TNN online รวมทุกข้อสงสัย! โควิดสายพันธุ์ โอไมครอน อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน ที่คนไทยต้องรู้

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

รวมทุกข้อสงสัย! โควิดสายพันธุ์ โอไมครอน อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน ที่คนไทยต้องรู้

รวมทุกข้อสงสัย! โควิดสายพันธุ์ โอไมครอน อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน ที่คนไทยต้องรู้

รวมทุกข้อสงสัย! โควิดสายพันธุ์ โอไมครอน อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน ที่คนไทยต้องรู้ หลังไทยพบผู้ติดเชื้อเป็นรายแรก และผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 19 คน

7 ธันวาคม 2564   จากกรณีที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุถึงสถานการณ์และความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์ โอไมครอน ว่า ได้มีการสุ่มเก็บตัวอย่างเชื้อผู้ที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย โดยกรณี ชายอายุ 35 ปี สัญชาติอเมริกาเดินทางมาจากสเปนเข้าไทยในรูปแบบ เทสแอนด์โก เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ได้ทำการเก็บตัวอย่างเชื้อ พบผลบวก  


จากนั้นได้เก็บตัวอย่างเชื้อเพิ่มเติมเพื่อหาสายพันธุ์ พบตำแหน่งกลายพันธุ์สอดคล้องกับตำแหน่งที่พบใน โอไมครอน ซึ่งการเก็บตัวอย่างเชื้อครั้งแรกยังอยู่ในช่วงที่เชื้อน้อยอยู่ ไม่สมบูรณ์ จึงได้ทำการเก็บตัวอย่างเชื้ออีกรอบในวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา พบว่าเป็นเชื้อและโอกาสสูงที่จะเป็น โอไมครอน


อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ผลการทดสอบตัวอย่างครั้งที่ 1 วันที่ 30 พฤศจิกายน พบความเข้ากันได้กับจีโนมของ โอไมครอน ร้อยละ 99.92 เพื่อเป็นการยืนยันรอบที่ 2 อย่างชัดเจน  ซึ่งได้เก็บไปเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมเพื่อให้ได้ข้อมูลจีโนมที่สมบูรณ์ โดยดำเนินการร่วมกับเครือข่าย ได้แก่ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์และศูนย์ความร่วมมือไทยสหรัฐด้านสาธารณสุขในการร่วมยืนยันผลในครั้งนี้ด้วย 


ปัจจุบัน ภาพรวมสายพันธุ์โควิดที่พบในประเทศไทย ยังคงเป็นสายพันธุ์เดลต้าร้อยละ 99.87 โดยในช่วงเปิดประเทศได้มีการเฝ้าระวังนักเดินทางที่เข้ามายังในประเทศไท ยจากการสุ่มตัวอย่างตรวจเชื้อ พบว่ายังคงเป็นสายพันธุ์เดลต้า 


ขณะที่นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า จากกระแสข่าวที่มีการสงสัย 2 กรณี รายแรกหญิงแอฟริกาที่พบติดเชื้ออยู่ที่สถาบันบําราศนราดูร เบื้องต้นไม่ได้เป็นสายพันธุ์โอไมครอน และอีกกรณี รายที่ยืนยันรายแรกว่าเป็นสายพันธุ์ โอไมครอน เป็นชายอายุ 35 ปี สัญชาติอเมริกาอาศัยอยู่ในสเปน 1 ปี เป็นนักธุรกิจไม่มีอาการ เดินทางเข้าประเทศไทยวันที่ 29 พฤศจิกายน 


โดยในวันที่ 28 พฤศจิกายนได้มีการตรวจเชื้อก่อนทางเข้าไทยและไม่พบเชื้อ ขณะถึงประเทศไทยได้มีการตรวจเชื้ออีกครั้ง พบเชื้อวันที่ 1 ธันวาคม โดยได้มีการส่งเคสยืนยันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขณะนี้อาการผู้ป่วยน้อยมากไม่มีประวัติโรคประจำตัวและไม่มีการตรวจพบเชื้อโควิดมาก่อนเดินทางเข้าไทย 


สำหรับไทม์ไลน์ของผู้ป่วยติดเชื้อไมโอครอน มีดังนี้


- เป็นชายไทย อายุ 35 ปี สัญชาติอเมริกัน ได้รับวัคซีน J&J 1 เข็ม จาก USA วันที่ 28 มิ.ย.64

- 28 พ.ย.64 ตรวจ PCR ที่สเปน ผลไม่พบเชื้อ หลังจากนั้นไปทานข้าวกับเพื่อน (เพื่อนไม่มีอาการป่วย จนถึงปัจจุบัน)

- 29 พ.ย.64 บินจากประเทศสเปน ไปดูไบ (EK142) พักที่ดูไบ 9 ชั่วโมง ไม่ได้พูดคุยกับใคร สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

- 30 พ.ย.64 บินจากดูไบมากรุงเทพฯ (EK372) หลังจากลงเครื่อง (เที่ยงคืน) ไปเก็บตัวอย่างแบบ Drive thru ที่รพ.คู่สัญญา และกลับเข้าโรงแรม (ผู้ป่วยเข้าโครงการ Test & Go)

- 1 ธ.ค.64 ได้รับแจ้งจากรพ.ว่า ตรวจพบเชื้อโควิด-19 Ct:ORF1ab=33.10, N gene=30.71

- 3 ธ.ค.64 ส่งตัวอย่างเชื้อตรวจยืนยันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ทั้งนี้ จากเคสดังกล่าวมีผู้สัมผัสแยกเป็น โรงแรม 17 คน , พนักงานในสนามบิน 2 คน รวมเป็น 19 คน


รวมทุกข้อสงสัย! โควิดสายพันธุ์ โอไมครอน อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน ที่คนไทยต้องรู้ ภาพจาก ไทยรู้สู้โควิด


รวมทุกข้อสงสัย! โควิดสายพันธุ์ โอไมครอน อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน ที่คนไทยต้องรู้ ภาพจาก ศบค.



สำหรับเชื้อโควิคกลายพันธุ์ โอไมครอน พบว่าแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมา 2 ถึง 5 เท่า ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรืออาการน้อยคล้ายโรคไข้หวัด โดยผู้ติดเชื้อที่รายงานในต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และ ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อโอไมครอนเสียชีวิต 


สำหรับประเทศไทยได้มีการเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมยกระดับการเฝ้าระวังช่องทางเข้าออกประเทศและสถานที่ท่องเที่ยว ทำการสุ่มตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยไข้หวัดที่เป็นคลัสเตอร์ส่งตัวอย่างเชื้อที่พบจากผู้เดินทางหรือรายที่น่าสงสัยตรวจหาสายพันธุ์โอไมครอน ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทันที


จากการติดตามโอไมครอนทั่วโลกองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ยังไม่มีการรายงานผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์โอไมครอนแม้แต่รายเดียว ตรงกับหลายหน่วยงานที่ให้ข้อมูล ถึงความรุนแรงของสายพันธุ์โอไมครอนจะน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้าค่อนข้างมาก 


ทั้งนี้ ต้นตอของโอไมครอนมาจากประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณปลายตุลาคม ต้นพฤศจิกายน สังเกตเห็นว่า จำนวนผู้ป่วยมีจำนวนที่พุ่งสูงขึ้น แล้วไปดูรหัสพันธุกรรมและพบว่าการมีการกลายพันธุ์ของไวรัส แล้วก็ได้มีการรายงานไปที่องค์การอนามัยโลกนั้น โดยพบผู้ติดเชื้อ 46 ประเทศ ติดเชื้อใน 15 ประเทศ พบในผู้เดินทาง 31 ประเทศ การแพร่ระบาด แบ่งเป็น 2 ส่วน เป็นการติดเชื้อในประเทศและเป็นการติดเชื้อมาจากผู้เดินทาง


ส่วนความกังวลในการติดเชื้อสายพันธุ์ โอไมครอน อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า ยังคงเป็นการติดเชื้อผ่านละอองฝอยน้ำลายเป็นหลัก ยังไม่มีข้อมูลว่าเป็นการติดเชื้อผ่านทางอากาศ


รวมทุกข้อสงสัย! โควิดสายพันธุ์ โอไมครอน อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน ที่คนไทยต้องรู้



สำหรับอาการของเคสยืนยันติดโควิดโอไมครอนรายแรกจำแนกออกเป็นดังนี้ 


- ผู้ติดเชื้อรายนี้ ไม่มีการแสดงอาการที่เกี่ยวกับโรคโควิด 19 เลย 

- ไม่มีโรคประจำตัว และไม่มีประวัติการตรวจพบเชื้อ SARS-CoV-2 มาก่อนในอดีต

- แรกรับอุณหภูมิ 36.5 องศาเซลเซียส มีอัตราการเต้นของหัวใจ 96 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิตอยู่ที่ 136/84 มิลลิเมตรปรอท และค่าออกซิเจนในเลือดอยู่ในอัตรา 100%

- ผลเอกซเรย์ทรวงอกมีสภาพปกติ 

- ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด มีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำกว่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานเล็กน้อย อยู่ที่ 4,020 cell/ml  ค่าอื่นๆอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ




รวมทุกข้อสงสัย! โควิดสายพันธุ์ โอไมครอน อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน ที่คนไทยต้องรู้ ศบค.

 






ขณะที่  ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan เกี่ยวกับ "โควิด-19 โอไมครอน” หรือ โอมิครอน (Omicron) คำถามที่ต้องการคำตอบ" โดยระบุว่า 

ทั่วโลกให้ความสนใจกับ covid-19 สายพันธุ์ โอไมครอน เป็นสายพันธุ์ที่พบใหม่ มีการกลายพันธุ์เป็นจำนวนมาก สิ่งที่ต้องการคำตอบ เร่งด่วนคือ


1.โอไมครอน ติดต่อง่ายจริงหรือไม่

ขณะนี้ หลังจากพบสายพันธุ์โอมิครอน ที่แอฟริกาตอนใต้ ไวรัสนี้ได้แพร่กระจายพบในประเทศต่างๆ นอกทวีปแอฟริการวมแล้วเกือบ 50 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย

แสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์นี้แพร่กระจายได้ง่าย กว่าสายพันธุ์เดลต้า (Delta) อย่างแน่นอน โดยมีอำนาจการแพร่กระจายโรคมากกว่าสายพันธุ์เดลต้าอย่างน้อย 2 เท่าขึ้นไป และในอนาคตสายพันธุ์นี้จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลต้า


2.โอไมครอน หลบหลีกภูมิต้านทานจากการติดเชื้อเดิม หรือวัคซีนได้หรือไม่

ผู้ป่วยติดเชื้อที่พบขณะนี้ มีจำนวนหนึ่งฉีดวัคซีนครบแล้ว 2 เข็ม และอีกจำนวนหนึ่งถึงแม้ว่าจะเคยเป็นโรค covid-19 มาก่อน ก็สามารถติดเชื้อได้ แสดงว่าภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นป้องกันได้แบบไม่สมบูรณ์ จึงเกิดการติดเชื้อได้ แต่เกือบทั้งหมดมีอาการลดลงหรือ ไม่มีอาการเลย วัคซีนยังสามารถป้องกันความรุนแรงของโรคได้ 


3.โอไมครอน ความรุนแรงของโรคเป็นอย่างไร

ในผู้ป่วยที่พบนอกทวีปแอฟริกา จำนวนมากกว่าพันราย ส่วนใหญ่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ในทวีปแอฟริกาเอง มีการรายงานเบื้องต้น ในถิ่นระบาดของโรค พบว่า ส่วนใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ และที่เหลือส่วนใหญ่มีอาการน้อย


อย่างไรก็ตาม คงต้องรอ เพราะในระยะเริ่มต้นการติดเชื้อ อาจจะยังมีอาการน้อย การเกิดปอดบวม หรือต้องเข้าโรงพยาบาล จะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง คำถามข้อนี้จึงยังไม่สามารถสรุปได้ ว่ามีความรุนแรงอย่างไร คงต้องรอคำตอบอีกประมาณ 2 สัปดาห์ก็น่าจะรู้เรื่อง แต่แนวโน้มความรุนแรงลดลง 

ความสำคัญของ โอมิครอน อยู่ที่ “ความรุนแรงของโรค” ว่าเชื้อนี้จะลดความรุนแรงลงหรือไม่ ถึงแม้ว่าโรคนี้จะแพร่กระจายได้เป็นจำนวนมาก และหลบหลีกภูมิต้านทานได้เป็นบางส่วน 


ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว หรือผู้ที่เคยป่วยมาก่อน มีอาการน้อยมากหรือไม่มีอาการ เมื่อติดเชื้อแล้ว ไม่มีอาการ หรือ มีอาการน้อย ก็จะช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน เหมือนกับโรคทางเดินหายใจที่พบอยู่ขณะนี้ 


และในอนาคตความจำเป็นในการต้องตรวจกรองผู้สัมผัสทั้งหมด ก็ไม่มีความจำเป็น จะเป็นโรคทางเดินหายใจ ที่มักจะเป็นในเด็กที่ไม่มีภูมิต้านทาน หรือเคยติดเชื้อมาก่อน และเมื่อติดเชื้อแล้ว ก็จะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น การติดเชื้อครั้งต่อไปก็จะไม่มีอาการ เป็นเพียงเสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น และเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทาน

โรคไวรัสทางเดินหายใจในผู้ที่แข็งแรง ที่พบส่วนใหญ่ในขณะนี้ จึงไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญ จะเป็นปัญหาในกลุ่มเสี่ยงหรือร่างกายไม่แข็งแรง 

ในระยะเวลาอีกไม่นานก็คงรู้คำตอบจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่ขณะนี้ทุกคนตั้งใจรอ




ขณะที่โรงพยาบาลพญาไท ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับไวรัสโอไมครอนระบุว่า  จากรายงานของ พญ.โคเอตซี ประธานแพทยสมาคมแห่งแอฟริกาใต้ ระบุว่า ผู้ติดเชื้อจากไวรัสโอไมครอน มีอาการรุนแรงในระดับใกล้เคียงกับไวรัสเดิมคือ มีอาการไข้สูง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้ออย่างมาก และอาการอ่อนเพลีย แต่แตกต่างไปตรงที่ผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ไม่มีปัญหาเรื่องการได้กลิ่นกับการรับรส ซึ่งขณะนี้ (29 พ.ย. 64) ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต จึงพอสรุปได้ว่า ไวรัสโอไมครอนทำให้เกิดโรคที่มีอาการรุนแรงปานกลาง


ด้าน องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ได้ตรวจพบไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในอย่างน้อย 38 ประเทศทั่วโลก แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าว ขณะที่มีการเตือนว่าโอไมครอนอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และออสเตรเลียเป็นประเทศล่าสุดที่ยืนยันการพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนภายในประเทศ ขณะที่การระบาดของโอไมครอนทำให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิดในแอฟริกาใต้พุ่งทะลุ 3 ล้านรายแล้ว 


WHO เตือนว่า อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อบ่งชี้ว่า ไวรัสโอไมครอนแพร่เชื้ออย่างไร และทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้นหรือไม่ รวมทั้งประสิทธิภาพของการรักษาและวัคซีนในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าว 


WHO เปิดเผยว่า ยังไม่มีรายงานการพบผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน แต่การแพร่ระบาดของโอไมครอนทำให้มีการเตือนว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในยุโรปจำนวนมากกว่าครึ่ง อาจติดเชื้อจากโอไมครอนในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า



รวมทุกข้อสงสัย! โควิดสายพันธุ์ โอไมครอน อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน ที่คนไทยต้องรู้






ภาพ : TNNONLINE , ศบค.

ข่าวแนะนำ