TNN online เช็กด่วน! "โชเฟอร์ - กระเป๋ารถเมล์" ติดโควิดอีก 4 ราย

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

เช็กด่วน! "โชเฟอร์ - กระเป๋ารถเมล์" ติดโควิดอีก 4 ราย

เช็กด่วน! โชเฟอร์ - กระเป๋ารถเมล์ ติดโควิดอีก 4 ราย

ขสมก. แจ้งด่วนพบ "คนขับ - กระเป๋ารถเมล์" ติดโควิด 4 ราย พร้อมเผยไทม์ไลน์อย่างละเอียด

วันนี้( 30 เม.ย.64) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) แจ้งว่า ขออภัยที่ต้องแจ้งให้ทราบว่า เนื่องจากเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 พนักงานเก็บค่าโดยสารรถธรรมดา สาย 4 เพศหญิง อายุ 52 ปี (ปฏิบัติหน้าที่เก็บค่าโดยสารช่วงกะบ่าย)ได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)  ณ โรงพยาบาลบางพลี จังหวัดสมุทรปราการต่อมาเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 เวลา 10.00 น. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบางพลี ได้แจ้งให้ทราบว่าพนักงานคนดังกล่าวเป็นผู้ติดเชื้อฯ จึงให้พนักงานอยู่ที่บ้านเพื่อรอรถพยาบาลไปรับ แต่พนักงานได้ให้ญาติพาไปส่งที่โรงพยาบาลบางพลี ในเวลา 13.00 น. ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ได้ส่งพนักงานไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสนาม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว จากผู้อำนวยการเขตการเดินรถที่ 4 จึงได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ดังต่อไปนี้

1. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการแจ้งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อแจ้งรายละเอียดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) (ตามแนวทางปฏิบัติกรณีพบผู้ติดเชื้อฯ)โดยได้ประสานเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุข

2. พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อย่างเคร่งครัด โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ รวมทั้ง มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้ง ซึ่งอุณหภูมิร่างกายของพนักงาน ตั้งแต่วันที่ 16 – 25 เมษายน 2564 อยู่ที่ 36.5 องศาเซลเซียส โดยไทม์ไลน์ของพนักงานสรุปได้ ดังนี้

- พนักงานเก็บค่าโดยสารรถธรรมดา สาย 4

วันที่ 16 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข 4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 22.50 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 17 เมษายน 2564 วันหยุดประจำสัปดาห์ เวลา 09.00 น. เดินทางไปฝังเข็มเพื่อรักษาอาการปวดขา ณ โรงพยาบาลบางใหญ่  และเดินทางกลับบ้าน เวลา 13.00 น.

วันที่ 18 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 15.00 – 23.50 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 19 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข 4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 21.50 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 20 - 21 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 13.45 – 22.00 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 22 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข 4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 14.30 – 23.20 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที โดยพนักงานได้รับประทานอาหารเย็น บนโต๊ะเดียวกับพนักงานเก็บค่าโดยสารรถธรรมดา สาย 4 เพศชาย อายุ 37 ปี

ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อฯ ตามที่องค์การได้ออกประกาศ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 

วันที่ 23 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 13.30 – 21.30 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที โดยพนักงานเริ่มมีอาการปวดศีรษะ เวียนหัวและอาเจียน

วันที่ 24 เมษายน 2564 วันหยุดประจำสัปดาห์ เวลา 09.00 น. เดินทางไปฝังเข็มเพื่อรักษาอาการปวดขา ณ โรงพยาบาลบางใหญ่  และเดินทางกลับบ้าน เวลา 13.00 น.

วันที่ 25 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 15.30 – 23.40 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 26 เมษายน 2564 พนักงานขออนุญาตหัวหน้างานลาหยุด เนื่องจากมีอาการปวดศีรษะ เวลา 10.00 น. ได้เดินทางไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการปวดศีรษะ ณ โรงพยาบาลบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

โดยแพทย์ให้พนักงานมาตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ในช่วงเย็น ต่อมาเวลา 19.00 น. พนักงานได้เดินทางมาตรวจหาเชื้อฯ ที่โรงพยาบาลบางพลี และเดินทางกลับบ้าน ในเวลา 19.30 น.

วันที่ 27 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน

วันที่ 28 เมษายน 2564 เวลา 10.00 น. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบางพลี ได้แจ้งให้ทราบว่า

พนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ จึงให้พนักงานอยู่ที่บ้าน เพื่อรอรถพยาบาลไปรับ แต่พนักงานได้ให้ญาติพาไปส่งที่โรงพยาบาลบางพลี ในเวลา 13.00 น. ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ได้ส่งพนักงานไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสนาม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ

3. พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงกะบ่าย ซึ่งเป็นกะสุดท้ายของแต่ละวัน จึงไม่มีพนักงานขับรถคนใดนำรถไปขับต่อ อีกทั้ง เมื่อพนักงานขับรถโดยสารนำรถกลับเข้าอู่ในแต่ละรอบ จะมีการฉีดพ่นทำความสะอาดภายในรถโดยสารทันทีด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70 % จึงมั่นใจได้ว่ารถโดยสารขององค์การมีความสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) นอกจากนี้องค์การได้พักการใช้งานรถโดยสารธรรมดา สาย 4 จำนวน 1 คัน ที่พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่ คือ รถโดยสารหมายเลข 4 – 80368 เป็นระยะเวลา 3 วัน เพื่อทำการฉีดพ่น ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค ภายในรถ รวมถึง อู่จอดรถและท่าปล่อยรถโดยสาร

4. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการตรวจสอบ พบว่าพนักงานขับรถโดยสาร จำนวน 2 คน ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารคันเดียวกับพนักงานผู้ติดเชื้อ จึงให้พนักงานขับรถโดยสารดังกล่าวหยุดงานไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ต่อมาพบว่าพนักงานขับรถโดยสาร สาย 4 เพศหญิง อายุ 56 ปี ซึ่งปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารคันเดียวกับพนักงานดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อฯ ส่วนพนักงานขับรถโดยสารอีก 1 ราย อยู่ระหว่างรอผลการตรวจ หากได้ผลเป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป


- พนักงานเก็บค่าโดยสารรถธรรมดา สาย 47

เพศหญิง อายุ 54 ปี (ปฏิบัติหน้าที่เก็บค่าโดยสารกะบ่าย) เข้ารับการตรวจ ต่อมาวันที่ 28 เมษายน 2564 

ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรคว่าพนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ จึงให้อยู่ที่บ้าน เพื่อรอรถพยาบาลมารับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะในวันที่ 29 เมษายน 2564

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว จากผู้อำนวยการเขตการเดินรถที่ 4จึงได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ดังต่อไปนี้

1. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการแจ้งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อแจ้งรายละเอียดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) (ตามแนวทางปฏิบัติกรณีพบผู้ติดเชื้อฯ)โดยได้ประสานเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุข

2. พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อย่างเคร่งครัด 

โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ รวมทั้ง มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้ง ซึ่งอุณหภูมิร่างกายของพนักงาน ตั้งแต่วันที่ 20 – 22 เมษายน 2564 อยู่ที่ 36.5 องศาเซลเซียส โดยไทม์ไลน์ของพนักงานสรุปได้ ดังนี้

วันที่ 20 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 47 หมายเลข 4 – 40018 ตั้งแต่เวลา 14.45 – 23.10 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 21 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 47 หมายเลข 4 – 40495 ตั้งแต่เวลา 14.45 – 23.10 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 22 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 47 หมายเลข 4 – 40495 ตั้งแต่เวลา 13.10 – 21.20 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที  โดยพนักงานเริ่มมีอาการไอและจาม

วันที่ 23 – 25 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน โดยเริ่มมีไข้และตัวร้อน    

วันที่ 26 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน เวลา 08.00 น. ได้เดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลตำรวจ และเดินทางกลับบ้าน ในเวลา 11.30 น.  

วันที่ 27 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน เวลา 10.00 น. เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) จากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ณ บริเวณวัดสะพาน และเดินทางกลับบ้าน ในเวลา 10.30 น.  

วันที่ 28 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน เวลา 18.30 น. ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรคว่า พนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ จึงให้อยู่ที่บ้าน เพื่อรอรถพยาบาลมารับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ในวันที่ 29 เมษายน 2564

วันที่ 29 เมษายน 2564 เวลา 15.00 น.เจ้าหน้าที่นำรถพยาบาลมารับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ

3. พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงกะบ่าย ซึ่งเป็นกะสุดท้ายของแต่ละวัน จึงไม่มีพนักงานขับรถคนใดนำรถไปขับต่อ อีกทั้ง เมื่อพนักงานขับรถโดยสารนำรถกลับเข้าอู่ในแต่ละรอบ จะมีการฉีดพ่นทำความสะอาดภายในรถโดยสารทันทีด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70 % จึงมั่นใจได้ว่ารถโดยสารขององค์การมีความสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) นอกจากนี้ องค์การได้พักการใช้งานรถโดยสารธรรมดา สาย 47 จำนวน 2 คัน ที่พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่

คือ รถโดยสารหมายเลข 4 – 40018 และ 4 - 40495 เป็นระยะเวลา 3 วัน เพื่อทำการฉีดพ่นทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคภายในรถ รวมถึง อู่จอดรถและท่าปล่อยรถโดยสาร

4. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการตรวจสอบ พบว่าพนักงานขับรถโดยสาร จำนวน 1 คน ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารคันเดียวกับพนักงานผู้ติดเชื้อ 

จึงให้พนักงานขับรถโดยสารดังกล่าวหยุดงานไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) หากได้ผลเป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป


- พนักงานเก็บค่าโดยสารรถธรรมดา สาย 4

เพศหญิง อายุ 56 ปี (ปฏิบัติหน้าที่ขับรถโดยสารช่วงกะบ่าย) ได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) 

ณ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มศว. องครักษ์ ต่อมาเวลา 19.30 น. เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ได้แจ้งให้ทราบว่า พนักงานคนดังกล่าวเป็นผู้ติดเชื้อฯ จึงให้อยู่ที่บ้าน เพื่อรอรถพยาบาลมารับไปรักษาตัว

ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มศว. องครักษ์ ในวันที่ 29 เมษายน 2564

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว จากผู้อำนวยการเขตการเดินรถที่ 4 จึงได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ดังต่อไปนี้

1. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการแจ้งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อแจ้งรายละเอียดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) (ตามแนวทางปฏิบัติกรณีพบผู้ติดเชื้อฯ) โดยได้ประสานเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุข

2. พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อย่างเคร่งครัด โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสาร และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ รวมทั้ง มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้ง ซึ่งอุณหภูมิร่างกายของพนักงาน ตั้งแต่วันที่ 16 – 25 เมษายน 2564 อยู่ที่ 36.5 องศาเซลเซียส โดยไทม์ไลน์ของพนักงานสรุปได้ ดังนี้

วันที่ 16 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข 4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 22.50 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 17 เมษายน 2564 วันหยุดประจำสัปดาห์ เวลา 09.00 น. เดินทางไปฝังเข็ม เพื่อรักษาอาการปวดขา ณ โรงพยาบาลบางใหญ่  และเดินทางกลับบ้าน เวลา 13.00 น.

วันที่ 18 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข 4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 15.00 – 23.50 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 19 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข 4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 21.50 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 20 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อน เวลา 08.00 น. เดินทางไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรคเบาหวาน ความดัน ณ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมศว. องครักษ์ และเดินทางกลับบ้าน ในเวลา 16.00 น.   

วันที่ 21 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 13.45 – 22.00 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 22 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 14.30 – 23.20 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 23 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 13.30 – 21.30 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 24 เมษายน 2564 วันหยุดประจำสัปดาห์ เวลา 09.00 น. เดินทางไปฝังเข็มเพื่อรักษาอาการปวดขา ณ โรงพยาบาลบางใหญ่  ต่อมาเวลา 13.00 น. เดินทางไปเข้าร่วมประชุมที่สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 06 และเดินทางกลับบ้าน ในเวลา 19.00 น.

วันที่ 25 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารธรรมดา สาย 4 หมายเลข4 – 80368 ตั้งแต่เวลา 15.30 – 23.40 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 26 – 27 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน

วันที่ 28 เมษายน 2564 พนักงานได้รับแจ้งว่า พนักงานเก็บค่าโดยสารรถธรรมดา สาย 4 เพศหญิง อายุ 52 ปี ที่ปฏิบัติหน้าที่บนรถด้วยกันเป็นประจำทุกวัน เป็นผู้ติดเชื้อฯ  เวลา 14.00 น. พนักงานได้เดินทางไปตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ณ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี มศว. องครักษ์ และเดินทางกลับบ้าน ในเวลา 16.00 น. ต่อมาเวลา 19.30 น. เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ได้แจ้งให้ทราบว่าพนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ จึงให้อยู่ที่บ้าน เพื่อรอรถพยาบาลมารับไปรักษาตัว

ที่ศูนย์ฯ ในวันที่ 29 เมษายน 2564 เวลา 09.00 น..

3. พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงกะบ่าย ซึ่งเป็นกะสุดท้ายของแต่ละวัน จึงไม่มีพนักงานขับรถคนใดนำรถไปขับต่อ อีกทั้ง เมื่อพนักงานขับรถโดยสารนำรถกลับเข้าอู่ในแต่ละรอบ จะมีการฉีดพ่นทำความสะอาดภายในรถโดยสารทันทีด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70 % จึงมั่นใจได้ว่ารถโดยสารขององค์การมีความสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) นอกจากนี้ องค์การได้พักการใช้งานรถโดยสารธรรมดา สาย 4 จำนวน 1 คัน ที่พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่ คือ รถโดยสารหมายเลข 4 – 80368 เป็นระยะเวลา 3 วัน เพื่อทำการฉีดพ่น ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคภายในรถ

รวมถึง อู่จอดรถและท่าปล่อยรถโดยสาร


-พนักงานขับรถโดยสารปรับอากาศ สาย 137 

เพศชาย อายุ 59 ปี ได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ณ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก 

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 พนักงานได้เดินทางไปรับทราบผลการตรวจ ซึ่งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ได้แจ้งให้ทราบว่าพนักงานคนดังกล่าวเป็นผู้ติดเชื้อฯ 

ขณะนี้อยู่ระหว่างเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว จากผู้อำนวยการเขตการเดินรถที่ 4จึงได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ดังต่อไปนี้

1. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการแจ้งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อแจ้งรายละเอียดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) (ตามแนวทางปฏิบัติกรณีพบผู้ติดเชื้อฯ)โดยได้ประสานเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุข

2. พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อย่างเคร่งครัด โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ รวมทั้ง มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้ง ซึ่งอุณหภูมิร่างกายของพนักงาน ตั้งแต่วันที่ 16 – 23 เมษายน 2564 อยู่ที่ 36.5 องศาเซลเซียส โดยไทม์ไลน์ของพนักงานสรุปได้ ดังนี้

วันที่ 16 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 137 หมายเลข4 – 4065 ตั้งแต่เวลา 05.00 – 13.45 น. หลังเลิกงานได้เดินทางไปออกกำลังกาย ที่สนามกีฬาไทย - ญี่ปุ่นดินแดง โดยขณะวิ่งออกกำลังกายไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย และเดินทางกลับบ้าน เวลา 17.30 น.

วันที่ 17 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 137 หมายเลข4 – 4065 ตั้งแต่เวลา 04.30 – 13.05 น. หลังเลิกงานได้เดินทางไปออกกำลังกาย ที่สนามกีฬาไทย - ญี่ปุ่นดินแดง โดยขณะวิ่งออกกำลังกายไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย และเดินทางกลับบ้าน เวลา 17.30 น.

วันที่ 18 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 137 หมายเลข4 – 4065 ตั้งแต่เวลา 04.30 – 12.55 น. หลังเลิกงานได้เดินทางไปออกกำลังกาย ที่สนามกีฬาไทย - ญี่ปุ่นดินแดง โดยขณะวิ่งออกกำลังกายไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย และเดินทางกลับบ้าน เวลา 17.30 น.

วันที่ 19 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 137 หมายเลข4 – 4065 ตั้งแต่เวลา 04.50 – 13.15 น. หลังเลิกงานได้เดินทางไปออกกำลังกาย ที่สนามกีฬาไทย - ญี่ปุ่นดินแดง โดยขณะวิ่งออกกำลังกายไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย และเดินทางกลับบ้าน เวลา 17.30 น.

วันที่ 20 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 137 หมายเลข4 – 4065 ตั้งแต่เวลา 04.30 – 12.20 น. หลังเลิกงานได้เดินทางไปออกกำลังกาย ที่สนามกีฬาไทย - ญี่ปุ่นดินแดง โดยขณะวิ่งออกกำลังกายไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย และเดินทางกลับบ้าน เวลา 17.30 น.

วันที่ 21 เมษายน 2564 วันหยุดประจำสัปดาห์ พนักงานพักอาศัยอยู่ที่บ้าน

วันที่ 22 เมษายน 2564 พนักงานหยุดชดเชย จากการทำงานในวันหยุดนักขัตฤกษ์เวลา 09.30 น. เดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก เนื่องจากมีอาการปวดเบ้าตา และมีอาการไข้เล็กน้อย และเดินทางกลับบ้าน ในเวลา 11.30 น. โดยแพทย์ให้พนักงานมาตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ในวันที่ 27 เมษายน 2564

วันที่ 23 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 137 หมายเลข4 – 4065 ตั้งแต่เวลา 05.00 – 09.20 น. เวลา 09.30 น. พนักงานได้ขออนุญาตหัวหน้างานไปพบแพทย์ที่สำนักงานใหญ่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เนื่องจากมีอาการไข้ และเดินทางกลับบ้าน ในเวลา 11.30 น. 

วันที่ 24 - 26 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน

วันที่ 27 เมษายน 2564 เวลา 09.00 น. พนักงานเดินทางไปรับทราบผลการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ซึ่งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ได้แจ้งให้ทราบว่าพนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ จึงให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล    

3. เมื่อพนักงานขับรถโดยสารนำรถกลับเข้าอู่ในแต่ละรอบ จะมีการฉีดพ่นทำความสะอาดภายในรถโดยสารทันทีด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70 % จึงมั่นใจได้ว่ารถโดยสารขององค์การมีความสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) นอกจากนี้ องค์การได้พักการใช้งานรถโดยสารปรับอากาศ สาย 137 จำนวน 1 คัน ที่พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่รถโดยสาร หมายเลข 4 – 4065 เป็นระยะเวลา 3 วัน เพื่อทำการฉีดพ่น ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคภายในรถ รวมถึง อู่จอดรถและท่าปล่อยรถโดยสาร

4. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการตรวจสอบ พบว่าพนักงานเก็บค่าโดยสาร จำนวน 3 คน ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารคันเดียวกับพนักงานผู้ติดเชื้อ จึงให้พนักงานเก็บค่าโดยสารดังกล่าวหยุดงานไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) หากได้ผลเป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป


ทั้งนี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อย่างเคร่งครัด ได้แก่ การสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสาร การล้างทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์  การฉีดพ่นทำความสะอาดภายในรถโดยสารด้วยแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนและหลังนำรถออกวิ่งให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการเดินทาง

      

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง