TNN online อินเดียทดลองวัคซีนต้านโควิดชนิด mRNA ตัวแรกในประเทศ

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

อินเดียทดลองวัคซีนต้านโควิดชนิด mRNA ตัวแรกในประเทศ

อินเดียทดลองวัคซีนต้านโควิดชนิด mRNA ตัวแรกในประเทศ

อินเดียทดลองวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกตัวที่ผลิตเอง แบบ mRNA ตัวแรก หลังทดลองเบื้องต้นพบว่า ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

วันนี้ ( 25 ส.ค. 64 )รัฐบาลอินเดียแถลงในวันอังคารว่า อินเดียอนุมัติการทดลองทางคลินิกเพิ่มเติมสำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ชื่อว่า "HGCO19" ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด “mRNA” ที่ผลิตในประเทศยี่ห้อแรก พัฒนาโดยบริษัท เจนโนวา ไบโอฟาร์มาซูติคอลส์ (Gennova Biophamaceuticals) หลังจากพบว่าวัคซีนตัวนี้มีความปลอดภัยและมิประสิทธิภาพจากผลการทดลองขั้นต้น โดยบริษัทเจนโนวา เป็นหนึ่งในบริษัทยาไม่กี่แห่งทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งโมเดอร์นา (Moderna) และไฟเซอร์ (Pfizer) ที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ในการผลิตวัคซีน และวัคซีนเหล่านี้ ไม่ได้เชื้อไวรัสที่มีชีวิตในการการสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน แต่กระตุ้นให้ร่างกายมนุษย์สร้างโปรตีนอย่างหนึ่งขึ้นขึ้นมากระตุ้น 

บริษัทเจนโนวา แถลงในวันอังคารว่า มีแผนเริ่มทดลองระยะกลางวัคซีน “HGCO19” ในช่วงต้นเดือนกันยายนในสถานที่ต่าง ๆ 10-15 แห่ง และทดลองในขั้นตอนสุดท้ายในสถานที่ 22-27 แห่งในอินเดีย

อินเดียทดลองวัคซีนต้านโควิดชนิด mRNA ตัวแรกในประเทศ

การทดลองทางคลินิกของวัคซีนตัวนี้ เริ่มในเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว และได้รับเงินทุนส่วนหนึ่งจากสำนักงานไบโอเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอินเดีย ประชานท์ กาดายาเต นักวิเคราะห์ยาที่สถาบัน โกลบอลดาต้า กล่าวว่า เร็วเกินไปที่จะตื่นเต้นเกี่ยวกับวัคซีนตัวนี้ ขณะที่ การทดลองระยะที่ 3 ยังไม่แล้วเสร็จ เมื่อวัคซีนตัวนี้ออกสู่ตลาด อินเดียจะได้ฉีดวัคซีนให้ประชาชนส่วนใหญ่อย่างน้อย 1 โดส

กาดายาเต กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาวัคซีน mRNA จะช่วยให้อินเดียได้แสดงนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ในระดับโลกด้วย

จนถึงขณะนี้ อินเดียอนุมัติวัคซีนโควิด-19 ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ที่พัฒนาเองในประเทศ 2 ชนิด โดยบริษัทภารัต ไบโอเทค (Bharat Biotech) และไซดุส คาดิลา (Zydus Cadila) แต่ยังไม่มีวัคซีน mRNA ในโครงการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันก่อนแนวโน้มความเป็นไปได้ที่จะเกิดการระบาดของไวรัสโควิดรอบสาม

วัคซีนต้านโควิดของบริษัท Moderna ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจากรัฐบาลอินเดียในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แต่บริษัทยังติดปัญหาการชดใช้ค่าเสียหายและการนำเข้า

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง