TNN online หมอศิริราชแนะวิธีต้องรอด! ลดการเสียชีวิตจากโควิด 19

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

หมอศิริราชแนะวิธีต้องรอด! ลดการเสียชีวิตจากโควิด 19

หมอศิริราชแนะวิธีต้องรอด! ลดการเสียชีวิตจากโควิด 19

หมอศิริราชเผยแนวทางการลดอาการป่วยหนักจากโรคโควิด 19 ด้วยวิธีง่ายๆแค่ตั้งการ์ดสูง-ออกกำลังกายเป็นประจำ

วันนี้ ( 2 พ.ค. 64 )เพจบันทึกน่ารู้ by ดร.อดุลย์ แพทย์จากศิริราช  ให้ข้อมูลว่า เราจะพบคนที่ตายจากโควิด 19 เพียง 1% ของคนป่วยทั้งหมด แต่ถ้า หากมีการป่วยจำนวนมาก ก็จะมีคนเสียชีวิตมากตามไปด้วย  ซึ่งโควิดระลอกใหม่นี้  อาการรุนแรง ปอดอักเสบรุนแรง พบสูงขึ้นกว่า ทุกรอบ ซึ่ง ปกติ คนไข้ป่วยหนักจะอยู่ที่ 20% แต่รอบนี้สูงถึง 30%  ซึ่งวิธีการลดอัตราการตายทางการแพทย์ ได้แก่ การให้ยาต้านไวรัสแต่เนิ่นๆ การให้ยาสเตียรอยด์ การใช้ออกซิเจนแรงดันสูง การให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ รวมถึงการฉีดวัคซีน ฯลฯ ทั้งหมดนี้ ช่วยให้การตายลดลง แต่ยังไม่หมดไป เพราะถ้าป่วยมาก ก็ยังตายมากอยู่ดี


ดังนั้น ถ้าจะแก้ไข ป้องกันไม่ให้คนป่วยมีแนวทางดังนี้  

หมอศิริราชแนะวิธีต้องรอด! ลดการเสียชีวิตจากโควิด 19

1.มาตรการที่ไม่ใช่วัคซีน คือ ใส่หน้ากาก ล้างมือ รักษาระยะห่าง งดชุมนุม งดสังสรรค์ งดจัดเลี้ยง เพราะ เชื้อไม่สามารถกระโดดไปติดคนอื่นได้ ก็จะไม่มีคนป่วยรายใหม่ (ส่วนที่ติดไปแล้ว ก็เอาไปรักษา ป้องกันไม่ให้แพร่ ก็หยุดโรคได้ ) 


2.มาตรการด้านวัคซีน คือ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของทุกคน ที่ได้รับ วัคซีน รู้จักเชื่อตัวนี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ก็เร่งระดมภูมิคุ้มกันร่างกาย มากำจัดเชื้อ ไม่เปิดโอกาสให้มันโต คนที่ฉีดวัคซีนแล้ว โอกาสป่วยลดลง 50% เป็นอย่างน้อย โอกาสป่วยหนัก ลดลง 80% เป็นอย่างน้อย และ โอกาส เสียชีวิต ลดลงเกือบ 100%


3.มาตรการให้ออกกำลังกายประจำ ช่วยลดความเสี่ยงการป่วยหนัก ถ้าเป็น covid19 จากการศึกษาตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ ศึกษาในผู้ป่วยอายุมากว่า 18 ปี ทางตอนใต้ของแคลิฟอร์เนีย จำนวน 48,440 คน ที่ตรวจพบเชื้อ covid19 ในช่วง มกราคม – ตุลาคม 2563เปรียบเทียบ ความถี่ในการออกกำลังกาย กับ ผลของการต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ป่วยหนักนอนICU และเสียชีวิต 


โดยได้แบ่งความถี่ในการออกกำลังกายในช่วง 2 เดือนก่อนป่วย  คือ  1.ออกกำลังกายเป็นประจำ(มากกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์)  2.ออกกำลังกายบ้าง(11-149นาทีต่อสัปดาห์) 

3.ไม่ได้ออกกำลังกาย(หรือน้อยกว่า10นาทีต่อสัปดาห์)  ผลการศึกษา พบความแตกต่างชัดเจน คือ ผู้ป่วยที่ออกกำลังกายน้อย มีความเสี่ยงที่จะป่วยจนต้องเข้า รพ.และเข้า ICU หรือ เสียชีวิต มากกว่า คนออกกำลังกายเป็นประจำเกือบเท่าตัว (1.89 เท่า) และคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเลย มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เป็น 2.26 เท่า 


ทั้งหมดนี้ ทั้งความเสี่ยงในการต้องเข้า รพ, ป่วยหนักจนต้องเข้า ICU และ เสียชีวิต เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ในยามยังไม่ป่วยก็หมั่นมาออกกำลังกาย เพื่อทำร่างกายให้แข็งแรง


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง