TNN online  ม.อ.เผยผลวิจัยฉีดแอสตร้าฯเข็ม 3 ใต้ผิวหนังใช้ปริมาณน้อยสร้างภูมิสูง

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

 ม.อ.เผยผลวิจัยฉีดแอสตร้าฯเข็ม 3 ใต้ผิวหนังใช้ปริมาณน้อยสร้างภูมิสูง

 ม.อ.เผยผลวิจัยฉีดแอสตร้าฯเข็ม 3 ใต้ผิวหนังใช้ปริมาณน้อยสร้างภูมิสูง

ผลวิจัยม.อ.ชี้ฉีดแอสตร้าเซนเนก้าเข็ม 3 เข้าใต้ผิวหนังสร้างภูมิคุ้มกันใกล้เคียงกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่ใช้ปริมาณวัคซีนเพียง1ใน 5 เท่านั้น

วันนี้ ( 14 ก.ย. 64 )จากการศึกษาวิจัยโดยคณะนักวิจัยของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในการทดสอบระดับภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มกระตุ้นโดยเปรียบเทียบระหว่างการได้รับวัคซีนปริมาณ1ใน5ของโดสปกติเข้าใต้ผิวหนังกับการได้รับวัคซีนปริมาณปกติเข้ากล้ามเนื้อในกลุ่มประชากรทั่วไปจำนวน95คนหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคมาแล้ว2เข็มผลวิจัยเบื้องต้นพบว่า

การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มกระตุ้นด้วยวิธีการฉีดเข้าใต้ผิวหนังในปริมาณ1ใน5ของโดสปกติสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้งแอนติบอดี้(Bcells)และทีเซลล์(Tcells)ได้สูงเทียบเท่ากับการฉีดวัคซีนเต็มโดสเข้ากล้ามเนื้อแบบปกติ

อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคมาแล้ว2เข็มภูมิคุ้มกันจะอยู่ที่128.7BAU/mLและเมื่อรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มที่3ด้วยวิธีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อภูมิคุ้มกันจะเพิ่มขึ้นเป็น1652BAU/mLแต่ในกลุ่มอาสาสมัครที่รับวัคซีนเข็ม3แบบฉีดเข้าใต้ผิวหนังร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันระบบแอนติบอดี้ได้ถึง1300BAU/mLซึ่งใช้วัคซีนปริมาณ1ใน5ของโดสปกติ(ความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ)

แอนติบอดี้จะช่วยในการป้องกันไวรัสเข้าเซลล์ร่างกายแต่ถ้าไวรัสเข้าไปแล้วต้องใช้“ทีเซลล์(Tcells)”ในการจัดการจึงจำเป็นต้องศึกษาภูมิคุ้มกันทั้ง2แบบอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าทั้ง2กลุ่มเมื่อถูกกระตุ้นด้วยโปรตีนหนามแหลมของโคโรนาไวรัส(S1peptidepool)สามารถหลั่งไซโตไคน์อิเตอเฟอรอนแกรมม่า(IFN-)เพื่อกำจัดไวรัสได้ในปริมาณที่ไม่แตกต่างกัน

การได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข้าใต้ผิวหนังแบบลดโดส(ปริมาณ1ใน5ของโดสปกติ)ของกลุ่มที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค2เข็มมาแล้ว4-8สัปดาห์หรือกลุ่มที่ได้รับมาแล้ว8-12สัปดาห์ระดับภูมิคุ้มกันทั้งการสร้างแอนติบอดี้และทีเซลล์(Tcells)ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

อาสาสมัครทั้ง95คนในโครงการวิจัยไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงทั้งหมดในกลุ่มที่ได้รับการฉีดเข้าใต้ผิวหนังมีผลข้างเคียงทางร่างกายเช่นอาการไข้หนาวสั่นปวดเมื่อยน้อยกว่ากลุ่มที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อแต่มีผลข้างเคียงทางผิวหนังเช่นอาการบวมแดงร้อนและคันมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อซึ่งอาการดังกล่าวหายเองได้ทั้งหมด

ทางคณะผู้วิจัยขอบคุณอาสาสมัครและผู้มีส่วนร่วมในโครงการวิจัยทุกท่านทางคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะนำข้อมูลมาเผยแพร่ให้ทราบต่อไปเป็นระยะ

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง