TNN online เทียบความรุนแรงโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน VS สายพันธุ์อื่น" แตกต่างแค่ไหน?

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

เทียบความรุนแรงโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน VS สายพันธุ์อื่น" แตกต่างแค่ไหน?

เทียบความรุนแรงโควิดสายพันธุ์ โอไมครอน VS สายพันธุ์อื่น แตกต่างแค่ไหน?

โฆษก ศบค.เปรียบเทียบความรุนแรงและการก่อโรค ในสายพันธุ์ที่น่ากังวล "โอไมครอน" (Omicron) หรือ B.1.1.529 เบื้องต้นยังไม่มีข้อมูลความรุนแรง ขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า วัคซีนยังสามารถป้องกันอาการรุนแรงได้

วันนี้ (1 ธ.ค.64) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.

กรมควบคุมโรค ได้รายงานถึงลักษณะของตัวเชื้อไวรัสเปรียบเทียบความรุนแรงและการก่อโรค ในสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern) โอไมครอน (Omicron) B.1.1.529 โดยมีดังนี้

ลักษณะอาการ

สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) อาการคล้ายกัน ไม่สามารถบ่งบอกสายพันธุ์จากอาการเพียงอย่างเดียวได้ 

สายพันธุ์เบต้า (Beta) อาการคล้ายกัน ไม่สามารถบ่งบอกสายพันธุ์จากอาการเพียงอย่างเดียวได้ 

สายพันธุ์แกมม่า (Gamma) อาการคล้ายกัน ไม่สามารถบ่งบอกสายพันธุ์จากอาการเพียงอย่างเดียวได้ 

สายพันธุ์เดลต้า (Delta) อาการคล้ายกัน ไม่สามารถบ่งบอกสายพันธุ์จากอาการเพียงอย่างเดียวได้ 

สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) เบื้องต้นยังไม่พบว่ามีความแตกต่าง บางรายงานระบุว่า มีอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไม่สูญเสียการรับกลิ่น/รส ซึ่งอาการป่วยไม่รุนแรง แต่มีรายงานการเสียชีวิตเกิดขึ้นแล้ว

ความเร็วในการแพร่โรค

สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) เพิ่มขึ้น 50-75% จากสายพันธุ์ดั้งเดิม

สายพันธุ์เบต้า (Beta) เพิ่มขึ้น 50% จากสายพันธุ์ดั้งเดิม

สายพันธุ์แกมม่า (Gamma) เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า จากสายพันธุ์ดั้งเดิม

สายพันธุ์เดลต้า (Delta) เพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์อัลฟ่า 60%

สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากแทนที่สายพันธุ์เดลต้าในแอฟริกาใต้ได้อย่างรวดเร็ว

ค่าเฉลี่ยที่ผู้ป่วย 1 คนจะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นในกลุ่มประชากรที่มีความไวต่อการรับเชื้อ (Reproductive number)

สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) 1.74

สายพันธุ์เบต้า (Beta) ประมาณ 1.1

สายพันธุ์แกมม่า (Gamma) 2.6

สายพันธุ์เดลต้า (Delta) 5.08

สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า Wild type ยังไม่มีข้อมูลหลักฐานยืนยัน 

เทียบความรุนแรงโควิดสายพันธุ์ โอไมครอน VS สายพันธุ์อื่น แตกต่างแค่ไหน?

ความรุนแรง

สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) น่าจะเพิ่มขึ้น

สายพันธุ์เบต้า (Beta) เพิ่มขึ้น 

สายพันธุ์แกมม่า (Gamma) เพิ่มขึ้น 

สายพันธุ์เดลต้า (Delta) น่าจะเพิ่มขึ้น 

สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ยังไม่มีข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า วัคซีนยังสามารถป้องกันอาการรุนแรงได้

ระยะฟักตัว

สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) เฉลี่ย 5-6 วัน

สายพันธุ์เบต้า (Beta) เฉลี่ย 5-6 วัน

สายพันธุ์แกมม่า (Gamma) เฉลี่ย 5-6 วัน

สายพันธุ์เดลต้า (Delta) เฉลี่ย 4.3 วัน

สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ยังไม่มีข้อมูล

ผลต่อภูมิคุ้มกัน

สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) ไม่มี-น้อยมาก

สายพันธุ์เบต้า (Beta) ปานกลาง

สายพันธุ์แกมม่า (Gamma) ปานกลาง

สายพันธุ์เดลต้า (Delta) ปานกลาง

สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) อาจหลบหลีกภูมิคุ้มกัน อย่างมีนัยสำคัญ พบว่ามีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้สูงขึ้น

ประสิทธิผลของวัคซีน (Vaccine effectiveness)

สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) ไม่ระบุ

สายพันธุ์เบต้า (Beta) J&J 57-27% Novavax 40-60%

สายพันธุ์แกมม่า (Gamma) Pfizer & Moderna 61%

สายพันธุ์เดลต้า (Delta) Pfizer 96% Astrazeneca 92% (ลดการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล)

สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ยังไม่มีข้อมูล


เทียบความรุนแรงโควิดสายพันธุ์ โอไมครอน VS สายพันธุ์อื่น แตกต่างแค่ไหน?


ขณะที่ ศบค.รายงานข้อมูลล่าสุด วันที่ 1 ธ.ค. พบประเทศที่ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนแล้ว 27 ประเทศ ดังนี้

ทวีปแอฟริกา 8 ประเทศ ได้แก่ แอฟริกาใต้ บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามิเบีย ซิมบับเว

ทวีปยุโรป 13 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ อิตาลี เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี สาธารณรัฐเช็ก โปรตุเกส ออสเตรีย สวีเดน และสเปน

ทวีปอเมริกา 1 ประเทศ ได้แก่ แคนาดา

ทวีปเอเชีย 4 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง อิสราเอล สิงคโปร์ และญี่ปุ่น

ทวีปออสเตรเลีย 1 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย



ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง