TNN online ทีมแพทย์จุฬาฯเสนอแผนกู้ชีวิตหาก “โควิดรุนแรง”

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

ทีมแพทย์จุฬาฯเสนอแผนกู้ชีวิตหาก “โควิดรุนแรง”

ทีมแพทย์จุฬาฯเสนอแผนกู้ชีวิตหาก “โควิดรุนแรง”

แพทย์จุฬาฯรวมทีมโพสต์เฟซบุ๊ก เสนอแผนรับมือโควิด หากสถานการณ์รุนแรงขึ้น โดยย้ำใจความสำคัญ ต้องเร่งตรวจคัดกรองหาผู้ป่วยให้มากที่สุด

วันนี้ ( 3 .. 64 ).นพนิธิ มหานนท์ ,นายแพทย์เขตต์ ศรีประทักษ์  และศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา  โพสต์ข้อความ เสนอแผนรับมือโควิด หากสถานการณ์รุนแรงขึ้น ลงบนเฟซบุ๊ก โดยมีใจความสำคัญว่า  ต้องมีการวางแผนในพื้นที่  ตั้งแต่ ระดับบ้าน  โรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนาม  ที่ใช้รักษา “อาการหนัก ต้องสอดท่อได้ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น หมอธีระวัฒน์ ไล่เรียงแนวทางแผนรับมือ คือ 


อันดับแรก ต้องประเมินสถานการณ์พื้นที่ให้ได้ ว่ามีคนติดเชื้อทั้งหมดกี่คน ด้วยการตรวจคัดกรองมากที่สุด ไม่ใช่การสุ่ม ต่อมาให้ประมาณการสูงสุดไว้ก่อนเลยว่า คนติดเชื้อ  20% จะมีอาการ ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดนี้ 


หากรักษาเองที่บ้าน ต้องรู้จักวินัยไม่แพร่ให้คนในบ้าน ให้อยู่ในบ้านและต้องรู้สัญญาณเตือนภัย ว่าอาการเช่นไร ต้องแจ้งสายด่วน ต้องเข้าโรงพยาบาล ในจำนวนนี้ ต้องประเมินไว้ว่า น่าจะมี 5% ต้องอยู่ที่โรงพยาบาลจริง หากอาการหนักถึงให้สอดท่อได้


ส่วนคนติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย ที่อยู่ที่บ้านไม่ได้เพราะมีข้อจำกัด ให้อยู่ที่โรงพยาบาลสนามขั้นที่หนึ่ง และพร้อมไปโรงพยาบาลจริง โดยด่วนเมื่อพบมีอาการหนักขึ้นอีกระดับ


ส่วนหลักปฏิบัติที่โรงพยาบาล ต้องดูจำนวนเตียงในโรงพยาบาลแยกออกเป็น ห้องความดันลบครบสูตร ห้องกึ่งความดันลบ และหอผู้ป่วยรวมแยก นอกจากนี้ทีมแพทย์ต้องประเมินเครื่องช่วยหายใจแบบที่สอดท่อปั๊มอากาศเข้าปอดไม่ใช่เพียงเครื่องออกซิเจน  หรือที่อัดอากาศ ผ่านจมูก  


ในส่วนทีมดูแลผู้ป่วย โรงพยาบาลต้องประเมินจำนวนบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญในการดูผู้ป่วยวิกฤติและทีม โดยแต่ละทีมประกอบด้วย หมอดมยา พยาบาล หมอโรคไต หมอโรคหัวใจ หมอโรคติดเชื้อ ว่าจำต้องมีผลัดละกี่คนต่อ 8 ชั่วโมง


และหากสถานการณ์เลวร้ายที่สุด จนจำนวนห้องและทีมไม่พอ ดังที่วางแผนไว้ตอนต้น เสนอให้แยกโรงพยาบาลสนาม ที่ไม่ติดเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก แยกส่วน อาการน้อย ปานกลาง ใช้ออกซิเจน และ ที่อัดอากาศทางจมูก ไม่สอดท่อหนัก แบบสอดท่อ และ ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบพกพา เคลื่อนย้ายได้


วิธีทั้งหมดในโรงพยาบาลสนามจะใช้บุคลากรชุดเดียวกันและสามารถครอบคลุมและประเมินผู้ป่วยอาการระดับต่างๆและสามารถมองไปข้างหน้าได้ว่าต้องเพิ่มโรงพยาบาลสนาม เป็นเท่าใด 


พร้อมย้ำว่า ไม่ทำโรงพยาบาลสนามให้เหมือนโรงพยาบาล เพราะความพร้อมของไทยไม่เท่าจีน ที่ทำเสร็จใน 7 วัน โดยทำเต้นท์ความดันลบเพราะแต่ละเต็นท์จะสามารถจุได้แปดถึง 15 คนเท่านั้น และยุ่งยากในการดูแต่ละเต้นท์


ก่อนหน้านี้ .นพ.ธีระวัฒน์เพิ่งแสดงข้อกังวล เดี่ยวกับสายพันธุ์แอฟริกาใต้ที่มีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์อังกฤษ ว่า กลัวจะเล็ดลอดเข้ามาแพร่ในไทยได้ จากการนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างเช่น  เหตุการณ์เดือนมกราคม ที่ผ่านมา แม้เราตั้งการ์ดสูง แต่การปฏิบัติยังไม่เคร่งครัดเท่านโยบาย ทำให้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ เล็ดลอดเข้ามาเช่นเดิม ดังนั้น กรณีสายพันธุ์แอฟริกาอาจเป็นเหมือนกัน หากไม่ปฏิบัติตามหลักป้องกันเคร่งครัด 


ทั้งนี้อยากให้ถอดบทเรียนจากประเทศอังกฤษมาใช้ในไทย ที่มีจำนวนประชากรไม่ต่างกัน แต่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ นั่นเป็นเพราะมีการตรวจคัดกรองคนเข้าพื้นที่อย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นระดับ บุคคลหรือหน่วยงาน ต่างให้ความร่วมมือเต็มที่ ที่สำคัญ มีการตรวจหาเชื้อเข้าถึงประชากรทุกคน และยังมีการตรวจซ้ำทุกๆ 7 วัน เพื่อประเมิณสถานการณ์ ซึ่งหากไทยทำได้ จะช่วยให้มีเวลาฉีดวัคซีนครอบคลุมได้ หากครอบคลุม 90% จะดีที่สุด

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง