TNN online ‘โควิดเดลตา’ ยึดครองประเทศไทย เว้น ‘สุพรรณบุรี’ ป้อมยังไม่แตก

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

‘โควิดเดลตา’ ยึดครองประเทศไทย เว้น ‘สุพรรณบุรี’ ป้อมยังไม่แตก

 ‘โควิดเดลตา’ ยึดครองประเทศไทย เว้น ‘สุพรรณบุรี’ ป้อมยังไม่แตก

ศบค.เผยโควิดสายพันธุ์ระบาดแล้วทั่วประเทศไทยยกเว้น ‘สุพรรณบุรี’ จังหวัดติดเชื้อสูงสุดยังเป็นกทม.-ปริมณฑล

วันนี้ ( 18 ส.ค. 64 )พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวในขณะรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกเริ่มกลับรุนแรงอีกครั้ง จากการคลายล็อกมาตรการ และจากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตา เช่น ในสหรัฐฯ ที่เคยมียอดผู้ติดเชื้อลดลงต่ำกว่าวันละหมื่นรายกลับมาเป็นวันละแสนราย แม้จะมีสัดส่วนการฉีดวัคซีนได้มากถึง 55% ของประชากรแล้วก็ตาม

ส่วนสถานการณ์ในประเทศพบการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลตาทั้งหมด ยกเว้น จังหวัดสุพรรณบุรี โดยวันนี้มียอดเสียชีวิตมากสุดเท่าที่เคยมีการรายงาน เนื่องจากบางจังหวัด เช่น ลพบุรี และชลบุรีเป็นยอดสะสมจากช่วง 2-3 วันก่อนที่รอการยืนยันการเสียชีวิต 

ส่วน 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด ยังกระจายอยู่ในกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล เป็นหลัก แต่แนวโน้มการติดเชื้อในพื้นที่กรุงเทพฯ ทรงตัวในระดับสูง แต่อัตราการเสียชีวิตลดลง หลังมีการเร่งฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงและเร่งตรวจคัดกรองหาผู้ติดเชื้อด้วย ATK

ผู้ช่วยโฆษก ศบค.กล่าวว่า ที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กได้เสนอแนะให้ผู้ประกอบการจัดเตรียมความพร้อมในเรื่องการทำสถานที่แยกกัก (Commpany Isolation) เพื่อรองรับกรณีมีพนักงานติดเชื้อ โดยไม่ต้องรอให้พบการติดเชื้อก่อน

นอกจากนี้ยังเห็นชอบแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล เพื่อให้ทุกคนเกิดการระมัดระวังตนเองขั้นสูงสุดตลอดเวลา โดยให้คิดอยู่เสมอว่าทุกคนอาจเป็นผู้ติดเชื้อแฝงที่สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ โดยมีแนวทางปฏิบัติ ได้แก่ ออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น, รักษาระยะห่างจากคนอื่น, สวมหน้ากากตลอดเวลาหากอยู่เกินกว่า 2 คน, ล้างมือบ่อยๆ, เลี่ยงใช้มือสัมผัสหน้ากาก, หากเป็นกลุ่มเสี่ยงต้องเลี่ยงออกจากบ้าน, ทำความสะอาดพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ, แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด, กินอาหารที่ร้องหรือปรุงสุกใหม่, หากสงสัยว่าเสี่ยงติดเชื้อให้ตรวจด้วย ATK

สำหรับการฉีดวัคซีนให้ได้ 70% ของประชากรทั้งประเทศ หรือราว 50 ล้านคนภายในปีนี้ตามนโยบายของรัฐบาลนั้น ทำให้มีแผนจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมให้ได้เดือนละ 10 ล้านโดส โดยส่วนหนึ่งเป็นวัคซีนซิโนแวค เนื่องจากผู้ผลิตวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสันไม่สามารถส่งมอบให้ได้ภายในปีนี้ตามที่ตกลงไว้ ขณะที่กำลังการผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าจะอยู่ที่เดือนละ 5-6 ล้านโดสเท่านั้น โดยจะเร่งฉีดให้ได้เดือนละ 15 ล้านโดส หรือเฉลี่ยวันละ 5 แสนโดส

นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค ได้มีการรายงานการติดเชื้อในกลุ่มเด็ก โดยปัจจุบันมีเด็กติดเชื้อไปแล้ว 15,000 ราย และข้อมูลระหว่างที่ 14 พ.ค- 16 ส.ค พบเด็กที่เสียชีวิตระหว่างอายุ 12-20 ปี ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ดังนั้นจึงได้มีแนวทางให้เร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มเด็กที่มีโรคประจำตัว

พร้อมตอบข้อซักถามกรณีมีการสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวค 12 ล้านโดสว่า เนื่องจากทาง จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ไม่สามารถส่งวัคซีนให้ได้ภายในไตรมาส 4 อีกทั้งกำลังการผลิตของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ที่เดิมคาดว่าจะได้ 10 ล้านโดส แต่กลับลดเหลือ 5-6 ล้านโดส จึงทำให้มีความจำเป็นต้องจัดหาวัคซีนซิโนแวคเข้ามาเสริมในส่วนที่ขาดไป

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง