TNN online "หมอธีระวัฒน์" เผยสูตรสยบโควิด-19 ภายใน 3 เดือน!

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

"หมอธีระวัฒน์" เผยสูตรสยบโควิด-19 ภายใน 3 เดือน!

หมอธีระวัฒน์ เผยสูตรสยบโควิด-19 ภายใน 3 เดือน!

"หมอธีระวัฒน์" เผย 3 สูตรที่จะทำให้สยบโควิด-19 ได้ผล ต้องตรวจเชิงรุกให้มาก รักษาให้เร็ว เร่งฉีดวัคซีน ควบคู่ป้องกันตัวเอง

วันนี้( 13 ก.ย.64) ศาสตราจารย์ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 โดยบอกว่า ตอนนี้ โควิดค่อนข้างผันผวน หลายประเทศระบาดระลอกใหม่ ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ที่มีผู้ป่วยเพิ่มมากเรื่อยๆ แม้จะมีการฉีดวัคซีนชนิด mRNA แล้วก็ตาม แต่เมื่อเวลาผ่านไปพบว่า “ระดับภูมิคุ้มกันยับยั้งลดลง” ทั้งยังเผชิญกับสายพันธุ์เดลตามีความสามารถจับเซลล์ง่ายแพร่กระจายเร็วที่กำลังระบาดอยู่ทั่วโลก กลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อประสิทธิภาพวัคซีน ลดน้อยถอยลงม มีผลให้ผู้ฉีดครบโดสในช่วงต้นปีกลับมาติดเชื้อใหม่ จนกระทั่งสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และยุโรป หันมาทบทวน ถึงการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 แต่ยังเป็นวัคซีนเดิม ซึ่งเชื่อว่าหลายบริษัทเริ่มพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ เพื่อป้องกันโควิดกลายพันธ์ในปีหน้า 

ส่วนสถานการณ์ในประเทศ คุณหมอธีระวัฒน์ บอกว่า ขณะนี้บุคลากรทางการแพทย์ยังคงทำงานหนัก ส่งผลกระทบกับการให้บริการกับผู้ป่วยโรคอื่นๆ คุณหมอ จึงเสนอสูตรที่จะสยบโควิด-19 ไว้ 3 วิธี ได้แก่ การคัดกรองวินิจฉัยให้มากขึ้น และแยกตัวรักษาให้เร็วทันที ที่รู้ว่าติดเชื้อ ด้วยการแจกยา แบบผสมผสาน ระหว่างสมุนไพร และยาแผนปัจจุบัน ไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย และหยุดยั้งไวรัสปรับเปลี่ยนพันธุกรรม จนกลายพันธุ์ 

วิธีต่อมา ต้องเร่งฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้ครอบคลุมประชาชนร้อยละ 90 ภายใน 3 เดือนนับจากนี้ เพราะผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสภูมิคุ้มกันตกกันแล้ว โดยผู้ฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตาย ระดับภูมิจะลดลง 

หลังฉีดครบโดสใน 8 สัปดาห์ ในส่วน “วัคซีนชนิด mRNA” ภูมิตกหลังฉีดครบโดสแล้ว 14 สัปดาห์ ตอกย้ำความสำคัญในการต้องฉีดวัคซีนใหม่ เพื่อลดการป่วยหนักจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ลดโอกาสเสียชีวิตลงได้

วิธีที่สาม ประชาชนต้องมีวินัย ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนแล้วหรือไม่ก็ตาม ต้องเน้นย้ำ ให้เห็นถึงความสำคัญต่อการป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ทั้งเรื่องใส่หน้ากาก ล้างมือ 

อยู่ห่างคนอื่น เพราะยิ่งเจอผู้คนมากเท่าใด ย่อมมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแพร่เชื้อได้


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง