TNN online 12 พ.ย.นี้! กรมการแพทย์ หารือบริษัทไฟเซอร์นำเข้า "ยาแพกซ์โลวิด"

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

12 พ.ย.นี้! กรมการแพทย์ หารือบริษัทไฟเซอร์นำเข้า "ยาแพกซ์โลวิด"

12 พ.ย.นี้! กรมการแพทย์ หารือบริษัทไฟเซอร์นำเข้า ยาแพกซ์โลวิด

กรมการแพทย์ เตรียมหารือบริษัทไฟเซอร์ 12 พ.ย.นี้ เพื่อนำเข้ายาต้านโควิด-19 "ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid)"

วันนี้( 8 พ.ย.64) ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัตร ที่ปรึกษากรมการแพทย์ ระบุถึงความคืบหน้า ยาต้านไวรัสโควิด-19 ชนิดรับประทาน เช่น ยารักษาโควิด 19 โมนูลพิราเวียร์ , ยาแพกซ์โลวิด โดยยาทั้งสองตัวนี้เป็นยาช่วยต้านไวรัสไม่ให้ไวรัสเพิ่มในร่างกาย แต่มีการออกฤทธิ์ต่างกันคนละที่ ซึ่งยาแพกซ์โลวิด ออกฤทธิ์ตรงเอมไซม์ ที่ไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนไวรัส 

สำหรับ ยาโมนูลพิราเวียร์ ได้มีการทำศึกษาวิจัยได้มีการวิเคราะห์เบื้องต้น 775 คน โดยมีการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คอ กลุ่มที่ได้รับยาจริง 385 คนและยาหลอก 377 คนรับประทานวันละ 2 เวลาขนาด 800 mg เป็นระยะเวลา 5 วัน 4 เม็ดเช้าและ 4 เม็ดเย็น ใช้ 40 เม็ดต่อคน โดยยาโมนูลพิราเวียร์  สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยที่มีโรคไข้หวัดใหญ่ได้ด้วย 

พบว่า ลดความเสี่ยงการในการเข้านอนโรงพยาบาลและเสียชีวิตร้อยละ 50 โดยไม่มีผู้เสียชีวิตในกลุ่มที่ได้ยาโมนูลพิราเวียร์ ส่วนคนที่ได้อย่าหลอกมีเสียชีวิต 8 คน 

ยาแพกซ์โลวิด ต้องใช้ควบคู่กับ ยาริโทนาเวียร์  จากข้อมูลศึกษาวิจัยเบื้องต้น 774 คน ( กินยาแพกซ์โลวิดขนาด150มิลลิกรัม กับ ยาริโทนาเวียร์ ขนาด 100 มิลลิกรัม จำนวน 389 คน และยาหลอก 385 คน) กินวันละ 2 ครั้ง  เป็นเวลา 5 วัน โดยหนึ่งคนใช้ยาแพกซ์โลวิดทั้งหมด 20 เม็ด และ ริโทนาเวียร์ 10  เม็ดต่อคน 

พบว่า ลดความเสี่ยงการเข้านอนโรงพยาบาลและเสียชีวิตได้ โดยมีการวัดอยู่ที่ 28 วัน กรณีให้ยาภายใน 3 วัน นับแต่เริ่มมีอาการ ยามีประสิทธิภาพ ร้อยละ 89 หากกรณีให้ยาภายใน 5 วันนับตั้งแต่มีอาการ ประสิทธิผลอยู่ที่ร้อยละ 85 ทั้งนี้ ไม่มีผู้เสียชีวิตในกลุ่มที่ได้ยาแพกซ์โลวิดต้องใช้ควบคู่กับยายาริโทนาเวียร์

ส่วนความคืบหน้า ยาแพกซ์โลิดช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทางกรมการแพทย์ ได้หารือกับไฟเซอร์ในข้อมูลยาและการวิจัยต่างๆ จากนั้นได้มีการลงนาม CDA ซึ่งเป็นการลงนามรักษาความลับไม่เปิดเผยข้อมูลเรียบร้อยแล้ว และมีการหารือในรอบที่ 2 ในช่วงกันยายนที่ผ่านมาในเรื่องของความก้าวหน้าการวิจัย และจะมีการคุยรอบที่ 3 วันที่ 12 พฤศจิกายน กับบริษัทไฟเซอร์เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดหายามาใช้  เบื้องต้นทางไฟเซอร์กำลังอยู่ระหว่างการยื่นขึ้นทะเบียนกับทางอย. สหรัฐฯ

นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ อยากได้ระบุอีกว่าทางบริษัทไฟเซอร์ บอกว่า หากมีการนำยาออกมาจำหน่ายในท้องตลาดก็จะเป็นในรูปแบบคู่กัน ระหว่างยาแพกซ์โลิด และยาริโทนาเวียร์ ส่วนสาเหตุที่ต้องให้กินยาริโทนาเวียร์ควบคู่ไปด้วย ข้อมูลวิจัยจากบริษัทผู้ผลิต ชี้ชัดถ้าให้ยาทั้ง 2 ชนิด จะมีประสิทธิภาพในการรักษาโควิดจะเพิ่มขึ้น 

สำหรับหลักเกณฑ์ในการแจกจ่ายยาให้กับผู้ป่วยโควิดเบื้องต้น จะเป็นผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการ และเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง มีโรคประจำตัว ซึ่งมีข้อมูลวิจัยยืนยันแล้วในเบื้องต้นว่า ยาทั้ง 2 ชนิดลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโควิดในการเข้านอนโรงพยาบาลและการเสียชีวิตได้



ภาพจาก ผู้สื่อข่าว TNN ช่อง 16

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง