TNN online ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอไมครอน’ ทั่วโลกวิตก! ตั้งการ์ดระงับเดินทางจากแอฟริกา

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอไมครอน’ ทั่วโลกวิตก! ตั้งการ์ดระงับเดินทางจากแอฟริกา

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอไมครอน’ ทั่วโลกวิตก! ตั้งการ์ดระงับเดินทางจากแอฟริกา

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอไมครอน’ องค์การอนามัยโลกยกเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล คาดแพร่ได้รุนแรงกว่าเดลตา ทั่วโลกวิตกระงับการเดินทางจากแอฟริกา

จากกรณีการพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529โดยมีต้นกำเนิดจากประเทศบอตสวานา ในทวีปแอฟริกา ซึ่งพบครั้งเมื่อวันที่ 11 พ.ย. และมีการยืนยันการค้นพบเมื่อ 24 พ.ย.ที่ผ่านมาการค้นพบดังกล่าว สร้างความวิตกกังวลให้กับนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไวรัสตัวนี้มีการกลายพันธุ์ (Mutate) มากกว่า 50 ตำแหน่ง และมีถึง 32 ตำแหน่งที่กลายพันธุ์ในส่วนหนาม หรือเอสโปรตีน (Spike protein) ทำให้เกิดความเสี่ยงที่รูปร่างหน้าตาของหนามจะเปลี่ยนแปลงไป จนทำให้วัคซีนจดจำไม่ได้ ขณะที่สายพันธุ์เดลต้า มีการกลายพันธุ์ที่หนามไวรัสเพียง 16 ตำแหน่ง

ล่าสุดองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้โควิดสายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 เป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตก พร้อมตั้งชื่อว่า โอไมครอน (Omicron) โดยโควิดสายพันธุ์ใหม่ชนิดนี้มีจำนวนการกลายพันธุ์ที่สูงมากจนน่าวิตก และจากหลักฐานเบื้องต้น พบความเสี่ยงที่อัตราการติดเชื้อจากสายพันธุ์นี้จะสูงขึ้น มากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ

โควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอไมครอน’ทำไมถึงน่ากังวล

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ให้ข้อมูลระบุว่าการกลายพันธุ์ใน 32 ตำแหน่งนั้นของโควิดสายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน มีอย่างน้อย 2 ตำแหน่ง ส่งผลกระทบทำให้เพิ่มความสามารถในการติดเชื้อของไวรัส และลดการจดจำของระบบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสด้วย

การกลายพันธุ์ของไวรัสมากมายหลายตำแหน่งในการพบครั้งเดียว น่าจะมาจากผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ ซึ่งทำให้เกิดมีการติดเชื้อเรื้อรังอยู่ในตนเอง ซึ่งวัคซีนเกือบทุกตัว ยกเว้นวัคซีนเชื้อตาย เช่น ซิโนแวค และซิโนฟาร์ม จะได้รับผลกระทบจากการที่ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงที่ตำแหน่งหนาม ได้แก่

1.ความสามารถในการเข้าเซลล์ของไวรัส

2.การแพร่ระบาดของไวรัส

3.ระบบเซลล์ภูมิคุ้มกันที่จะโจมตีไวรัส ทำงานลำบากมากขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงกังวลเสมอเวลาพบไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงส่วนหนาม

โควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอไมครอน ระบาดได้รุนแรงเพียงใด

นายตูลิอู จี โอลิเวรา ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อการตอบสนองโรคระบาดและนวัตกรรมในแอฟริกาใต้ ให้ข้อมูลระบุว่า ไวรัสชนิดนี้แพร่ระบาดได้รวดเร็วเพียง 1 สัปดาห์ ตรวจพบผู้ติดเชื้อมีจำนวนเท่าๆ กับช่วงโควิดเดลตาระบาดในเวลา 1 เดือน ซึ่งอาจแพร่เชื้อได้เร็วมากกว่า 500%

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอไมครอน’ ทั่วโลกวิตก! ตั้งการ์ดระงับเดินทางจากแอฟริกา


โควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอไมครอน’ระบาดในประเทศใดแล้วบ้าง

ระบาดไปแล้วใน บอตสวาน่า เบลเยียม ฮ่องกง และอิสราเอล และ ประเทศ ที่พิจารณาว่ามีความเสี่ยงพบโควิดสายพันธุ์นี้ระบาด คือ บอตสวาน่า เลโซโท โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ ซิบบับเว และเอสวาตีนี

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอไมครอน’ ทั่วโลกวิตก! ตั้งการ์ดระงับเดินทางจากแอฟริกา

ท่าทีของนานาชาติในการรับมือ โควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอไมครอน’

สหภาพยุโรปเตรียมจำกัดการเดินทางเข้าประเทศของชาติแอฟริกาตอนใต้ 7 ประเทศ ที่พิจารณาว่ามีความเสี่ยงพบโควิดสายพันธุ์นี้ระบาด คือ บอตสวาน่า เลโซโท โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ ซิบบับเว และเอสวาตีนี ขณะที่สหรัฐฯ ประกาศจำกัดการเดินทางจากแอฟริกาตอนใต้เช่นเดียวกับสหภาพยุโรปแล้ว 

ขณะที่ Novavax Inc ได้ลงมือพัฒนาวัคซีนตัวใหม่เพื่อป้องกันไวรัสชนิดนี้ โดยจะทดสอบและผลิตในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า สำหรับBioNTech SE และ Johnson & Johnson กำลังทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโควิด-19 กับไวรัสชนิดใหม่ 

ข้อมูลจาก : นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ, BBC

ภาพจาก :  AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง