TNN online สธ.พบ เด็กนักเรียนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3 ราย หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

สธ.พบ เด็กนักเรียนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3 ราย หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์

สธ.พบ เด็กนักเรียนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3 ราย หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์

กระทรวงสาธารณสุข พบเด็กนักเรียนมีอาการไม่พึงประสงค์ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3 ราย หลังรับวัคซีนไฟเซอร์ เบื้องต้นอาการไม่รุนแรง โดยสัปดาห์หน้าเตรียมพิจารณา ฉีดวัคซีนเข็ม 2 นักเรียนชาย

วันนี้ (8 ต.ค.64) ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุสถานการณ์ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นเมื่อวานนี้ฉีดไปกว่า 911,677 โดส ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูง โดยเป็นวัคซีนเข็ม 1 ประมาณ 413,804 คน เข็ม 2 จำนวน 

45,000 คน เข็ม 3 จำนวน 40,000 กว่าคน

ทำให้ภาพรวมประเทศไทยฉีดวัคซีนไปแล้ว 58 ล้านโดส เข็มแรก ร้อยละ 47.5 เข็ม 2 ร้อยละ 31 ซึ่งเดือนที่เหลือน่าจะเป็นไปตามเป้าหมายฉีดวัคซีนให้ได้ร้อยละ 60 ของประชากร

ขณะที่ วัคซีนไฟเซอร์ ขณะนี้ใช้ฉีดไปแล้ว 1.7 ล้านโดส โดยล็อตบริจาค 1.5 ล้านโดส ใช้หมดแล้ว ส่วนที่ฉีดอยู่จะเป็นวัคซีนไฟเซอร์ที่ซื้อเข้ามา โดยวัคซีนไฟเซอร์ที่ไทยสั่งซื้อล็อตล่าสุดเข้ามาเมื่อวันพุธที่ผ่านมา 1.5 ล้านโดส ขณะนี้ได้ผ่านการตรวจสอบจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เรียบร้อยแล้ว โดยจะส่งไปยังพื้นที่ต่างๆ ในวันนี้และพรุ่งนี้ 

"ยืนยัน วัคซีนไฟเซอร์  มีเพียงพอ สำหรับการฉีดในเด็กนักเรียนทุกคนในประเทศ  โดยการกระจายวัคซีนไฟซอร์ตามพื้นที่ต่างๆตามโรงเรียน จะกระจายเป็นงวดๆ" นพ.โสภณ ระบุ 

สธ.พบ เด็กนักเรียนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3 ราย หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์

สธ.พบ เด็กนักเรียนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3 ราย หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์


ในส่วนการฉีดวัคซีนพื้นที่ที่มีการระบาดโควิด-19 สีแดงเข้ม 29 จังหวัด การฉีดวัคซีนครอบคลุมเข็ม1 ไปแล้วร้อยละ 62 เข็ม 2 อยู่ที่ร้อยละ 40 วัคซีนสูตรหลักยังคงเป็นซิโนแวคเข็ม 1 และแอสตร้าเซนเนก้า เข็ม 2 

ส่วน 4 จังหวัดใต้ สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ขณะนี้ได้รับการสนับสนุนวัคซีนเพิ่มเติม โดยสัปดาห์หน้าจะเร่งระดมฉีดวัคซีนเพื่อควบคุมป้องกันการระบาด สัดส่วนการรับวัคซีนในพื้นที่ 4 จังหวัดใต้ ขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 30 แต่หากมีการรณรงค์ฉีดวัคซีนระยะต่อไป เชื่อว่าจำนวนในการรับวัคซีนจะเพิ่มขึ้น 


สธ.พบ เด็กนักเรียนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3 ราย หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์

สำหรับสถานการณ์ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กนักเรียน นักศึกษาอายุ 12-17 ปี เป้าหมาย 4.5 ล้านคน ขณะนี้เข็มที่ 1 รับวัคซีนไปแล้ว 150,190 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 3.3 ส่วนเข็ม 2 ฉีดไปแล้ว 1,825 คน

ส่วนใหญ่พบอาการไม่พึงประสงค์เล็กน้อย เช่น อาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณที่ฉีด มีบางกรณีที่เด็กอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนอยู่บ้าง เด็กกลุ่มนี้มีอาการไม่มาก โดยได้รับปฐมพยาบาลและการกลับมาปกติ โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าการฉีดวัคซีนรวมกลุ่มกันในโรงเรียนอาจจะเกิดภาวะให้เด็กเกิดความกลัวได้ แนะนำควรจัดสถานที่ฉีดให้โปร่งไม่อาจเปิดเพลง เพื่อความผ่อนคลายให้เด็กไม่มีความเครียดหรือคลายความกังวล 

ทั้งนี้ พบเด็กนักเรียน มีอาการไม่พึงประสงค์ 3 ราย เป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังรับวัคซีนไฟเซอร์ เบื้องต้นได้รับการรักษาพยาบาลแล้ว อาการไม่ได้รุนแรง อย่างไรก็ตาม หากเด็กนักเรียนมีอาการเหล่านี้ สามารถหายป่วยได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา ในช่วงที่มีการฉีดวัคซีนจำนวนมากจำเป็นที่ต้องเฝ้าสังเกตอาการเหนื่อย หอบ เจ็บหน้าอก ใจสั่น 

สธ.พบ เด็กนักเรียนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3 ราย หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์

ส่วนการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2 ในเด็กผู้ชาย กลุ่มอายุ 16-18 ปี สามารถรับวัคซีนเข็ม 2 ได้ตามปกติ ส่วนเด็กชายอายุ 12-15 ปี ที่มีโรคประจำตัว จำเป็นต้องได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็มตามกำหนดเวลา เนื่องจากหากป่วยติดโควิดจะทำให้มีอาการรุนแรงได้ ขณะที่กลุ่มเด็กชายอายุ 12-15 ปี ที่มีสุขภาพแข็งแรง และรับวัคซีนเข็ม 1 ไปแล้ว ในสัปดาห์หน้าจะมีการประเมินข้อมูลและเฝ้าดูอาการก่อน จะพิจารณาว่าจะต้องรับเข็ม 2 ต่อหรือไม่ 

โดยวันจันทร์นี้จะมีการแถลงความคืบหน้าวัคซีนสูตรไขว้ แอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ ส่วนวัคซีนสูตรไขว้ ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า ยังจำเป็นต้องฉีดอยู่เนื่องจากยังมีวัคซีนซิโนแวคเหลืออยู่ในคลัง 

สธ.พบ เด็กนักเรียนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3 ราย หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์

ส่วนภาพรวมวัคซีนโควิดประเทศไทยโดยเดือนตุลาคมนี้ คาดว่าไทยจะมีวัคซีนมากกว่า 24 ล้านโดส ทั้งซิโนแวค 6 ล้านโดส แอสตร้าเซนเนก้า 10 ล้านโดส ไฟเซอร์ 8 ล้านโดส และในเดือนพฤศจิกายน จะมีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเพิ่ม 13 ล้านโดส ไฟเซอร์ 10 ล้านโดส รวม 23 ล้านโดส ส่วนธันวาคมจะมีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 14 ล้านโดส ไฟเซอร์ 10 ล้านโดส รวม 24 ล้านโดส ทำให้ทั้งปี 2564 ไทยจะมีวัคซีนรวม 178.2 ล้านโดส

ส่วนประเด็นที่มีการรายงานว่าทางบริษัทไฟเซอร์ ขอยื่นขึ้นทะเบียน อย.สหรัฐฯ ในการฉีดไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ปี ได้นั้น นพ.โสภณ ระบุว่า ในกลุ่มนี้ทางประเทศไทยยังต้องรอบริษัทมาขึ้นทะเบียน เพื่อให้สามารถมาใช้ในเด็กอายุที่น้อยลงกว่า 12 ปี โดยบริษัทยังไม่ได้มายื่นเอกสารดังกล่าวเพื่อปรับข้อบ่งชี้ในการใช้วัคซีน ทำให้ขนาดนี้ก็ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ยังคงเป็นการฉีดในเด็กอายุ 12-18 ปี

ภาพจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง