TNN online ‘ไฟเซอร์’ เริ่มศึกษายาต้านโควิด-19 แบบกิน รักษาผู้ป่วยระยะแรก

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

‘ไฟเซอร์’ เริ่มศึกษายาต้านโควิด-19 แบบกิน รักษาผู้ป่วยระยะแรก

‘ไฟเซอร์’ เริ่มศึกษายาต้านโควิด-19 แบบกิน รักษาผู้ป่วยระยะแรก

‘ไฟเซอร์’ เดินหน้าศึกษาการพัฒนายาต้านไวรัสโควิด-19 ชนิดรับประทาน ที่สามารถจ่ายให้กับผู้ป่วยที่มีอาการในระยะแรกได้

วันนี้ ( 24 มี.ค. 64 )สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า บริษัทผู้ผลิตยาไฟเซอร์ ที่พัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 ที่คิดค้นร่วมกับบริษัทยาเยอรมนี ไบโอเอ็นเทค ระบุในวันอังคารว่า ทางบริษัทกำลังศึกษายาต้านไวรัส SARS-CoV-2 ที่ทำให้เกิดโรคโควิด ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาเบื้องต้นในห้องทดลองเท่านั้น

 

ยาต้านไวรัสโควิด-19 ของไฟเซอร์ ภายใต้ชื่อ PF-07321332 เป็นยาต้านไวรัสในรูปแบบ “ตัวยับยั้งเอ็นไซม์โพรทีส” (protease inhibitor) ที่ป้องกันไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวนขึ้นภายในเซลล์ ซึ่งเป็นรูปแบบยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยเอชไอวีและโรคตับอักเสบซี โดยสามารถใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสตัวอื่นได้

 

นอกจากนี้ทางไฟเซอร์ ยังศึกษายาต้านไวรัสตัวอื่นๆ กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มเติมด้วย จากที่ตอนนี้ไฟเซอร์ ยังตามหลังคู่แข่งในอุตสาหกรรม อย่างบริษัทเมอร์ค (Merck) ที่ผลิตยาต้านไวรัสชนิดรับประทานร่วมกับบริษัท บริดจ์แบ็ค ไบโอ (Ridgeback Bio) และอีกตัวเป็นของบริษัทโรช โฮลดิ้ง (Roche Holding) ร่วมกับบริษัทเอที ฟาร์มาซูติคอลส์ ( Atea Pharmaceuticals)

 

ปัจจุบันนี้ ยาต้านไวรัสเรมเดสซิเวียร์ ของบริษัทกิลเลียด ไซแอนเซส  (Gilead Sciences) เป็นยาชนิดเดียวที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในสหรัฐฯ ตอนนี้ แต่ได้อนุมัติการใช้ยาต้านไวรัสของบริษัทอีลี ลิลลี (Eli Lilly) และของบริษัทเรเจเนรอน (Regeneron) ในกรณีฉุกเฉิน

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง