TNN online เชื้อเดลตาแซงอัลฟา ล่าสุดระบาดแล้ว 72 จังหวัด

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

เชื้อเดลตาแซงอัลฟา ล่าสุดระบาดแล้ว 72 จังหวัด

เชื้อเดลตาแซงอัลฟา ล่าสุดระบาดแล้ว 72 จังหวัด

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงพบ โควิดสายพันธุ์ "เดลตา" ระบาดใน 72 จังหวัด รวม กทม.ที่พบ 76.5%

วันนี้( 19 ก.ค.64) นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงถึงสถานการณ์เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ในไทยว่า ขณะนี้พบสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ระบาดแซงหน้าสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) แล้ว โดยภาพรวมทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 10-16 กรกฎาคม ที่มีการตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อไวรัสจำนวน 3,340 ตัวอย่าง พบเกินครึ่ง ร้อยละ 62.6 เป็นสายพันธุ์เดลตา ส่วนสายพันธุ์อัลฟาพบ ร้อยล ะ34.1 แต่เมื่อดูพื้นที่สำคัญ ที่กรุงเทพมหานคร พบสายพันธุ์เดลตาร้อยละ 76.5 ส่วนในพื้นที่ภูมิภาค ร้อยละ 47.3 ซึ่งแนวโน้มการระบาดก็รวดเร็วตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ 

ทั้งนี้ ภาพรวมจังหวัดที่พบเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตามีทั้งหมด 72 จังหวัด เพิ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว 11 จังหวัด เช่น จ.แม่ฮ่องสอน พบ 3 ราย กาญจนบุรี 1 ราย สมุทรสงคราม 4 ราย ฉะเชิงเทรา 20 ราย ตราด 2 ราย สุรินทร์ 28 ราย ชุมพร 1 ราย นครศรีธรรมราช 2 ราย กระบี่ 2 ราย  พังงา 1 รายและปัตตานี 2 ราย จะเห็นได้ว่ามีการระบาดเกือบทั้งประเทศ เหลือแค่ 4-5 จังหวัดที่ยังไม่พบ 

ทั้งนี้ เหตุผลที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคุณสมบัติของสายพันธุ์เดลตา ที่สามารถแพร่ได้เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา ความรุนแรงและอัตราการป่วยตายยังไม่มีผลแต่ถ้าหากมีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนขึ้นมากจนดูแลไม่ทันก็อาจจะมีผลกระทบได้ 

ส่วนสายพันธุ์เบตา  แอฟฟริกาใต้) ยังพบระบาดในพื้นที่ภาคใต้ เช่น ปัตตานี ยะลา สงขลา พัทลุง ยังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จ.ชุมพร 1 ราย และนอกพื้นที่ภาคใต้ คือ จ.บึงกาฬ 1 รายเป็นคนงานที่กลับมาจากใต้หวัน ส่วนคนใกล้ชิดก็พบอีก 3 ราย  ส่วนในกรุงเทพมหานครที่ก่อนหน้านี้ เคยพบสายพันธุ์เบตาในสัปดาห์นี้ยังไม่พบเพิ่ม และหากไม่พบต่อเนื่องถึงสัปดาห์หน้าคาดว่า จะจำกัดวงการระบาดได้ แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวังและติดตามต่อเนื่อง 

สำหรับการตรวจพบ 2 สายพันธุ์ ยังคงเดิมอยู่ที่ 7 คน ไม่มีการพบเพิ่มเติมและอาการโดยรวมยังสบายดี 

ขณะที่ประเด็นการติดเชื้อซ้ำ นพ.ศุกกิจ ระบุว่า มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่มักพบว่าการติดเชื้อภายหลังอาการป่วยจะไม่รุนแรง ส่วนโอกาสการเกิดเชื้อกลายพันธุ์ พบว่าหากเป็นในพื้นที่ซึ่งพบการติดเชื้อจำนวนสูง สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น กรณีที่พบผู้ติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ ก็สามารถนำไปสู่การเกิดสายพันธุ์ใหม่ แต่ทั้งนี้ยังอยู่ในระบบการเฝ้าระวัง ซึ่งในประเทศไทยขณะนี้ยังไม่พบการเกิด สายพันธุ์ใหม่หรือการกลายพันธุ์

ข่าวแนะนำ