TNN online รู้จัก ‘ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด’ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

รู้จัก ‘ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด’ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

รู้จัก ‘ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด’ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

ทำความรู้จัก ‘ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด’ มีอาการอย่างไร และ มีความเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 หรือไม่

 

วันนี้ ( 12 มี.ค. 64 )หลังจากประเทศไทยได้เลื่อนกำหนดการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัทแอสตราเซเนกา ให้กับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว เนื่องจากพบรายงานผลข้างเคียงเลือดแข็งตัวในประชาชนประเทศฝั่งยุโรป  โดยขณะนี้จะรอติดตามสถานการณ์และผลการตรวจสอบเพื่อความชัดเจนอีกประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อ ความปลอดภัยสูงสุดของประชาชน

 

ทั้งนี้การพบภาวะลิ่มเลือดอุดตันในประชาชนที่เข้ารับการฉีดวัคซีน โควิด-19 จากบริษัท แอสตราเซเนก้า เกิดขึ้นในประเทศเดนมาร์กและหลายประเทศในยุโรป จนทำให้มีการระงับการฉีดวัคซีนดังกล่าวชั่วคราว เพื่อตรวจสอบว่าภาวะลิ่มเลือดอุดตัน มีความเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนดังกล่าวหรือไม่ คือเหตุผลเดียวกับที่ประเทศไทย เลื่อนการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา ให้กับนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นการชั่วคราว 

รู้จัก ‘ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด’ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จะพบในประชากรฝั่งยุโรป มากกว่าเอเชีย ถึง 3 เท่า โดยเชื่อว่าเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ยังไม่มีผลยืนยันว่าเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน 

 

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดมักเกิดจากลิ่มเลือดที่อุดตันบริเวณหลอดเลือดขา ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับหัวใจข้างขวาและปอด จากนั้นลิ่มเลือดได้หลุดไปอุดตันที่ปอดตามลำดับ และโดยส่วนมากลิ่มเลือดอุดตันมักเกิดที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งก่อนเข้าสู่ปอด โดยจะเจ็บบริเวณที่ลิ่มเลือดอุดตัน 

  รู้จัก ‘ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด’ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

เนื่องจากลิ่มเลือดไปยังเยื่อหุ้มปอดมีตัวรับความรู้สึก ทำให้ขณะหายใจรู้สึกเจ็บ และถ้าหากลิ่มเลือดอุดตันในปอดเกิดขึ้นฉับพลัน อาจมีอาการเหนื่อยและเจ็บหน้าอกร่วมด้วย แต่เป็นอาการไม่จำเพาะเจาะจง อาจทำให้การวินิจฉัยโรคผิดพลาดได้ เนื่องจากมีอาการคล้ายโรคหัวใจ โรคหอบหืด

 

ขณะที่ สาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ มีปัจจัยนำมาก่อน เช่น ได้รับการผ่าตัดทำให้ต้องนอนหรืออยู่นิ่งเป็นเวลานาน การป่วยเป็นมะเร็งบางชนิด การใช้ยาบางประเภท โรคทางพันธุกรรม เป็นต้น และการไม่มีปัจจัย ซึ่งหากรับการรักษาล่าช้า อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

 

ทั้งนี้ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด ยังไม่มีผลยืนยันว่า เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 จากบริษัทแอสตราเซเนก้าหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยได้ประกาศชะลอการฉีดวัคโควิด-19 จากบริษัทดังกล่าวเป็นการชั่วคราว เพื่อติดตามสถานการณ์และผลการตรวจสอบจากต่างประเทศ คาดว่า ภายใน 2 สัปดาห์ จะมีความชัดเจนมากขึ้น พร้อมมองว่าการเลื่อนฉีดวัคซีนดังกล่าวไม่กระทบกับประเทศไทย 

 

เนื่องจากไม่ใช่ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงและยังสามารถฉีดวัคซีนจากบริษัทซิโนแวค ให้กับผู้ที่มีความจำเป็นก่อนได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของประชาชน

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง