TNN online ทำความรู้จัก โควิดกลายพันธุ์ C.36.3 ข้อมูลยืนยันไม่ใช่สายพันธุ์ไทย

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

ทำความรู้จัก โควิดกลายพันธุ์ C.36.3 ข้อมูลยืนยันไม่ใช่สายพันธุ์ไทย

ทำความรู้จัก โควิดกลายพันธุ์ C.36.3 ข้อมูลยืนยันไม่ใช่สายพันธุ์ไทย

เปิดข้อมูลโควิดสายพันธุ์ C.36.3 พบในอังกฤษ 109 ราย ไม่ใช่ "โควิดสายพันธุ์ไทย" แต่เป็นชาวอียิปต์เข้าไทย ตรวจพบในสถานที่กักตัว และไม่ได้ออกนอก ASQ จากข้อมูลพบ มีผู้ติดเชื้อกว่า 30 ประเทศ ส่วนใหญ่พบในสหรัฐฯ และเยอรมัน

จากกรณี  สำนักงานสาธารณสุของอังกฤษ ได้เปิดเผยเอกสารสำคัญเกี่ยวกับเชื้อโควิด19 ชนิดใหม่ ที่มีความน่าสนใจและน่ากังวล คือ โควิดสายพันธุ์ C.36.3 ที่ระบุต่อท้ายว่า Thailand ex Egypt โดยสายพันธุ์นี้พบในประชาชนในอังกฤษแล้ว 109 ราย และมีการเรียกชื่อเชื้อโควิดสายพันธุ์นี้ว่าเป็น โควิดสายพันธุ์ไทย

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค ได้ถอดรหัสโควิดสายพันธุ์ C.36.3 ของอังกฤษ พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจบนโปรตีนสไปค์คือ ทำความรู้จัก โควิดกลายพันธุ์ C.36.3 ข้อมูลยืนยันไม่ใช่สายพันธุ์ไทย

- การกลายพันธุ์  L452R คือ ลิวซีน (Leucine) หรือ กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้นั้น ได้เปลี่ยนเป็นอาร์จินีน (Arginine) ที่ตำแหน่ง 452 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบในสายพันธุ์อินเดีย B.1617 และ สายพันธุ์ California  ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของเชื้อ แต่ เรื่องหนีภูมิอาจจะไม่มีผลมาก 

- การกลายพันธุ์  R346S คือ อาร์จินีน (Arginine) เปลี่ยนเป็นซีรีน (Serine) ที่ตำแหน่ง 346 ซึ่งอยู่ในส่วนที่โปรตีนสไปค์จับกับโปรตีนตัวรับ ACE2 การเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งนี้อาจทำให้แอนติบอดีจับได้โปรตีนสไปค์ได้ไม่ดี ทำให้การหนีภูมิเกิดขึ้นได้

แต่มิวเตชั่นนี้ยังไม่มีใครศึกษามากนัก และมีการขาดหายไปของกรดอะมิโนตำแหน่งที่ 69-70 เชื่อว่าอาจจะมีผลเกี่ยวกับไวรัสหนีภูมิหรือวัคซีน แต่เนื่องจากสายพันธุ์อังกฤษหนีภูมิไม่ค่อยเก่ง ตำแหน่งนี้จึงไม่ค่อยมีห่วงเท่าใดนัก

- การกลายพันธุ์  Q677H คือ กลูตามีน (Glutamine) ซึ่งเป็นกรด amino acid ชนิดหนึ่ง ได้เปลี่ยนเป็นฮีสทิดีน (Histidine) หรือ กรดอะมิโนจำเป็น ที่ตำแหน่ง 677 ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์นิวยอร์ค คือ B.1.525 ซึ่งกระจายไวปานกลาง และมีความสามารถหนีภูมิได้ปานกลางเช่นเดียวกัน

ทำความรู้จัก โควิดกลายพันธุ์ C.36.3 ข้อมูลยืนยันไม่ใช่สายพันธุ์ไทย

อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบการกลายพันธุ์ที่เชื่อว่าเป็นตำแหน่งสำคัญ เหมือนไวรัสน่ากังวล (VOC) เช่น N501Y ซึ่งพบในสายพันธุ์อังกฤษ หรือ E484K สายพันธุ์แอฟริกาใต้ หรือ P681H /R อยู่ในสายพันธุ์อังกฤษ,อินเดีย,ไนจีเรีย

ไวรัสนี้จึงเป็นเพียงที่น่าจับตามอง (VUI) แต่ ยังไม่มีอะไรน่ากังวลในคุณสมบัติทั้ง 3 ข้อ คือ แพร่ไว รุนแรง หรือ หนีภูมิ 

ทั้งนี้ จากตัวอย่างระบบฐานข้อมูลแบบเปิดจีโนม (GISAID) วันที่ 26 พ.ค.2564 พบว่ามีผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ C.36.3 กว่า 34 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในเยอรมัน 148 ราย ในสหรัฐฯ 144 ราย ในอิยิปต์พบ 33 ราย จึงยังไม่ทราบชัดเจนว่าต้นตอสายพันธุ์ดังกล่าวมาจากประเทศใด 

ทำความรู้จัก โควิดกลายพันธุ์ C.36.3 ข้อมูลยืนยันไม่ใช่สายพันธุ์ไทย

ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยถึง ต้นตอของโควิดสายพันธุ์ C.36.3 นั้น ถูกพบในประเทศไทยจริง เมื่อช่วงต้นปี 2564 เป็นชายชาวอียิปต์ อายุ 33 ปี เดินทางมาจากประเทศอียิปต์ และได้เข้าสู่กระบวนการ state quarantine โรงแรม NOVOTEL สมุทรปราการ 

จากนั้น ได้มีการตรวจเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 64 ขณะนั้น ให้ชื่อว่าเป็นสายพันธุ์ B.1.1 จากนั้นมีการรายงานเข้าไปยังฐานข้อมูลกลาง (GISAID) จาก B.1.1 ก็เปลี่ยนเป็น B.1.1.36 ซึ่งเมื่อเลขยาว ก็มีการปรับเชื่อเป็น C.36 และ C.36.3 โดยการปรับชื่อนั้นเป็นกระบวนการภายในของ GISAID  

ทำความรู้จัก โควิดกลายพันธุ์ C.36.3 ข้อมูลยืนยันไม่ใช่สายพันธุ์ไทย

สำหรับผู้ป่วยรายนี้ รักษาหาย ไม่พบเชื้อ และเดินทางกลับไปแล้ว  โดยหลักการหากต้นตอมาจากอียิปต์ ไม่ควรใช้ ชื่อเรียกเป็นว่า "โควิดสายพันธุ์ไทย" แต่อังกฤษพบผู้ป่วย 109 ราย และได้ค้นข้อมูล ใน GISAID พบว่าเชื้อคนแรกปรากฎที่ไทยจึงตั้งชื่อสายพันธุ์ไทย  ซึ่งตามหลักการจึงไม่ควรเรียก สายพันธุ์ไทย เพราะเป็นผู้ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ 

ขณะที่การแพร่ระบาดของประเทศไทย ยังไม่เอื้อต่อการกลายพันธุ์ เนื่องจากยังพบผู้ติดเชื้อเพียง 60 คนต่อประชากร 1 แสนคน ขณะที่ปัจจัยที่เอื้อต่อการกลายพันธุ์ส่วนใหญ่ เกิดในพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อมากกว่า 75 คนต่อประชากร 1 แสนคน และเชื้อโควิดที่ระบาดในประเทศไทยนับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา มากกว่าร้อยละ 95 ยังคงเป็นเชื้อโควิดจากสายพันธุ์อังกฤษ  

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง