TNN online นายกฯ ไฟเขียว "ลดค่าเทอม" นักศึกษา สูงสุด 50% ม.เอกชน⁣ หัวละ 5 พัน

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

นายกฯ ไฟเขียว "ลดค่าเทอม" นักศึกษา สูงสุด 50% ม.เอกชน⁣ หัวละ 5 พัน

นายกฯ ไฟเขียว ลดค่าเทอม นักศึกษา สูงสุด 50% ม.เอกชน⁣ หัวละ 5 พัน

นายกรัฐมนตรี ถกผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ-กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ไฟเขียว "มาตรการเยียวยาโควิด" ลดค่าเทอมนักศึกษาในสถาบันรัฐ อัตราสูงสุดร้อยละ 50 ขณะที่ ม.เอกชน ภาครัฐจ่ายสนับสนุนให้หัวละ 5,000 บาท

วันนี้ (21 ก.ค.64) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมหารือเรื่องมาตรการให้ความช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และปลัดกระทรวง อว. เข้าร่วมพิจารณาแนวทางการลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา

เช่น พิจารณาให้ส่วนลดเงินบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่นในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เป็นกรณีพิเศษ โดยให้คลอบคลุมทั้งสถานศึกษารัฐและเอกชน

ภายหลังการประชุม น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงการเรียนของนักเรียน การจัดการเรียนการสอนของครู และค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองท่ามกลางวิกฤติโควิด จึงมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดทำโครงการมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ของนักเรียน ครู และผู้ปกครองในสถานการณ์โควิด ซึ่งมาตรการช่วยเหลือนี้จะครอบคลุมทั้งโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) โรงเรียนสังกัด กทม.และโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยจะนำมาตรการการช่วยเหลือเหล่านี้เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบหลักการในวันที่ 27 ก.ค.

ทั้งนี้ มาตการการช่วยเหลือนักเรียน ครู และผู้ปกครองนั้น ซึ่งมีหลักการเบื้องต้น คือ ศธ.จะไม่ทิ้งเด็กคนใดคนหนึ่งไว้ข้างหลังและไปให้ถึงผู้ปกครอง และมาตรการช่วยเหลือสถานศึกษาให้ได้พัฒนาเรื่องสื่อเรียนการสอน โดยมาตรการทั้งหมดจะใช้งบประมาณกลางในการดำเนินการ นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังมีความเป็นห่วงเรื่องการเรียนการสอนออนไลน์ของนักเรียนมัยมศึกษาตอนปลายมากขึ้น โดยอยากให้เปิดช่องทางการเรียนการสอนผ่าน Onair ในรูปแบบการเรียนการสอนของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมให้มากขึ้น เพื่อให้เด็กมีช่องทางการเรียนรู้อย่างหลากหลาย

ในส่วนของกระทรวงอุดมศึกษาฯ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการที่กระทรวงอุดมศึกษาฯ หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีข้อสรุปว่า ลดค่าเล่าเรียนในช่วงสถานการณ์โควิ-19 ที่เป็นนักศึกษาชาวไทย ระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ภาคปกติ ภาคพิเศษ และภาคสมทบ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน โดยพบว่า มีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและในกำกับของรัฐ 35 แห่ง จำนวนนักษึกษา 922,794 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง นักศึกษา 396,858 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง นักศึกษา 133,782 คนสถาบันวิทยาลัยชุมชน 1 แห่ง 11,678 คนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 72 แห่ง นักศึกษา 285,500 คน รวม 155 แห่ง นักศึกษา 1,750,109 คน

โดยสถาบันอุดมศึกษาฯ "ภาครัฐ" ลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยกำหนดเป็นขั้นดังนี้

- ส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท ลดค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียม การศึกษาร้อยละ 50

- ส่วนตั้งแต่ 50,001 บาท ถึง 100,000 บาท ลดร้อยละ 30

- ส่วนตั้งแต่ 100,001 บาทขึ้นไป ลดร้อยละ 10

โดยงบประมาณที่ใช้สนับสนุนจากสถาบันอุดมศึกษาสนับสนุน ร้อยละ 20 และรัฐบาลสนับสนุนเพิ่มเติมอีกร้อยละ 30

ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษา "เอกชน" รัฐบาลสนับสนุนลดค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษาคนละ 5,000 บาท และลดค่าเรียนเพิ่มเติมและสนับสนุนมาตรการอื่น ๆ เช่นสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งจะมีมาตรการขยายเวลาผ่อนชำระหรือผ่อนจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษา ตั้งกองทุนสนับสนุนการศึกษา จัดหาอุปกรณ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาเพื่อใช้ศึกษาออนไลน์ ส่วนลดค่าหอพักนักศึกษา จัดสวัสดิการพิเศษกรณีนักศึกษาป่วยด้วยโรค โควิด-19 เป็นต้น

ด้าน นายเอนก เปิดเผยว่า ส่วนของกระทรวง อว.ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ ที่กระทรวงอุดมศึกษาฯหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีข้อสรุปว่า ลดค่าเล่าเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยจะต้องนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ให้เร็วที่สุด โดยนักศึกษาชาวไทย ระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ภาคปกติ ภาคพิเศษ และภาคสมทบ ในกำกับของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และเอกชน โดยพบว่า มีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและในกำกับของรัฐ 83 แห่ง จำนวนนักศึกษา 922,794 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง นักศึกษา 396,858 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง นักศึกษา 133,782 คนสถาบันวิทยาลัยชุมชน 1 แห่ง 11,678 คนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 72 แห่ง นักศึกษา 285,500 คน รวม 155 แห่ง นักศึกษา 1,750,109 คน

นายเอนก กล่าวต่อว่า สถาบันอุดมศึกษาฯ ภาครัฐ ลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยเกิน 50,000 บาท ถึง 100,000 บาท ลดร้อยละ 30 ส่วนตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป ลดร้อยละ 10 ส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท ลดร้อยละ 50 โดยรัฐบาลและมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐและของรัฐจะแบกรับค่าใช้จ่ายโดยรัฐบาลจะแบกรับมากกว่า 60% ของการลดค่าธรรมเนียมและค่าเทอมและมหาวิทยาลัยรับผิดชอบ 40% โดยครอบคลุมถึงระดับปริญญาตรีปริญญาโทและปริญญาเอก รวมถึงอนุปริญญา และทุกหลักสูตร แต่หากนักศึกษาคนไหนเรียนเกินหนึ่งหลักสูตรจะลดให้เพียงหลักสูตรเดียว

นายเอนก กล่าวอีกว่า ส่วนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน รัฐบาลสนับสนุนลดค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา ต่อหัวคนละ 5,000 บาท เท่ากันหมดทุกมหาวิทยาลัยทุกหลักสูตรทุกระดับส่วนที่เหลือมหาวิทยาลัยไปพิจารณาเอาเอง ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถไปสั่งไม่ได้ว่าจะให้ปรับลดค่าเราเรียนได้กี่เปอร์เซ็นต์ แล้วแต่มหาวิทยาลัยเอกชน.

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง