TNN online สถานการณ์วิกฤต! ศิริราช ขยายหอผู้ป่วยเพิ่ม คนไข้กว่าร้อยรายอาการหนัก

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

สถานการณ์วิกฤต! ศิริราช ขยายหอผู้ป่วยเพิ่ม คนไข้กว่าร้อยรายอาการหนัก

สถานการณ์วิกฤต! ศิริราช ขยายหอผู้ป่วยเพิ่ม คนไข้กว่าร้อยรายอาการหนัก

คณบดีศิริราชฯ เผย สถานการณ์การรักษาผู้ติดเชื้อโควิดระลอก 3 ถือว่าหนักกว่ารอบที่แล้ว ผู้ป่วยติดเชื้อกว่า 100 คน ที่ทำการรักษาเป็นผู้ป่วยวิกฤต เตรียมขยายหอผู้ป่วยเพิ่มในการรักษาผู้ติดเชื้อ ชี้ หากคนไทยยังคงช่วยกันทำมาตรการสาธารณสุขที่ประกาศไว้ เชื่อว่าอีก 2 เดือนตัวเลขผู้ติดเชื้อจะค่อยๆ ลดลง

วันนี้ (20 พ.ค.64) ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ได้อธิบายถึงเชื้อโควิดเมื่ออยู่ในอากาศ อุณหภูมิ 25 องศาฯ ไม่กี่นาที เชื้อก็จะสลายไป ส่วนหากเชื้ออยู่ในน้ำลาย สารคัดหลั่ง เชื้อก็จะอยู่ได้หลายชั่วโมง แต่สุดท้ายก็จะสลายไป โดยเชื้อจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อเข้าไปอยู่ในสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะในคน แต่หากบุคคลนั้นมีภูมิคุ้มกันในการจัดการเชื้อ ดังนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ คือ การฉีดวัคซีน

สถานการณ์วิกฤต! ศิริราช ขยายหอผู้ป่วยเพิ่ม คนไข้กว่าร้อยรายอาการหนัก

ทั้งนี้ สำหรับ 2 วิธีที่จะทำให้เรามีภูมิคุ้มกันเยอะพอ วิธีที่1 คือ ติดเชื้อ หากติดเชื้อแล้วไม่เสียชีวิต ถ้าเป็นคนปกติมีแนวโน้ม ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน แต่ทุกๆ 100 คนของการติดเชื้อในเวลานี้ 2.1 คนเสียชีวิต ไม่มีใครรู้ว่าเราจะอยู่ใน 2% นั่นหรือไม่ หรืออยู่ใน 98% ที่รอด แต่อีกวิธีหนึ่งคือการฉีดวัคซีน 

"ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 1,300 ล้านโดส พบว่า อัตราการเสียชีวิตจากวัคซีนโดยตรงน้อยมาก ส่วนอัตราการเกิดภาวะรุนแรง หลังรับวัคซีนในต่างประเทศ อยู่ประมาณ 3-4 ต่อ 1 ล้านของการฉีดวัคซีน แต่มองดูประเทศไทย บ้านเรามีโรคบางอย่างน้อยกว่าคนในฝั่งตะวันตกถึง 25% โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมากๆ ในคนไทย ต่อภาวะอาการลิ่มเลือดอุดตันนั้น พบอยู่ในสัดส่วน 1 ต่อ 1 ล้านการฉีด ถ้าอยากทำให้ภูมิคุ้มกันเยอะพอกว่าโควิด-19 อยู่ไม่ได้ เราต้องสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เร็วที่สุด มากที่สุด" ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าว

สถานการณ์วิกฤต! ศิริราช ขยายหอผู้ป่วยเพิ่ม คนไข้กว่าร้อยรายอาการหนัก

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ ระบุอีกว่า ตอนนี้มีหอผู้ป่วยธรรมดาของศิริราช ถูกปรับมาเป็นหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตเกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งใช้เครื่องไฮโฟลล์กว่า 100 เตียง ถือว่าสถานการณ์ขณะนี้หนักมาก เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์การติดเชื้อในกรุงเทพมหานครยังน่าเป็นห่วง หากยังไม่สามารถควบคุมการติดเชื้อได้ ตามมาตรการที่ออกมาบังคับใช้ ตัวเลขผู้ติดเชื้อก็จะยังไม่ลดลง แต่หากยังคงทำตามมาตรการที่ประกาศไว้ เชื่อว่าอีก 2 เดือนตัวเลขผู้ติดเชื้อจะค่อยลดลง น่าจะอยู่ 2 หลักต้นๆ ถึง 3 หลักปลายๆ แต่หากเมื่อใดมีคลัสเตอร์การระบาดใหม่ หรือที่น่าห่วงมาก คือ คนต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย โดยเฉพาะทางชายแดนธรรมชาติ หากไม่มีการคุมเข้มเกรงว่าในระยะเวลา 3 เดือนอาจควบคุมการติดเชื้อได้ไม่เต็มที่ 

สถานการณ์วิกฤต! ศิริราช ขยายหอผู้ป่วยเพิ่ม คนไข้กว่าร้อยรายอาการหนัก

ด้าน รศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการ รพ.ศิริราช ระบุว่า การระบาดในระลอก 3 เตียงไอซียูที่ดูแลผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจาก 7 เตียงอยู่ที่ 16 เตียงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้ปรับหอผู้ป่วยไอซียูเด็กติดเชื้อ มารักษาผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนักเพิ่ม เมื่อช่วงเช้าวันนี้มีคนไข้ที่วิกฤตใส่เครื่องช่วยหายใจอยู่ประมาณ 10 คน โดยในรอบนี้คนไข้อาการหนักกว่ารอบที่ผ่านมา ขณะที่คนไข้ 100 กว่ารายที่อยู่ในศิริราช เปลี่ยนเป็นคนไข้หนักเกือบทั้งหมด ส่วนคนไข้ที่มีอาการน้อยจะส่งต่อไปยังรพ.สนาม หรือรพ.ที่กระทรวงสาธารณสุข หรือ กทม.จัดตั้งขึ้น แต่หากอาการไม่ดี หรือมีอาการรุนแรงขึ้นก็จะถูกส่งกลับมารักษายังเดิม 

ในสถานการณ์ขณะนี้รพ.กำลังขยายหอผู้ป่วย เพื่อรับคนไข้โควิดที่มีอาการปานกลาง ถึง อาการหนัก เพิ่มขึ้นอีก 36 เตียง เนื่องจากคาดการณ์ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดยังไม่ยุติในเร็ววันนี้ โดยหวังว่าการที่จะมีวัคซีนอาจจะช่วยชะลอสถานการณ์การติดเชื้อได้ คาดการณ์ว่าแนวโน้มจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม แพทย์ พยาบาลในศิริราชฯ ตอนนี้ฉีดวัคซีนเกือบทั้งหมดแล้ว.

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง