TNN online เจาะข้อมูลประสิทธิภาพ "ซิโนแวค" วัคซีนโควิดเชื้อตาย

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

เจาะข้อมูลประสิทธิภาพ "ซิโนแวค" วัคซีนโควิดเชื้อตาย

เจาะข้อมูลประสิทธิภาพ ซิโนแวค วัคซีนโควิดเชื้อตาย

นักไวรัสวิทยา ชี้ วัคซีนซิโนแวค (Sinovac) มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อโควิด19 ไม่เท่ากันในหลายประเทศ เหตุเจอโควิดกลายพันธุ์ และเป็นวัคซีนเชื้อตายที่ผลิต จาก Vero Cell จากไตลิง ทำให้วัคซีนแต่ละล็อต จะมีสไปค์ที่มีมิวเตชั่นต่างๆกันไป แต่ข้อดีอาจจะสร้างภูมิที่หลากหลายขึ้น แต่สิ่งสำคัญการฉีดวัคซีนช่วยกระตุ้น T-cell เพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดขาวในการจัดการเชื้อโควิด-19

วันนี้ (20 พ.ค.64) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา เปิดเผยข้อมูลกราฟเปรียบเทียบประสิทธิภาพวัคซีนป้องกันการติดเชื้อและก่อโรครุนแรง และค่าแอนติบอดี้ยับยั้งไวรัส พบว่า วัคซีนซิโนแวค อยู่รั้งท้าย ตามมาด้วยของแอสตร้าเซนเนก้า , จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน , วัคซีน COVAXIN ของบริษัทภารัต , วัคซีนสปุตนิก วี , ไฟเซอร์ , วัคซีนโนวาแวกซ์ และอันดับ 1 คือ โมเดอร์นา  

นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์กันว่า เหตุที่ซิโนแวคได้ค่าประมาณ 51% เพราะมาจากบราซิล ซึ่งเป็นผลจากไวรัสกลายพันธุ์ P1 และ P2 อีกทั้ง การศึกษาจากการใช้วัคซีนซิโนแวค 2 เข็มห่างกัน 2 อาทิตย์ ซึ่งหากเว้นระยะมากกว่าเดิม เชื่อว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น   

เจาะข้อมูลประสิทธิภาพ ซิโนแวค วัคซีนโควิดเชื้อตาย

ล่าสุด ประเทศชิลี เผยข้อมูลล่าสุดของการฉีดวัคซีนทั้งของไฟเซอร์และซิโนแวคแก่ประชากรไปแล้ว 43.8% พบว่า วัคซีน CoronaVac ของบริษัท ซิโนแวค มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ 65.3% จากกลุ่มตัวอย่าง 10.2 ล้านคน จนถึงวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา

ส่วนตัวเลขประสิทธิภาพวัคซีนป้องกันการป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็น 87% ป้องกันการเข้าไอซียู เพิ่มขึ้นเป็น 90.3% และป้องกันการเสียชีวิตจากโควิด เพิ่มขึ้นเป็น 86%

เจาะข้อมูลประสิทธิภาพ ซิโนแวค วัคซีนโควิดเชื้อตาย

สำหรับปัจจัยที่วัคซีนซิโนแวคได้ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพโดยรวมต่ำ เนื่องจากการผลิตตั้งแต่ต้นใช้ไวรัสสายพันธุ์ G หรือ สายพันธุ์ดั้งเดิม และเป็นวัคซีนเชื้อตายใช้หัวเชื้อไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยงชื่อว่า Vero ซึ่งเป็นเซลล์ที่แยกมาจากไตของลิง ซึ่งนิยมเนื่องจากปลอดภัยสูง ไม่มีการสร้างโปรตีนแปลกปลอมใดๆ ที่ทำให้เป็นอันตรายต่อมนุษย์

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า Vero cell นี้ไม่เหมือนเซลล์ปอดของมนุษย์ (Calu-3 cell) ที่จะคล้ายการติดเชื้อจริงแต่มีความอันตรายสูง ดังนั้นปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยให้ไวรัสโรคโควิด-19 ติดและเข้าไปแบ่งตัวไม่เหมือนกัน 

เจาะข้อมูลประสิทธิภาพ ซิโนแวค วัคซีนโควิดเชื้อตาย

ไวรัสที่เลี้ยงในเซลล์ Vero ไปนานๆ จนโตดีมากขนาดพอเอาไปทำเป็นวัคซีน จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ดังนั้น ในขวดวัคซีนแต่ละล็อตก็อาจจะมีสไปค์ที่มีมิวเตชั่นต่างๆ กันไป มุมหนึ่งข้อดีคือเราอาจจะสร้างภูมิที่หลากหลายขึ้น แต่ข้อเสียคือโปรตีนส่วนดีๆ ที่เราอยากได้แอนติบอดีชนิดที่ยับยั้งไวรัสเยอะๆ ก็อาจเปลี่ยนไปจนสร้างภูมิไม่ขึ้น 

เจาะข้อมูลประสิทธิภาพ ซิโนแวค วัคซีนโควิดเชื้อตาย

อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนต้านโควิดยังคงมีประโยชน์ เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ไม่ใช่มีแค่แอนติบอดี้ วัคซีนยังช่วยกระตุ้นเม็ดเลือดขาว หรือ T cell ด้วย โดยหลังฉีดวัคซีนภูมิคุ้มกันจะเริ่มทำงาน เม็ดเลือดขาวจะเข้าไปจับกับเชื้อโรคที่บุกรุกและกำจัด

เจาะข้อมูลประสิทธิภาพ ซิโนแวค วัคซีนโควิดเชื้อตาย

เจาะข้อมูลประสิทธิภาพ ซิโนแวค วัคซีนโควิดเชื้อตาย

เปรียบเทียบง่ายๆ คือ ร่างกายเราคือนักรบ แอนติบอดี้ คือ อาวุธ หรือ ดาบ ที่คอยต่อสู้กับไวรัส ทำหน้าที่ป้องกันการโจมตีโดยตรง ส่วน T cell คือ เสื้อเกราะ ที่ไม่ได้ใช้จัดการกับไวรัสแต่เป็นตัวช่วยป้องกันไม่ให้เราบาดเจ็บจนถึงชีวิต 

วัคซีนทุกชนิดให้เสื้อเกราะ ถ้าไม่ฉีดเราจะไม่มีทางชนะเลยนอกจากไวรัสไม่เลือกมาโจมตีเราเท่านั้นเอง...

เจาะข้อมูลประสิทธิภาพ ซิโนแวค วัคซีนโควิดเชื้อตาย

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง