TNN online สปสช.เผยตรวจ ATK ด้วยตัวเอง 'ผลบวก' ไม่ต้องตรวจซ้ำ แนะขั้นตอนรักษาที่บ้านเช็กเลยที่นี่

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

สปสช.เผยตรวจ ATK ด้วยตัวเอง 'ผลบวก' ไม่ต้องตรวจซ้ำ แนะขั้นตอนรักษาที่บ้านเช็กเลยที่นี่

สปสช.เผยตรวจ ATK ด้วยตัวเอง 'ผลบวก' ไม่ต้องตรวจซ้ำ แนะขั้นตอนรักษาที่บ้านเช็กเลยที่นี่

สปสช. แนะแนวปฏิบัติหลังทราบผลการตรวจเชื้อด้วยตัวเอง Antigen Test Kit (ATK) ยืนยันเข้าสู่ระบบแยกกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation ได้เลยไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ

วันนี้ ( 27 ก.ค. 64 )ทันตแพทย์อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ในฐานะโฆษก สปสช.แนะนำการปฏิบัติตัวเบื้องต้นประชาชนเมื่อทราบผลการตรวจเชื้อด้วยตัวเองที่บ้าน เมื่อใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) โดยหากพบผลบวก (Positive) หมายถึง ‘พบเชื้อ’ ให้แจ้งหน่วยงานสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือ กรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://crmsup.nhso.go.th หรือ โทรเข้าสายด่วน สปสช. 1330 กด 14 เพื่อเข้าสู่ระบบแยกกักตัวที่แบ้าน หรือ Home Isolation ของสปสช. ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องตรวจตรวจยืนยันด้วย RT-PCR ซ้ำ 

เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะได้รับการประเมินอาการด้วยวิดิโอคอลวันละ 2 ครั้ง อาหาร 3 มื้อ พร้อมกับได้รับปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว และยาฟ้าทะลายโจรและยาพื้นฐานอื่นๆ ในกรณีที่อาการแย่ลงจะมีการประสานส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาล โดยจะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์เพื่อประคองอาการในระหว่างประสานรอเตียงผู้ป่วย

ส่วนผู้ที่ใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) แล้วปรากฏ ผลลบ (Negative) หมายถึง ‘ไม่พบเชื้อ’ แต่ถ้าขณะที่ตรวจ หากเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือมีประวัติเสี่ยง ควรทดสอบซ้ำอีกครั้ง 3-5 วัน และต้องกักตัวเพื่อสังเกตอาการจนครบ 14 วัน เพราะอาจอยู่ในระยะฟักตัว นอกจากนั้นหากมีอาการทางเดินหายใจผิดปกติควรทดสอบซ้ำทันที หรือถ้ามีอาการตั้งแต่แรกควรตรวจซ้ำด้วยวิธี RT-PCR ที่โรงพยาบาล และแยกตัวเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไว้ก่อน

รองเลขาธิการ สปสช. ยืนยันว่ามาตรการสำคัญที่สุด คือการนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการดูแล โดยในกลุ่มผู้ติดเชื้อสีเขียวหรือกลุ่มไม่มีอาการ-อาการไม่รุนแรงนั้น สปสช.ได้ประสานคลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาล เพื่อจับคู่ดูแลที่บ้าน (Home Isolation) ในส่วนของกลุ่มที่สภาพที่อยู่อาศัยไม่สามารถดูแลที่บ้านได้ จะเป็นการดูแลในระบบแยกกักตัวชุมชน หรือ Community Isolation ซึ่งในขณะนี้พบว่ามียอดผู้ป่วยที่เข้าสู่ระบบ Home Isolation ประมาณ 1 หมื่นกว่าราย 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง