TNN online ผลวิจัยออกแล้ว! วัคซีนโมเดอร์นาต้านโควิดบราซิล-แอฟริกาได้

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

ผลวิจัยออกแล้ว! วัคซีนโมเดอร์นาต้านโควิดบราซิล-แอฟริกาได้

ผลวิจัยออกแล้ว! วัคซีนโมเดอร์นาต้านโควิดบราซิล-แอฟริกาได้

โมเดอร์นาเผยผลทดลองวัคซีนกระตุ้นสามารถสร้างภูมิต้านโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้-บราซิลได้

วันนี้(6 .. 64)บริษัทโมเดอร์นา อิงค์ประกาศว่า วัคซีนของบริษัทสำหรับฉีดกระตุ้น (booster shot) เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 นั้น สามารถเสริมสร้างการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.351 และ P.1 ที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้และบราซิลตามลำดับ โดยข้อมูลขั้นต้นดังกล่าวได้จากการทดลองทางคลินิกที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้


ในการทดลองดังกล่าว โมเดอร์นาใช้วัคซีนหนึ่งโดสในปริมาณ 50 ไมโครกรัม ฉีดให้กับผู้ที่เคยฉีดวัคซีนโควิด-19 มาแล้ว และพบว่า การฉีดวัคซีนกระตุ้นได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองของแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม รวมถึงสายพันธุ์ใหม่อย่าง B.1.351 และ P.1 ด้วยซึ่งแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ รวมถึงในสหรัฐ


โมเดอร์นายังระบุว่า การฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนตัวใหม่ของบริษัทซึ่งเรียกว่า mRNA-1273.351 ยังสามารถเสริมสร้างการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.351 จากแอฟริกาใต้ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อฉีดเพิ่มเติมนอกเหนือจากวัคซีนตัวปัจจุบันของบริษัท ทั้งนี้ วัคซีนตัวใหม่เป็นการฉีดกระตุ้นเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์ B.1.351 โดยเฉพาะ


นายสตีเฟน แบนเซล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทโมเดอร์นา อิงค์กล่าวว่า "ขณะที่เราหาทางหยุดยั้งโรคระบาด เราก็ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้ารับมือกับไวรัสที่กลายพันธุ์อยู่ตลอด ข้อมูลชุดใหม่นี้เป็นแรงผลักดันให้เรามั่นใจได้ว่า แนวทางการวิจัยวัคซีนเพื่อฉีดกระตุ้นที่เราทำนั้นจะเป็นเกราะป้องกันเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่พบใหม่"


โมเดอร์นาระบุถึงผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนว่ามีอาการเหมือนกับการฉีดวัคซีนโดสที่สองตามที่มีการรายงานในผลการศึกษาก่อนหน้านี้ โดยอาการดังกล่าวได้แก่ การเจ็บปวดบริเวณจุดที่ฉีดวัคซีนเหนื่อยล้าปวดศีรษะ รวมถึงการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ


ข้อมูลชุดใหม่ดังกล่าวมีการเผยแพร่ออกมา หลังจากที่บรรดาผู้ผลิตวัคซีนและนักวิทยาศาสตร์ออกมาระบุถึงแนวโน้มที่ประชาชนจะต้องฉีดวัคซีนกระตุ้น รวมถึงการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 เพิ่มเติมทุกปี เช่นเดียวกับวัคซีนไข้หวัดตามฤดูกาล



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง