TNN online ประสิทธิภาพลด! สหรัฐฯชี้ "ไฟเซอร์-โมเดอร์นา" ต้านเดลตาได้ 66%

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

ประสิทธิภาพลด! สหรัฐฯชี้ "ไฟเซอร์-โมเดอร์นา" ต้านเดลตาได้ 66%

ประสิทธิภาพลด! สหรัฐฯชี้ ไฟเซอร์-โมเดอร์นา ต้านเดลตาได้ 66%

สหรัฐฯเผยข้อมูลวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา ประสิทธิภาพลดลง ต่อโควิดสายพันธุ์เดลตาจากเดิม 91% เหลือ 66%

วันนี้( 25 ส.ค.64) โควิดสายพันธุ์เดลตา สามารถแพร่กระจายและติดต่อได้ง่ายขึ้นจนแพร่ระบาดไปทั่วโลก และยังพยมีการกลายพันธุ์สายพันธุ์ย่อยมาต่อเนื่อง จึงมีความกังวลจะเป็นไวรัสที่รุนแรงกว่าเดิมหรือไม่ ซึ่งความน่ากังวลของสายพันธุ์เดลตา คือมีสไปก์โปรตีน (spike protein) 2จุดคือ ตำแหน่ง RBD (Receptor-Binding Domain) มีประสิทธิภาพในการจับเยื่อหุ้มเซลล์ของมนุษย์ในตำแหน่ง ACE2 ซึ่งเป็นตัวรับที่เกี่ยวข้องกับในจุดนี้จะมีตำแหน่งกลายพันธุ์ คือ E484Q, T478k, L452R  ขณะที่อีกจุดของ สไปก์โปรตีน คือ NTD  (N-terminal Domain) ตำแหน่งนี้แม้ไม่ได้ทำหน้าที่จับกับโปรตีนตัวรับ ACE2 โดยตรง แต่มีความสำคัญในการช่วยให้ไวรัสเข้าเซลล์ได้ดีขึ้น มีจุดกลายพันธุ์ คือ T19R,  156del, 157del, R158G, D614G, P681R, D950N  และ G142D 

ซึ่งตำแหน่ง G142D เป็นการกลายพันธุ์ของโปรตีนสไปค์แบบหลบหนีต่อแอนติบอดี ซึ่งไม่พบในสายพันธุ์ย่อยเดลตาที่พบในไทย อย่าง AY.4 หรือ B.1.617.2.4 และ AY.12 หรือ B.1.617.2.15 ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าจะรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลตาเดิม และจำนวนที่พบอยู่ในขณะนี้ถือว่าน้อยมาก หรือ1-3% แต่หากเพิ่มเป็น 10% ในเวลารวดเร็วถึงจะน่ากังวล ขณะที่ในต่างประเทศ เคยพบสายพันธุ์ย่อยเหล่านี้มาแล้ว แต่พบว่า แพร่เชื้อไม่เก่งเหมือนกับเดลตาสายพันธุ์เดิม

ประสิทธิภาพลด! สหรัฐฯชี้ ไฟเซอร์-โมเดอร์นา ต้านเดลตาได้ 66%

ประสิทธิภาพลด! สหรัฐฯชี้ ไฟเซอร์-โมเดอร์นา ต้านเดลตาได้ 66%

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ระบุว่าโควิดสายพันธุ์เดลตา มีจุดเด่นของตัวเองอยู่ 2 ตำแหน่งคือ L452R กับ T478K แต่ถ้ามีตำแหน่งอื่นเพิ่มมาก็ถือเป็นสายพันธุ์ย่อยๆต่างๆ อย่างไรก็ตามที่ต้องจับตา หากตำแหน่งสำคัญ 4 ตำแหน่งคือ K417N , N439K, E484K และ N501Y มีการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ตำแหน่งนี้พร้อมกัน เรียกว่า Delta 4+ ไวรัสเดลต้าตัวนี้จะไม่สามารถถูกจับด้วยแอนติบอดีจากวัคซีน Pfizer  ได้เลย พูดง่ายๆคือ เดลต้าหนีแอนติบอดีได้ 100% ทีมวิจัยพบอีกว่า ปัจจุบันมีรายงานออกมาแล้วว่า เดลต้าที่กระจายอยู่ทั่วโลกพบการเปลี่ยนแปลงที่ K417N, E484K และ N501Y แล้ว แต่ยังไม่มีรายงานพบเดลต้าที่มี N439K และนักวิจัยกลุ่มนี้ยังพบว่า เดลตา มีการกลายพันธุ์ตรงตำแหน่ง NTD ของเชื้อไวรัส จะ ทำให้แอนติบอดีจากวัคซีน Pfizer ไปจับได้ แต่แทนที่จะยับยั้งกลับไปช่วยทำให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ดีขึ้น 

นอกจากนี้ยังห่วงถึงการฉีดวัคซีนเยอะเกินความจำเป็น จนมี แอนติบอดี จำนวนมากจากวัคซีน ซึ่งถ้ามากเกินไป ขอให้ระวังเรื่องแอนติบอดีที่อาจจะไปจับกับ NTD ของ เชื้อเดลตา และ อาจจะเป็นตัวช่วยให้ไวรัสเข้าติดเชื้อได้มากขึ้นได้อีกด้วย

ประสิทธิภาพลด! สหรัฐฯชี้ ไฟเซอร์-โมเดอร์นา ต้านเดลตาได้ 66%

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (CDC) เปิดเผยผลการวิจัยในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรด่านหน้าและเจ้าหน้าที่สาธารสุขมากกว่า 4,000 คนใน 6 รัฐ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2020 ถึงเดือนสิงหาคม 2021 ซึ่งจะได้รับการตรวจหาเชื้อทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ประมาณ 83% ของกลุ่มตัวอย่างได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว โดยประมาณ 2 ใน 3 ได้รับวัคซีนของ Pfizer และอีก 2% ได้รับวัคซีน Johnson & Johnson ส่วนที่เหลือได้รับวัคซีน Moderna พบว่าประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 ของวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา ต่อโควิดสายพันธุ์เดลตา จากเดิมก่อนระบาดอยู่ที่ 91% แต่ปัจจุบันลดลงเหลือ 66% ส่วนประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้ออาการหนัก ยังเท่าเดิมคือมากกว่า 90%

ประสิทธิภาพลด! สหรัฐฯชี้ ไฟเซอร์-โมเดอร์นา ต้านเดลตาได้ 66%

ผลการวิจัยข้างต้นชี้ให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนลดลงในระดับปานกลาง แต่วัคซีนยังคงสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ 2 ใน 3 ตอกย้ำความสำคัญและประโยชน์ของการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยสัปดาห์หน้าสหรัฐวางแผนการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 หรือบูสเตอร์เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ชาวอเมริกัน ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 20 กันยายน

ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐ ยังชี้ว่า หากต้องการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ชาวอเมริกันจำนวนมากจะต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ต้องฉีดวัคซีนให้ประชาชนให้ได้ 85% - 90% ของประเทศ

นายแพทย์แอนโทนี เฟาชี หัวหน้าที่ปรึกษาทางการแพทย์ประจำทำเนียบขาว กล่าวย้ำว่า ตัวเลขนี้ไม่ได้หมายถึงแค่การฉีดวัคซีนให้กับประชากรผู้ใหญ่เท่านั้น แต่หมายรวมถึงคนทั้งประเทศหรือเด็กๆด้วย โดยคาดการณ์ว่า สหรัฐจะสามารถควบคุมโควิด ได้ภายในฤดูใบไม้ผลิปี 2565 หากผู้คนจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมีโอกาสได้ฉีดวัคซีน 

โดยยอดผู้เสียชีวิตจากโควิดในสหรัฐขณะนี้ดีดตัวสูงขึ้นเท่ากับในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา หรือที่ระดับมากกว่า 1,000 รายต่อวัน ซึ่งปัจจุบันมีประชากรราว 51% ของสหรัฐได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบโดสแล้ว

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง