารับประทานอย่างเด็ดขาด เพราะด้วยสภาวะอากาศที่อาจจะปนเปื้อนไปด้วยฝุ่นละออง แบคทีเรีย และสารเคมีต่างๆ อาจเสี่ยงติดเชื้อและเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

 

ข่าวแนะนำ